‘หุ้นกู้’ คึกเอกชนแห่ระดมทุน หวังตุนสภาพคล่อง

“เอกชน” หันระดมทุนผ่านหุ้นกู้ หลังดีมานด์เริ่มสูงขึ้น จากดอกเบี้ยเงินฝากที่ต่ำ ทั้งสถานการณ์โควิดในประเทศเริ่มคลี่คลาย “ไทยบีเอ็มเอ” มั่นใจยอดระดมทุนปีนี้ไม่ต่ำกว่า 8 แสนล้าน หลังภาคเอกชนเริ่มหันมาระดมทุนในตลาดนี้มากขึ้น

การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการลงทุนทั้งตลาดทุน ไม่เว้นแม้ตลาดตราสารหนี้ ที่นักลงทุนแห่ไถ่ถอนหน่วยลงทุนกองทุนตราสารหนี้ จนบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.)ต้องประกาศปิดกองทุน ยิ่งสร้างความกังวลเรื่องสภาพคล่องในตลาดตราสารหนี้มากขึ้น ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต้องออกมาตรการดูแลผ่านการจัดตั้งกองทุนเพื่อรักษาสภาพคล่องของการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ (BSF)ขึ้นมา 

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ถือว่าคลี่คลายลงมาก โดยตลาดตราสารหนี้เริ่มกลับมาคึกคักมากขึ้น สะท้อนจากหุ้นกู้ที่ออกเสนอขายได้รับการตอบรับที่ดีมาก ซึ่งเสนอขายได้เต็มจำนวนและจองซื้อหมดภายในไม่กี่วันที่เปิดเสนอขาย หลังนักลงทุนคลายความกังวลเรื่องการแพร่ระบาดโควิด-19 ในประเทศเริ่มคลี่คลายลง ประกอบกับ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่อยู่ในระดับต่ำ จึงทำให้นักลงทุนกลับมาสนใจลงทุนในหุ้นกู้มากขึ้น ซึ่งต่างจากเดือนเม.ย. และเดือนพ.ค.ที่ส่วนใหญ่บริษัทเสนอขายหุ้นกู้แล้วขายไม่หมด
นางสาวอริยา ติรณะประกิจ รองกรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) กล่าวว่า สถานการณ์การลงทุนในตราสารหนี้(หุ้นกู้)กลับมาดีขึ้นเรื่อยๆ สะท้อนผ่านหุ้นกู้ของบริษัทขนาดใหญ่ ที่มีเรทติ้่งสูง ได้รับการตอบรับที่ดีมากขายหมดเร็ว แม้แต่หุ้นกู้ที่มีเรทติ้งต่ำกว่าระดับอินเวสต์เมนท์เกรด หรือไม่มีเรทติ้ง ก็ได้รับการตอบรับที่ดีขายได้ตามเป้าเช่นกัน เนื่องจาก นักลงทุนคลายกังวลเรื่องการแพร่ระบาดของโควิด-19
ประกอบกับดอกเบี้ยเงินฝากที่อยู่ระดับต่ำ ทำให้นักลงทุนหันหาแหล่งลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าเงินฝาก ทำให้บริษัทที่เคยเลื่อนการออกหุ้นกู้ไปช่วงที่โควิด-19 ระบาดหนัก กลับมาระดมทุนด้วยการออกหุ้นกู้ ทั้งเพื่อทดแทนหุ้นกู้เดิมที่จะครบกำหนด และเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน เพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนและขยายธุรกิจ
“ในส่วนของหุ้นกู้เรทติ้งที่ต่ำกว่าอินเวสต์เมนท์เกรดหรือหุ้นกู้ที่ไม่มีเรทติ้งนั้น นักลงทุนก็จะมีความระมัดระวังการลงทุนมากขึ้น โดยมีการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล และเลือกลงทุนในหุ้นกู้ของบริษัทที่นักลงทุนมั่นใจในตัวบริษัทและธุรกิจของผู้ออก ซึ่งหุ้นกู้ต่ำกว่าอินเวสต์เมนท์เกรด หรือไม่มีเรทติ้งที่เสนอขายในช่วงเดือนที่ผ่านมานั้นส่วนใหญ่เป็นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ก็สามารถขายได้หมดแม้ภาพรวมอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ไม่ค่อยดี
ส่วนตัวคาดเกิดจากนักลงทุนประเมินแล้วว่าบริษัทนั้นมีโครงการที่ดี มีการจัดแคมเปญกระตุ้นการขาย ทำให้สามารถขายโครงการได้ ส่งผลบริษัทมีกระแสเงินสดเข้ามาต่อเนื่อง จึงมองว่าโอกาสในการผิดนัดชำระหนี้น้อย จึงมั่นใจเข้ามาซื้อหุ้นกู้”
ทั้งนี้หากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทิศทางที่ดีขึ้นต่อเนื่อง คาดว่าปีนี้จะมีบริษัทระดมทุนโดยการออกหุ้นกู้ไม่ต่ำกว่า 800,000 ล้านบาท หลังจาก 7 เดือนแรกปี 2563 เสนอขายไปแล้วรวม 397,218 ล้านบาท เฉพาะเดือน ก.ค. ยอดระดมทุนกว่า 76,667 ล้านบาท ซึ่งในช่วงที่เหลือของปีนี้คาดว่าจะมีบริษัทต่างๆเสนอขายหุ้นกู้เดือนละประมาณ 80,000-90,000 ล้านบาท
โดยเพียงสัปดาห์แรกของเดือน ส.ค. มีบริษัทเสนอขายหุ้นกู้แล้วจำนวน 9,850 ล้านบาท แบ่งเป็น การเสนอของ บมจ. โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ (GPSC) มูลค่ารวม 5,000 ล้านบาท และ บริษัทลีสซิ่ง ไอซีบีซี(ไทย) มูลค่า 4,850 ล้านบาท และ บริษัท เนชั่นแนล เพาเวอร์ซัพพลาย เสนอขาย 5,000 ล้านบาท ซึ่งขาย 4-6 ส.ค.
ส่วนบริษัทที่เตรียมเสนอขายเดือนนี้ ประกอบด้วย บริษัท เบทาโกร เสนอขาย 6-10 ส.ค. มูลค่าเสนอขายรวมไม่เกิน 4,000 ล้านบาท,บมจ.ช. การช่าง (CK) 10-13 ส.ค. มูลค่าไม่เกิน 5,000 ล้านบาท
บริษัท ซีพีเอฟ(ประเทศไทย) 17 -19 ส.ค. มูลค่า 20,000 ล้านบาท ,บมจ. อนันดาดีเวลลอปเม้นท์ (ANAN)14 -18 ส.ค. มูลค่า 1,000 ล้านบาท , บมจ. ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ (TPIPP) เสนอขาย 14-18 ส.ค.มูลค่าไม่เกิน 4,000 ล้านบาท , บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ (GULF)ไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาท ฯลฯ ส่วนในเดือนก.ย. บมจ.ไออาร์พีซี (IRPC)จะเสนอขาย 5,000 ล้านบาท
อย่างไรก็ตามแม้ต้นทุนการออกเสนอขายหุ้นกู้จะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ก็ไม่มาก เพราะถูกชดเชยจากอัตราดอกเบี้ยพื้นฐานที่ปรับตัวลดลง ดังนั้น ยังทำให้บริษัทต่างๆยังให้ความสนใจมาระดมทุนในการออกเสนอขายหุ้นกู้ เพราะ สามารถฟิกดอกเบี้ยจ่ายได้ในระยะยาว และสามารถที่จะระดมทุนได้มูลค่าที่สูง
นายธนพิศาล คูหาเปรมกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บล.โกลเบล็ก กล่าวว่า นักลงทุนเริ่มมีความมั่นใจลงทุนหุ้นกู้ดีขึ้น กว่าในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ที่กังวลเรื่องของสภาพคล่องในตลาดตราสารหนี้ และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่อยู่ระดับต่ำนั้น ทำให้นักลงทุนสนใจลงทุนในหุ้นกู้มากขึ้น รวมถึงหุ้นกู้ Non-Investment Grade และหุ้นกู้ที่ไม่มีเรทติ้ง แต่ก็จะเลือกลงทุนหุ้นกู้ของบริษัทที่นักลงทุนมีความมั่นใจ โดยพิจารณาจากมีผู้ถือหุ้น ธุรกิจมีกระแสเงินสดที่ดีสามารถจ่ายดอกเบี้ยและเงินต้นได้ จึงกล้าที่จะเข้ามาซื้อลงทุน
“บล.โกลเบล็ก มีลูกค้าพอควรที่จะให้เราเป็นผู้เสนอขายหุ้นกู้ให้ แต่ก็จะคัดเลือกบริษัทที่เราประเมินแล้วว่าธุรกิจที่มีแนวโน้มไปต่อได้ ยอดขายที่ดี ยังมีกำไรและกระแสเงินสดที่ดี ที่เสนอขายแล้วนักลงทุนสนใจเข้ามาจองซื้อ”
Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

คลิก

------------------------------------------------------------------------------
Cr.Bank of Thailand Scholarship Students

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 

Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"