เราได้พูดกันมาแล้วถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการระบาดของไวรัส ว่ามันอาจจะยาวนานมากกว่าที่ใคร ๆ จะคาดกัน แต่เราก็พูดกันจากพื้นความคิดที่ว่า เราไม่รู้อะไรเลย ...ไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดต่อไป ไม่รู้ว่าจะเป็นอีกนานมั้ย
มันคงจะงี่เง่าไปหน่อยถ้าคิดว่าทุกอย่างจะเป็นปกติในไม่กี่สัปดาห์จากนี้ แถมยังละเลยในเรื่องที่อาจจะเกิดขึ้นได้ซะอีก
มีผู้เสียชีวิตจาก Covid 19 ถึงนับแสนคนแล้ว มันมากขึ้นเกินกว่าเท่าตัวภายในสิบว้นเท่านั้น ..และยังมากขึ้น
สิงคโปร์ประสบความสำเร็จในการควบคุมไวรัสในตอนแรกที่เริ่มระบาด แต่ตอนนี้กำลังเผชิญกับการระบาดรอบสอง
ในสหรัฐเอง คนมากกว่า 20 ล้านคนต้องตกงาน และเงินจำนวน $3.5 แสนล้านเพื่อการ bail-out ธุรกิจรายย่อยก็ใช้หมดไปแล้วด้วย
ก็คงต้องยอมรับความจริงกันแล้ว ....มีเหตุผลมากมายที่การระบาดครั้งนี้ี่จะมีผลกระทบทางเศรษฐกิจที่ยาวนาน
และนี่ทำให้เราต้องกลับมามอง real assets
ถ้าผลกระทบสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจมันยืดนานออกไป มันก็เป็นไปได้ที่รัฐบาลและธนาคารกลางจะอัดฉีดเงินเพิ่มเข้าในตลาดในอัตราที่เร็วมาก ๆ
ประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศก็ได้เริ่มไปแล้ว
รัฐบาลออสเตรเลียออกมาตรการกระตุ้นไปแล้ว $1.3 แสนล้าน ในประเทศที่มีประชากรแค่ 25 ล้านคน
รัฐบาลอังกฤษอนุมัติเงินหลายแสนล้าน เพื่อการกู้ยืมและการลดภาษี
รัฐบาลเยอรมันอนุมัติเงินกู้และการกระตุ้นมากกว่า €7.5 แสนล้านไปแล้ว
ธนาคารกลางแคนาดาลดดอกเบี้ยลง 0.25% และลดทุนสำรองของธนาคาร เพื่อให้มีเงินใช้ในโครงการกระตุ้นหลายพันล้านดอลล่าร์
ส่วนสหรัฐเองก็ได้มีการใช้จ่ายเงินไปแล้วหลายล้านล้านดอลล่าร์ และ Fed เองก็เพิ่มเงินกลางอากาศมาอีกนับล้านล้านดอลล่าร์เพื่อให้กู้แก่ธนาคารและธุรกิจทั่วไป
และก็ยังคงพิมพ์เงินเพิ่มได้อีก ถ้าสภาพเศรษฐกิจยังคงย่ำแย่อยู่อย่างนี้
ถ้ามีการระบาดมากกว่านี้หรือ ...ก็พิมพ์เพิ่มอีกสักล้านล้านดอลล่าร์ซี
มีการตกงานมากขึ้นอีกหรือ ...พิมพ์สัก $2 ล้านล้านมาช่วยแรงงานซี
มีการชักดาบเงินกู้หรือ ...พิมพ์ไปอีก $5 ล้านล้านช่วยเหล่าธนาคารสิ
แปลกดีที่มีการพิมพ์เงินกันในเวลาที่เศรษฐกิจกำลังหดตัวลงถึง 20% เนี่ยนา
เราจะได้เห็นกระแสคลื่นของเงินจำนวนมหาศาลไหลเข้าท่วมท้นตลาด ในขณะที่ภาคการผลิตสินค้าและบริการมีน้อยมาก ๆ
นี่คือวิธีการทำลายค่าเงินที่เห็นได้ชัดมาก ๆ ...ถ้าทรัพย์สินและสินค้าในตลาดมีจำนวนน้อยในขณะที่เงินกระดาษมีจำนวนมาก ...ก็แน่นอนที่ทรัพย์สินเหล่านั้นจะต้องมีราคาที่สูงขึ้นจากการตีค่าด้วยเงินกระดาษ
และนั่นคือเงินเฟ้อ inflation
ตลอดมาในประวัติศาสตร์ ถ้ามีสถานการณ์คล้าย ๆ กันนี้ มันก็มักจะเป็นโอกาสดีที่จะเป็นเจ้าของ real assets ..แต่ต้องเป็นเจ้าของจริง ๆ ที่ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับธนาคารไหน ๆ ทั้งนั้น
real assets ที่ว่านี้หมายรวมถึงทรัพย์สินเช่นที่ดินที่ใช้ทำประโยชน์ได้ ..หุ้นของบริษัทที่ดำเนินธุรกิจอย่างเข้มแข็ง ..ตลอดไปถึงทองคำและซิลเวอร์ physical
ทรัพย์สินทั้งหลายที่ว่านี้ต้องไม่มีภาระผูกพันธ์กับรัฐบาลหรือธนาคาร ..ไม่ใช่แค่มีเอกสารสิทธิ์ในกระดาษหรือใน balance sheet ของบริษัทไหน ๆ ทั้งนั้น
มันต้องมีอยู่จริงที่จับต้องได้ มันจะต้องยืนยงอยู่ได้แม้ในช่วงเกิดเงินเฟ้อที่การพิมพ์เงินยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
แต่คนส่วนใหญ่ไม่มีโอกาสที่จะเข้าซื้อที่ดินที่ productive หรือหุ้นของบริษัทที่มีการดำเนินงานที่แข็งแกร่งได้
แต่ทองคำและซิลเวอร์น่าจะเข้าถึงได้ง่ายกว่า ...มีเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้:
ในชาร์ตแสดงอัตราส่วนราคาทองคำ ที่สัมพันธ์กับปริมาณเงิน "M0 montary base"
เราจะเห็นได้ว่า เวลานี้อัตราส่วนอยู่ต่ำกว่าแนวเฉลี่ยระยะยาวแล้ว
(M0 เป็นปริมาณเงินที่แคบที่สุด คิดแค่ธนบัตรและเหรียญที่หมุนเวียนในท้องตลาดเท่านั้น ..สหรัฐใช้ M0 เป็น money supply ในการใช้วัด ....ถ้าใช้ปริมาณเงินตัวอื่นเช่น M2 ซึ่งรวมธนบัตร เหรียญ เงินฝากออมทรัพย์และประจำเป็นตัววัด ..อัตราราคาทองคำเฉลี่ยจะยิ่งต่ำลงไปอีก)
อัตราส่วนที่ต่ำนี้ชี้ว่าราคาทองคำถูกมากเมื่อเทียบกับปริมาณเงินในตลาด และยังมีแนวโน้มว่าปริมาณเงินจะเพิ่มไปอีก
และหมายถึงว่าราคาทองคำก็จะสูงขึ้นไปอีก
สูงขึ้นในระดับที่อาจจะเป็น 10X ของเงินทุนของคุณ
.....เราคงต้องพูดถึงเรื่องนี้กันอีก
For now, stay safe and healthy.
Cr. Sayan Rujiramora
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you