สิ่งหนึ่งที่วิกฤติโควิดต่างไปจากวิกฤติครั้งก่อนๆ คือต้นเหตุไม่ได้มาจากปัญหาในภาคการเงินแต่เพราะภาคเศรษฐกิจได้รับผลกระทบโดยตรงจากมาตรการควบคุมโรคระบาดและมาตรการปิดเมือง แต่ถึงครั้งนี้ภาคการเงินจะไม่ใช่ต้นเหตุ
แต่สุดท้ายก็อาจโดนหางเลขถ้าลูกหนี้ไม่มีรายได้มาจ่ายคืนหนี้จนกลายเป็นหนี้เสียจำนวนมาก และอาจกระทบความมั่นคงของระบบสถาบันการเงิน ซ้ำเติมภาคเศรษฐกิจที่แย่อยู่แล้ว ทำให้วิกฤติลากยาวขึ้นอีก สุดท้ายก็หนีไม่พ้นภาครัฐที่ต้องรับมือกับศึกสองด้าน วันนี้จึงอยากชวนทุกท่านคิดว่ากลไกระบบสถาบันการเงินจะช่วยไม่ให้ประเทศต้องรับศึกสองด้านนี้ได้อย่างไร?
สังเกตว่ามาตรการต่างๆของภาครัฐทำผ่านสถาบันการเงิน (สง.) เป็นหลักส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะโครงสร้างของประเทศไทยพึ่งพาการระดมทุนผ่านระบบ สง. ในสัดส่วนสูง (bankbased economy) เกินกว่าร้อยละ 120 ของ GDP เทียบกับการระดมทุนผ่านตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตรที่มีสัดส่วนต่อ GDP น้อยกว่าอยู่ที่ประมาณ 100% และ 80% ตามลำดับการปล่อยกู้ผ่านสง.จึงเสมือนเป็นเส้นเลือดแดงใหญ่ที่รวบรวมเงินออมจากประชาชนภาคธุรกิจและภาครัฐไปจัดสรรให้ผู้กู้ที่ต้องการในภาคส่วนต่างๆของระบบเศรษฐกิจไทยในยามวิกฤติเช่นนี้ สง. ยังมีบทบาทเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยเหลือประชาชนและธุรกิจให้มีสภาพคล่องจากภาครัฐไปหล่อเลี้ยง
ในช่วงไม่กี่เดือนนี้ภาครัฐออกมาตรการด้านการเงินและสินเชื่อมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อบรรเทาภาระหนี้และเพิ่มสภาพคล่องให้ลูกหนี้ที่เดือดร้อน เช่น การเร่งปรับโครงสร้างหนี้ให้ลูกหนี้การเลื่อนชำระหนี้ชั่วคราวให้ลูกหนี้รายย่อยและ SMEs โครงการสินเชื่อใหม่ดอกเบี้ยต่ำ (soft loan) ของ ธปท. และ ธ.ออมสิน รวมถึงการค้ำประกันสินเชื่อให้ SMEs โครงการสินเชื่อฉุกเฉินให้ลูกหนี้รายย่อยของธ.ออมสินและ ธ.ก.ส. รวมถึงการผ่อนคลายดอกเบี้ยเงินกู้ถูกลง โดย ธปท.ทยอยลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงมาจนตอนนี้อยู่ที่ระดับต่ำสุด 0.50% และปรับลดอัตราเงินนำส่งที่เรียกเก็บจาก สง. เพื่อมาชำระคืนหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ (FIDFfee)เหลือ 0.23% ของฐานเงินฝากทำให้ สง.สามารถปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้อ้างอิงทุกประเภท (MLRMOR และ MRR) เพิ่มเติมได้ทันทีอีก 0.40%
โจทย์สำคัญคือ สง.จะตัดสินใจปล่อยกู้สภาพคล่องต้นทุนต่ำนี้เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ได้มากแค่ไหนในภาวะที่ความเสี่ยงหนี้เสียก็เพิ่มขึ้นมาก หาก สง.ต่อลมหายใจให้ลูกหนี้ไม่ทันเวลาที่ต้องการเงินก็อาจกลายเป็นหนี้เสียเกินเยียวยาจนปัญหาย้อนกลับมาที่ สง.ได้ในที่สุดถ้ามีเงินกองทุนไม่เพียงพอรองรับหนี้เสียก้อนใหญ่จนกระทบต่อฐานะความมั่นคงของตนเอง
บทบาทของ สง.ในช่วงเวลานี้จึงสำคัญอย่างยิ่งในฐานะเจ้าหนี้ที่เลือกได้ว่าจะช่วยลูกหนี้รายใดช่วยได้เท่าไรช่วยในรูปแบบไหนของมาตรการภาครัฐที่ส่งต่อมาให้รับลูกยอมสละผลประโยชน์ระยะสั้น เพื่อรับผลประโยชน์ระยะยาวเมื่อลูกหนี้กลับมาแข็งแรงและเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวได้ในภารกิจครั้งนี้ โดยการหยิบยื่นโอกาสรอดจากวิกฤติให้ลูกค้าและประเทศแถมยังเป็นการมอบโอกาสนี้คืนกลับให้ตัวเองอีกด้วยค่ะ
โดย ดร.ฐิติมา ชูเชิด
ฝ่ายนโยบายการเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทย
**บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคล จึงไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของหน่วยงานที่ผู้เขียนสังกัด**
Source: ไทยรัฐออนไลน์
-------------------------------------------------
Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxo