“9 แบงก์พาณิชย์” เผยกำไรไตรมาส 2 ดิ่งหนัก 35% ผลจากการตั้งสำรองที่เพิ่มกว่า 101% หวังรองรับแนวโน้มหนี้เสียที่ส่อพุ่งแรง โดย “เคแบงก์” ตั้งสำรองมากสุดกว่า 2 หมื่นล้าน ขณะ “กรุงไทย” กันสำรอง 1.47 หมื่นล้าน ด้าน “เอสซีบี” ตั้งเพิ่มเกือบ 80%
ธนาคารพาณิชย์ 9 แห่ง รายงานกำไรสุทธิลดลงค่อนข้างมาก โดยมีกำไรสุทธิรวมอยู่ที่ 27,142 หมื่นล้านบาท ลดลง 30.78 % เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ที่มีกำไรสุทธิ 39,214 ล้านบาท และลดลง 34.77% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สาเหตุเพราะได้ตั้งสำรองเผื่อหนี้สูญไว้ค่อนข้างมาก
สำหรับทั้ง 9 แห่ง ประกอบด้วย ธนาคารกสิกรไทย(KBANK),ธนาคารไทยพาณิชย์(SCB) ธนาคารกรุงไทย(KTB) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา(BAY) ธนาคารทหารไทย(TMB) บมจ.ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป(TISCO) ธนาคารเกียรตินาคิน(KKP) ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย(CIMBT) และบมจ. แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป (LHFG)
โดย KBANK เป็นธนาคารที่มีกำไรสุทธิลดลงมากสุด โดยลดลง 70% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าและลดลง 78% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ถัดมาคือ CIMBT ที่กำไรลดลงมาอยู่ที่ 306 ล้านบาท ลดลง 71% จากไตรมาสก่อนหน้า แต่เพิ่มขึ้น 52% หากเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
สาเหตุหลักที่กำไรของธนาคารพาณิชย์ลดลงค่อนข้างมาก หลักๆ มาจาก การตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ตามมาตรฐานบัญชีใหม่(IFRS9) ที่ฉุดทุกธนาคารให้มีกำไรลดลง โดยหากดูการตั้งสำรองของทั้ง 9 ธนาคารในไตรมาสนี้ พบว่า โดยรวมอยู่ที่ 60,726 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 43.5 % จาก 42,315 หมื่นล้านบาทในไตรมาสก่อนหน้า และเพิ่มขึ้น 101% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีสำรองอยู่ที่ 30,201 ล้านบาท
โดยแบงก์ที่ตั้งสำรองมากที่สุดในไตรมาสนี้ส่วนใหญ่เป็นแบงก์ใหญ่ อันดับแรกคือ KBANK สำรองถึง 2 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 70% หากเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน และเพิ่มขึ้นถึง 167% หากเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
ถัดมาคือ KTB ที่มีการตั้งสำรองถึง 1.47 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 72% จากไตรมาสก่อนหน้า และเพิ่มขึ้น 164% จากไตรมาสเดียวกันปีก่อน และ SCB ที่มีการตั้งสำรองสูงถึง 9.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นเกือบ 80% จากไตรมาสก่อนหน้า และ เพิ่มขึ้น 64% จากไตรมาสเดียวกันปีก่อน และBAYมีการสำรองอยู่ที่ 7,845ล้านบาท เพิ่ม17% หากเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า
ส่วนภาพรวมหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ เอ็นพีแอล โดยรวมอยู่ที่ 3.6 แสนล้านบาท ลดลง 0.07% จากไตรมาสก่อนหน้า แต่เพิ่มขึ้น 18.79% หากเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยแบงก์ที่มีหนี้ด้อยคุณภาพมากที่สุด คือ KTB 115,037ล้านบาท รองลงมาคือ KBANKที่ 94,441ล้านบาท และ SCB 79,596 ล้านบาท
นายอาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้เริ่มส่งผลกระทบต่อรายได้และแนวโน้มกำไรของธนาคารในไตรมาสนี้ ส่งผลให้กำไรสุทธิไตรมาสนี้ ลดลงมาอยู่ที่ 8,360 ล้านบาท ลดลง ลดลง 24% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นผลจากการตั้งเงินสำรองที่เพิ่มขึ้น 79% ทั้งนี้คาดว่าผลกระทบจากโควิด-19 จะเริ่มส่งผลกระทบชัดเจน ต่อธนาคารในช่วงครึ่งปีหลังนี้ แต่จากการมีเงินกองทุนที่สูง สำรองหนี้สูง จะช่วยให้ธนาคารรับมือกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้
ด้าน นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า กำไรสุทธิไตรมาส 2 ของธนาคารอยู่ที่ 3,829 ล้านบาท ลดลง 53% หากเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หลังธนาคารมีการตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตอยู่ที่ 14,710 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 72% หากเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนผลการดำเนินงานครึ่งปีแรก ส่งผลให้ครึ่งปีแรก การตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตมาอยู่ที่ 23,235 ล้านบาท
Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
-----------------------------------------------
Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011bื
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you