ในวันที่ 24 กันยายน ปี 1998 The Economistเขียนรายงานสนับสนุนรัฐบาลโลก และเงินสกุลโลกเดียวอีกคร้ัง ภายใต้หัวข้อOne World, One Money หลังจากที่เปิดแนวคิดเงินฟินิกซ์ที่จะเป็นเงินสกุลหลักของโลกเป็นคร้ังแรกในปี 1988
โดยทำนายว่าในปี 2018 โลกจะได้เห็นเงินฟินิกซ์บินออกมาจากรัง ดูเหมือนว่าอังกฤษมีการวางแผนระยะยาว รอบละ10ปี
เราได้เห็นเงินฟินิกซ์จริงๆผ่านบิทคอยท์ที่มีมูลค่าที่แท้จริงคือศูนย์ แต่สามารถทำให้ค่าเงินกระดาษร่วงเหมือนไร้ค่าโดยเฉพาะดอลล่าร์ที่มีค่า$20,000เมื่อเทียบกับบิทคอยน์ แต่บิทคอยน์น่าจะเป็นฟินิกซ์ตัวปลอม เพื่อบ่มเพาะระบบการเงินโลกให้คุ้นเคยกับเทคโนโลยีที่จะให้นิยามใหม่ (redefinition)ให้กับเงิน หรือล้างสมองมนุษย์โลกให้เข้าใจเงินในความหมายใหม่
มาอ่านบทความThe Economist เรื่อง One world, one money" ที่เผยแพร่ออกมา1ปีหลังจากเกิดต้มยำกุ้งบ้านเราในปี1997 โดยพยายามโน้มความคิดผู้อ่านให้เห็นคล้อยไปกับเงินสกุลหลักของโลกที่อาจจะไม่ใช่แนวคิดใหม่ แต่จะกลับมามีชีวิตใหม่ในอีกไม่นาน
"ในเวลาที่ยากลำบาก ผู้คนจะได้รับอนุญาตหรือสนับสนุนให้คิดในสิ่งที่คิดไม่ถึง นักเศรษฐศาสตร์บางคนที่เสนอการควบคุมเงินทุนเป็นวิธีการรักษาภาวะถดถอยในเอเชียอ้างว่ากำลังทำในสิ่งนี้ - แต่พวกเขากำลังยกยอปอปั้นตัวเอง มันเป็นสิ่งที่คิดไม่ถึงหรือ? มาเลเซียได้ทำแล้ว อีกหลายสิบประเทศยังคงดำเนินนโยบายจำกัดการเคลื่อนย้ายบัญชีทุน มันเป็นคำพูดที่รกหูในตำราที่ถือเป็นแบบอย่างของการจัด "ลำดับ"ความสำคัญว่า ควรต้องมีการควบคุมการไหลของเงินจนกว่าจะมีการปฏิรูปส่วนอื่นๆเสร็จสิ้น แต่เอาเข้าจริงแล้วการที่จะคิดในสิ่งที่คิดไม่ถึงต้องมีความกล้าหาญมากกว่านี้
เอาความคิดนี้ก็แล้วกัน: สหภาพสกุลเงินทั่วโลก (global currency union) อย่าให้ใครบอกว่ามันเป็นไปได้แบบน่าเบื่อ หรือเป็นหรือเป็นเรื่องที่สมควรทางการเมือง เช่นเดียวกับความคิดที่คิดไม่ถึงที่ดีที่สุด มันไปไกลกว่าที่คุณคิด อย่างน้อยในแง่ของหลักการ ความคิดนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ Richard Cooper แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเสนอสกุลเงินโลกเดี่ยวในวารสารForeign Affairsในปี 1984 และเขาไม่ใช่คนแรกที่คิดเรื่องนี้ มันดูเหมือนว่าจะเป็นความคิดที่ประเจิดประเจ้อ และยังคงเป็นอยู่ในตอนนี้ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นเร็วๆนี้ ทำให้มันควรค่าที่จะกลับมาคิดชั่วครู่
วิธีการปกติในการตั้งคำถามว่า ประเทศต่างๆจะได้ประโยชน์จากการแบ่งปันใช้เงินสกุลเงินเดียวหรือไม่นั่น คือพวกเขารวมตัวกันเป็น "เขตสกุลเงินที่ได้ประโยชน์ที่สุด" หรือไม่ โดยพิจารณาข้อดีข้อเสียดังต่อไปนี้ ในด้านหนึ่งคือความสะดวกสบายอย่างไม่ต้องสงสัยของเงินสกุลเดียวที่ช่วยหล่อลื่นการค้าและการลงทุนข้ามพรมแดน ในอีกด้านหนึ่งคือการสูญเสียอัตราแลกที่ใช้เป็นโช้คอัพสำหรับช่วงเวลาที่ประเทศหนึ่งหรือหลายประเทศเผชิญกับความกดดัน เช่นส่งออกไม่ได้ หรือมีราคาค่าแรงสูงขึ้น ในขณะที่ประเทศอื่นที่ใช้เงินสกุลร่วมไม่เป็นอะไร ทำให้เกิดภาวะช็อคที่ไม่สมดุล
ในการดูต้นทุนเมื่อเทียบกับผลประโยชน์ พูดอีกครั้งตามมุมมองมาตรฐานโดยทั่วไป ปัจจัยสำคัญคือการเปิดกว้างต่อการค้า และเสรีภาพในการเคลื่อนไหวของปัจจัยการผลิต เศรษฐกิจแบบเปิดขนาดเล็กจะได้รับประโยชน์มากกว่าจากความสะดวกสบายของการใช้สกุลเงินเดียว ในทางตรงกันข้ามหากแรงงานไม่เต็มใจที่จะเคลื่อนย้าย ความต้องการใช้โช้คอัพของอัตราแลกเปลี่ยนนั้นมีความสำคัญเหนือสิ่งใด เมื่อเอาเรื่องทั้งหมดมาชั่งน้ำหนักแล้ว นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่สรุปว่า 11 ประเทศที่กำลังจะนำเงินสกุลร่วมยูโรมาใช้นั้นไม่ได้เป็นเขตสกุลเงินที่ดีที่สุด ถ้าพูดถึงทั้งโลกแล้ว มันยังไม่ใกล้เคียงด้วยซ้ำ
ดังนั้นมีอะไรที่เปลี่ยนไป? สิ่งสำคัญคือภาวะฉุกเฉินทั่วโลกในปัจจุบัน นี่เป็นวิกฤตร้ายแรงที่มีแนวโน้มว่าจะเปลี่ยนกระบวนทัศน์ เริ่มเห็นเส้นฟางปลิวมากับสายลมแล้ว ความหายนะของตลาดเกิดใหม่ก่อให้เกิดคำถามว่าโลกจะอยู่กับการรวมตัวของระบบการเงินโลกได้อย่างไร นอกจากนี้ มันยังสร้างความสงสัยในสิ่งที่คร้ังหนึ่งดูเหมือนจะเป็นคำตอบที่ดีคือ อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการทำให้เศรษฐกิจโลกมีเสถียรภาพ
ตามโมเดลทางเศรษฐกิจที่เชื่อกันมา ประเทศที่มีค่าแรงสูงอย่างไม่สมควร และมีการขาดดุลบัญชีดุลสะพัดที่สร้างความยุ่งยาก ต้องมีการลดค่าเงิน เพื่อที่จะทำให้ค่าแรงที่แท้จริงถูกลงเมื่อหักเงินเฟ้อแล้ว และทำให้การนำเข้าแพงขึ้น และการส่งออกถูกลง เพื่อที่จะนำไปสู่ความสมดุลของเศรษฐกิจ แต่ในโลกที่การเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศมีปริมาณมากกว่าการไหลเวียนของการค้ามาก โมเดลนี้จะใช้การไม่ได้
การปล่อยให้อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวจะทำลายเสถียรภาพของการค้า และการลงทุน เพราะจะเป็นการบีบราคาจากมูลค่าที่เป็นปัจจัยพื้นฐาน หรือมูลค่าที่จะทำให้อัตราแลกเปลี่ยนสะท้อนความสเมอภาพอำนาจซื้อที่แท้จริง ในวิกฤติของตลาดเกิดใหม่ ซึ่งกำลังคุกคามเศรษฐกิจโลกในเวลานี้ การเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนไม่ได้เป็นตัวบรรเทาอาการช็อค แต่ได้เพ่ิม หรือไม่ก็เป็นตัวต้นเหตุของวิกฤติ
เราได้ทราบมานานแล้วว่า รัฐบาลของประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดเล็กจะไม่ต้องการปล่อยให้อัตราแลกเปลี่ยนเป็นเรื่องของตลาด นโยบายการเงินต้องเอาตาข้างหนึ่งเฝ้าดูค่าเงินเสมอ แต่รัฐบาลก็ได้เรียนรู้ว่า การเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่หลวงคร้ังที่สองคือ การการใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบครึ่งกลางๆไม่สามารถใช้งานได้ European Monetary Systemได้เรียนรู้บทเรียนนี้ในช่วงวิกฤติปี1992-1993 และการล่มสลายของระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ของเอเชียที่ใช้จนถึงปี1997ก็ได้รบบทเรียนเหมือนกัน ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่แบบครึ่งๆกลางๆไม่สามารถต้านทานการโจมตีของตลาดทุนที่เชื่อมโยงตัวกันของโลกได้ มันจะนำไปสู่ภาวะตื่นตระหนกที่นำไปสู่วิกฤติ หรือพูดในอีกแง่หนึ่ง ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเหล่านี้เป็นตัวสร้างความไร้เสถียรภาพ
แล้วจะเหลืออะไร? ก็ต้องคอยดูกัน ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวใช้การไม่ได้ ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ที่ก้ำกึ่งใช้การไม่ได้เหมือนกัน ดังนั้นยังมีความเป็นไปได้สองทาง ทางแรกคือการหันหลังให้กับการรวมตัวกันทางการเงิน ตอนนั้นการลอยตัวค่าเงิน หรือการใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่แบบครึ่งๆกลางๆอาจจะนำมาใช้ได้อย่างสำเร็จ แต่จะต้องจ่ายด้วยราคาแพง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประเทศที่กำลังพัฒนา และมันเป็นเรื่องยากที่จะทำ เพราะว่าการรวมตัวกันของตลาดเงินเป็นแรงผลักดันของความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะทวนกระแส อย่างไรก็ตาม หลายประเทศอาจจะเดินตามตัวอย่างของมาเลย์เซียที่ได้ใช้มาตรการควบคุมการเงิน และจะลองทำดู หรือถ้าให้พูดใหม่ หนทางที่เหลืออยู่คือการควบรวมทางการเงินที่เพิ่มขึ้น แล้วใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ ซึ่งหมายถึงการสร้างเงินสกุลร่วม (currency union).
การใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบcurrency boardsสะท้อนความคิดแนวนี้ (currency boardเป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ฮ่องกงใช้อยู่ในเวลานี้ โดยที่Monetary Authority of Hong Kongจะผูกเงินฮ่องกงดอลล่าร์กับเงินดอลล่าร์กงเต็กอย่างเหนี่ยวแน่นที่ระดับหนึ่ง และจะดำเนินนโยบายการเงิน หรือใช้ทรัพยาการทางการเงินที่มีอยู่เพื่อรักษาเป้าหมายของอัตราแลกเปลี่ยนนี้อย่างไม่ลดละ เพื่อรักษาความเชื่อมั่น) ความยืดหยุ่นทางอัตราแลกเปลี่ยนสร้างปัญหามากกว่าคุณค่าของมัน ดังนั้นให้เลิกมันไปเลย การใช้currency boardsจะก่อให้เกิดข้อสายด้วยตัวเอง แต่การใช้เงินสกุลร่วมมีธนาคารกลางให้กูเป็นด้านสุดท้าย (lender of last resort) แต่ประเทศที่ใช้currency boardไม่มีธนาคารกลาง ด้วยเหตุนี้ระบบเหล่านี้จะมีความอ่อนแอเมื่อเกิดการถอนเงินจากธนาคาร Currency boardsเป็นบททดสอบทีแย่สำหรับความคิดที่ใหญ่
การวิเคราะห์แบบเอาทั้งหมด หรือไม่เอาเลย หรือการปล่อยค่าเงินลอยตัวหรือการรวมสกุลเงินเป็นโลจิคด้านเศรษฐศาสตร์สำหรับเงินยูโร การเดินหน้าเพื่อรวมตัว โดยไม่มีอะไรยับยั้ง โชคไม่ดีที่การรวมตัวกันทางการเงินของยุโรปEuropean Monetary Unionเป็นการทดสบที่ผิดพลาดเหมือนกัน มันเป็นโครงการทางการเมือง เท่าๆกับโครงการทางเศรษฐกิจ ดังนั้นมันจะไม่เปิดเผยให้เราได้เห็นทุกอย่างว่าการรวมตัวของเงินสกุลในแต่ละรัฐอิสระจะมีการทำงานอย่างไร แต่มันจะเปิดเผยให้เห็นมาก และความสำคัญทางด้านสัญลักษณ์จะมีมาก ถ้าหากมันล้มเหลว ไม่เพียงแต่จะสร้างความเสียายทางการเมืองให้สหภาพยุโรป แต่แรงกดดันให้มีสิ่งกีดขวาทำหรับการเงินโลกจะมีความแข็งแกร่งเพ่ิมขึ้น ถ้ามันสำเร็จ จะทำให้การรวมของเงินสกุลโลกมีความน่าสนใจเพ่ิมขึ้น
คุณอาจจะพูดว่า ดีแล้ว แต่โลกเราจะเดินจากจุดนี้ไปถึงที่นั้นอย่างไร ต้องยอมรับว่า มันยากที่จะบอกโดยความเป็นจริง ให้หาคำตอบกับสิ่งนั้น และคิดในสิ่งที่คิดได้
8/10/2019
Cr.Thanong Fanclub
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you