เงินสกุลยูเอสดอลลาร์เป็นเส้นเลือดใหญ่ของการค้าระหว่างประเทศมานานหลายทศวรรษ ..มาถึงตอนนี้กำลังมีความกังวลกันว่า Covid-19 จะมาสร้างความตึงเครียดให้กับสภาพคล่องของเงินดอลลาร์ ที่จะกระทบกับธุรกิจทั่วโลก ..และอาจจะหนักโดยเฉพาะกับกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่
แหล่งข่าวจากธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (BIS) ..เกือบ 90% ของธุรกรรมนานาชาติ ในปี 2019 ล้วนเกี่ยวข้องอยู่กับสกุลเงินดอลลาร์ ....ที่จริงแม้จะก่อนการระบาดของ Covid-19 แล้ว ...ธนาคารต่าง ๆ ที่จัดการกับการเงินของกลุ่มตลาดเกิดใหม่ก็พบกับปัญหาการเข้าถึงเงินดอลลาร์อยู่แล้ว
ในการสำรวจของ Asian Development Bank (ADB) เมื่อปี 2019 ..มีการสอบถามธนาคารต่าง ๆ จาก 50 ประเทศถึงอุปสรรคอันดับต้น ๆ ของการขยายตัวทางการค้า ...เกือบ 30% ยืนยันว่าอุปสรรคอยู่ที่สภาพคล่องของสกุลเงินยูเอสดอลลาร์
แล้วพอเป็นอย่างนั้น จึงเกิดความกลัวกันว่า โคโรน่าไวรัสนี่แหละจะเป็นตัวเร่งให้เกิดเหตุการณ์ดอลลาร์ช้อร์ตมากขึ้นอีก ....การค้าสำหรับบางประเทศก็จะลำบากขึ้นไปอีก
The Business 20 (B20) ...ภาคที่เป็นเอกชนของ G20.. ได้ส่งเรื่องถึง G20 เมื่อเดือนเมษายน เรียกร้องให้จัดการประชุม international forum เพื่อเตรียมแผนการบรรเทาปัญหาจาก Covid-19
ในรายละเอียด มีการเสนอมาตรการที่รวมถึงข้อเรียกร้องให้ธนาคารกลางของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ ...IMF ..World Bank ..US Federal Reserve ร่วมหารือกัน..ในประเด็นสภาพคล่องของยูเอสดอลลาร์
เหตุผลคือ "เงินสกุลยูเอสดอลลาร์มีความสำคัญในการ finance การค้าของโลก"
Steven Beck, ผู้บริหาร ADB กล่าวว่า โคโรน่าไวรัสเป็นต้นเหตุให้เกิดความกังวลในเรื่องสภาพคล่องของดอลลาร์ เหตุผลคือธุรกิจจำนวนมากมีการเก็บสะสมเงินสดไว้มากขึ้น
“Cash is king ในสภาพการณ์แบบนี้ ...เพราะในวงรอบของเงินสด -- ระยะเวลาที่ธุรกิจจะผลิตสินค้าส่งเข้าตลาด ..ขายและรับชำระค่าสินค้า ต้องใช้เวลามากกว่าปกติ และในขณะเดียวกัน ธุรกิจก็มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นตลอดเวลา"
นี่ยังไม่ได้รวมถึงความจริงที่ว่า ธุรกิจจำนวนมากสามารถส่งออกได้น้อยลง ..รายรับเป็นยูเอสดอลลาร์ก็น้อยลง
ปัญหาการติดขัดด้าน supply chains และดีมานด์ลดลงทั่วโลก ที่มันเกิดจากมาตรการ distancing นั้น อาจจะหมายถึงว่าการค้าโดยรวมของโลกร่วงลงไปถึงหนึ่งในสามในปีนี้ ...จากแหล่งข่าว World Trade Organization (WTO) เมื่อเดือนที่ผ่านมา
หลายประเทศในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ที่มีโปรไฟล์ที่เสี่ยงมาก ก็จะมีความเปราะบางมากต่อการช้อร์ตครั้งนี้
The European Bank for Reconstruction and Development (EBRD) ที่มีส่วนในการสนับสนุน 38 ประเทศในยุโรป เอเซีย และอัฟริกา ...เป็นอีกหนึ่งธนาคารเพื่อการพัฒนาที่กำลังสอดส่องในประเด็นของสภาพคล่องดอลลาร์อยู่ด้วย
Rudolf Putz, ผู้บริหารฝ่าย Trade Facilitation Programme, ของ EBRD กล่าวว่าประเทศที่มีความเสี่ยงสูงนั่นแหละ จะเจ็บตัวมากที่สุด
"เช่นในเลบานอน ผู้นำเข้าจะไม่สามารถเข้าถึงดอลลาร์ได้เลย นั่นเพราะประเทศนี้ไม่มีการส่งออกมากเพียงพอที่จะเก็บรายรับเป็นดอลลาร์ไว้ได้ อีกทั้งยังไม่สามารถหาเงินกู้ดอลลาร์จากธนาคารต่างประเทศได้อีกด้วย ตัดโอกาสการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศไปเลย"
เลบานอนต้องทนอยู่กับการขาดแคลนเงินดอลลาร์มาหลายเดือนแล้ว จากปัญหาทางเศรษฐกิจและหนี้ที่เพิ่มใหญ่ขึ้น จนเกิดปัญหาขาดสภาพคล่องดอลลาร์มาตั้งแต่เดือนตุลาคม
โคโรน่าไวรัสมาเพิ่มแรงกดดันเรื่องสภาพคล่อง ..Reuters รายงานว่า ธนาคารหลายแห่งได้หยุดการเบิกจ่ายเงินดอลลาร์ให้แก่บรรดาผู้ฝากมาตั้งแต่เดือนมีนาคมแล้ว
จากแหล่งข่าวของ Putz, แห่ง EBRD ....ทุกประเทศ ดูเหมือนจะต้องการการสนับสนุนทางการเงินจากเงินตราต่างประเทศกันทั้งนั้น ..ไม่เฉพาะเงินดอลลาร์
เขากล่าวเสริมว่า "เงินยูเอสดอลลาร์เป็นสกุลที่สำคัญที่สุด เพราะการค้าระหว่างประเทศของประเทศในกลุ่มนี้ต้องใช้ดอลลาร์ ....และเงินดอลลาร์ก็สามารถจัดหาให้ได้จากกลุ่มธนาคารขนาดยักษ์ไม่กี่แห่งเท่านั้น"
Putz กล่าวว่าความกังวลเรื่องการเงินนี้เป็นเพียงอาการหนึ่งของประเด็นที่อยู่ลึกกว่านั้น นั่นคือ ธนาคารผู้ให้กู้ไม่เต็มใจที่จะ finance ประเทศเหล่านั้นเลย
IMF action
ไม่นานหลังจากที่ B20 ส่งเรื่องให้กับ G20 ...IMF ก็มีการ boost เพิ่มสภาพคล่องยูเอสดอลลาร์ในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ ..โดยการเปิด Liquidity Line ระยะสั้นเมื่อกลางเดือนเมษายน ...(SSL Short-term Liquidity Line)
Geoffrey Okamoto ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ IMF ได้เขียนในบล็อกในสัปดาห์ถัดมาว่า นี่เป็นการปิดแก้ปที่อาจเป็นอันตรายต่อระบบการเงินของโลก
เขากล่าวต่อไปอีกว่า Federal Reserve ตัดสินใจทำ swap lines เมื่อเดือนมีนาคม เพื่อเตรียมให้มีสภาพคล่องของยูเอสดอลลาร์ หลังจากที่มีแรงซื้อจำนวนมากทั่วโลกจากสถาบันการเงินต่าง ๆ ทำให้ค่าดอลลาร์สูงขึ้น
จากการที่ดอลลาร์แข็งค่าขึ้น ทำให้ Fed กำหนดค่าของดอลลาร์ liquidity swap lines ต่ำลง ให้กับธนาคารกลางหลัก ๆ เช่น Bank of England ..the European Central Bank ..และ the Bank of Japan
จากนั้นไม่นาน ก็มีการเปิด swap lines กับอีกหลายชาติ รวมถึงประเทศตลาดเกิดใหม่เช่น บราซิล เพื่อช่วยให้มีสภาพคล่องดอลลาร์เพียงพอ ...และนั่นจะทำให้ธนาคารกลางของประเทศเหล่านี้สามารถใช้สกุลเงินของตนแลกเปลี่ยนเป็นยูเอสดอลลาร์กับ Fed ..อย่างน้อยก็ช่วยสภาพคล่องได้ชั่วคราว
ขณะเดียวกัน Fed ก็ยังมีโครงการชั่วคราวการซื้อคืนพันธบัตร repurchase หรือ repo ซึ่งช่วยให้สถาบันการเงินนานาชาติที่ถือพันธบัตรสหรัฐ..มาสว้อปเป็นดอลลาร์กับ Fed ได้เลย
Okamoto ยังกล่าวอีกว่า ความเสี่ยงจากสภาพคล่องยูเอสดอลลาร์ในประเทศกำลังพัฒนาเหล่านี้ก็คือ Fed ไม่อาจทำสว้อปกับทกประเทศได้
เขากล่าวเสริมอีกว่า "หลายชาติในตลาดเกิดใหม่ยังคงอยู่ในความเสี่ยงที่อาจเผชิญกับการชะงักกระทันหัน หลังจากการทำ swap lines ยุติไปแล้ว"
IMF ยังบอกถึงแผน Liquidity Lines ระยะสั้น ของตนว่า มันคล้ายกับเป็นเบาะรองหลังด้านสภาพคล่อง และเข้าถึงได้ง่ายกว่าเครดิตไลน์ที่มีอยู่ (flexible credit line ..FCL)
*************
Cr.Sayan Rujiramora
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you