แบงก์ชาติชี้ 3 ข้อแตกต่างวิกฤตโควิด-19 กับวิกฤตต้มยำกุ้ง

นันทวัลลิ์ ถิรธนาพงศ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ฝ่ายตรวจสอบและวิเคราะห์ความเสี่ยง สถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เมื่อเศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ฟากสถาบันการเงิน ซึ่งเป็นกลไกสนับสนุนระบบเศรษฐกิจการเงินให้มีเสถียรภาพ

ยิ่งต้องเพิ่มบทบาทให้มากขึ้น เพื่อรองรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจากวิกฤตโควิด-19 ได้ โดยครั้งนี้ผลกระทบทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับที่สถาบันการเงินสามารถบริหารจัดการได้

แต่สถาบันการเงินยังต้องสร้างระดับเงินกองทุนและเงินสำรองเพิ่มเติม เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับผลกระทบที่อาจมีความรุนแรงและยาวนานกว่าที่คาดไว้ โดยเฉพาะเมื่อมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้สิ้นสุดลง อัตราการผิดนัดชำระหนี้ของภาคธุรกิจและครัวเรือนอาจเพิ่มสูงขึ้น

“สถาบันการเงินสามารถกันสำรองเพิ่มเติมเพื่อรองรับการด้อยลงของคุณภาพสินเชื่อ หลังมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ทยอยหมดลง และรักษาระดับเงินกองทุนให้อยู่ในระดับสูง ด้วยการชะลอการจ่ายเงินปันผลและการซื้อหุ้นคืนของสถาบันการเงิน เช่นเดียวกับการดำเนินการของสถาบันการเงินในหลายๆ ประเทศ ทั้งยุโรป อังกฤษ ออสเตรเลีย แคนาดา รัสเซีย เม็กซิโก สเปน แอฟริกาใต้ และอินเดีย เพื่อเตรียมรับมือกับแนวโน้มความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น โดยหลังจากสถานการณ์กลับสู่ภาวะปกติ สถาบันการเงินสามารถกลับมาให้ผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้นได้เช่นเดิม”

ทั้งนี้ วิกฤตโควิด-19 สถาบันการเงินมีสถานะใน 3 ข้อที่แตกต่างจากวิกฤตต้มยำกุ้งเมื่อปี 2540 ได้แก่

1.ระบบสถาบันการเงินของไทยมีความมั่นคง จากเงินกองทุน เงินสำรอง และสภาพคล่องที่อยู่ในระดับสูง โดยบทเรียนจากวิกฤตครั้งก่อน ทำให้สถาบันการเงินมีการปรับโครงสร้างและเกณฑ์ต่างๆ ไว้แล้ว ซึ่งสามารถรองรับการช่วยเหลือประชาชนและธุรกิจได้ เช่น การเลื่อนกำหนดชำระหนี้ การให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) ฯลฯ

2.ระดับหนี้ของภาคธุรกิจและสถาบันการเงินไม่สูงเหมือนในอดีต จากวิกฤตครั้งที่แล้ว ทำให้ผู้ประกอบการระมัดระวังการก่อหนี้ แต่มีส่วนหนี้ของภาคครัวเรือนในปัจจุบันที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งมาจากการเข้าถึงบริการทางการเงินที่สะดวกขึ้น อีกทั้งพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป

3.การออกมาตรการเชิงรุกเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากวิกฤตโควิด-19 เช่น ทั้งการเร่งอัดฉีดสภาพคล่อง เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน และการเร่งปรับโครงสร้างหนี้เชิงป้องกันก่อนที่ลูกหนี้จะกลายเป็นหนี้เสีย

ในทางปฏิบัติตามสถาบันการเงินมีความพร้อมที่จะปล่อยสินเชื่อให้ลูกหนี้ แต่ต้องอยู่ภายใต้แนวทางการบริหารความเสี่ยง ดังนั้น เมื่อเห็นผู้ประกอบการ SMEs พร้อมในการลงทุนในกิจการของตัวเองเพิ่ม ทางสถาบันการเงินบางแห่งอาจเรียกหลักประกันเพิ่ม หรือต้องการให้ลูกหนี้ลงเงินบางส่วนเพิ่ม เพื่อลดความเสี่ยงต่อสถาบันการเงินในการปล่อยสินเชื่อใหม่เพิ่มเติม

อย่างไรก็ตาม ในสภาวะที่ธุรกิจเผชิญผลกระทบอย่างรุนแรงต่อรายได้ (Income Shock) และมีความไม่แน่นอนสูงว่าสถานการณ์จะกลับสู่สภาวะปกติเมื่อใด ทางรัฐบาลโดยกระทรวงการคลัง จะชดเชยความเสียหายบางส่วนให้แก่สถาบันการเงินที่ปล่อยกู้ เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อฐานะทางการเงิน และการทำหน้าที่ในการสนับสนุนสินเชื่อของสถาบันการเงิน เพื่อช่วยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย เพื่อสนับสนุนให้สถาบันการเงินเร่งปล่อยสินเชื่อใหม่อัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนพิเศษ 2% ต่อปี ให้กับผู้ประกอบการ SMEs เพื่อเพิ่มกระแสเงินสดให้ธุรกิจ

Source: The Standard

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 

Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"