วงการตลาดเงินชี้ ทุนต่างชาติเริ่มไหลกลับไทย หลังอีซีบีลดดอกเบี้ย กดดันต่อธนาคารกลาง ทั่วโลกรวมถึงไทย เชื่อกนง.รอบ 25 ก.ย.จะยังยืนดอกเบี้ยนโยบายก่อนจะปรับลดอีกครั้งในช่วงปลายปี เผยสัญญาณการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกชัดเจนขึ้น
ยันกนง.ยังมีกระสุนพอ แม้ดอกเบี้ยไทยเคยต่ำสุดที่ 1.25%
การดำเนินนโยบายการเงินเชิงรุกของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ด้วยการปรับลดดอกเบี้ยเงินฝากของสถาบันการเงินที่ฝากไว้กับอีซีบีลง 0.10% สู่ระดับ -0.5% และจะกลับมาดำเนินมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ด้วยการซื้อพันธบัตรอีกครั้งวงเงิน 2 หมื่นล้านยูโร ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวและอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำกว่าเป้าหมาย พร้อมทั้งส่งสัญญาณจะลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกจนกว่าเงินเฟ้อเข้าใกล้ 2% ซึ่งเป็นระดับเป้าหมาย
นายจิติพล พฤกษาเมธานันท์ ผู้อำนวยการตลาดเงิน ตลาดทุน ธนาคาร กรุงไทย เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ตลาดเงินได้รับผลบวกจากการปรับลดดอกเบี้ยของอีซีบี โดยเห็นได้ทุนต่างชาติที่ไหลกลับเข้ามาลงทุนในตลาดพันธบัตรและหุ้นในไทย และในอนาคตมีแนวโน้มที่สภาพคล่องจะไหลกลับที่เอเชีย ส่วนแนวทางการทำ QE ของอีซีบีนั้น ยังไม่สามารถประเมินผลสำเร็จในอนาคตได้ เพราะรอบนี้เป็นการทำในช่วงที่อัตราผลตอบแทนติดลบโดยไม่รู้ว่า อัตราการติดลบจะเพิ่มหรือไม่
สอดคล้องกับนายนริศ สถาผลเดชา เจ้าหน้าที่บริหาร ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี ธนาคารทหารไทย หรือ TMB Analytics กล่าวว่า วันที่ 13 กันยายนจะเห็นต่างชาติกลับเข้ามาซื้อพันธบัตรหลังจากที่ซาไปนาน ส่วนการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ในวันที่ 19 กันยายนนี้ คาดว่า จะปรับลดดอกเบี้ยลง 0.25% และเชื่อว่า ธนาคารกลางหลายประเทศพร้อมจะลดดอกเบี้ยลง ซึ่งสร้างแรงกดดันต่อการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของไทย ที่จะมีขึ้นในวันที่ 25 กันยายน ที่จะต้องลดดอกเบี้ยลงด้วย
"การลดดอกเบี้ยของไทย คงทำได้ไม่มากเท่าต่างประเทศ เพราะไทยไม่ได้ปรับดอกเบี้ยขึ้นสูงเหมือนกับหลายประเทศ แต่หากกนง.ไม่ลดดอกเบี้ยลง ก็จะเสียความสามารถในการแข่งขันอีก ซึ่งสถานการณ์เศรษฐกิจที่แย่ลงเรื่อยๆ (Clausius cycle)โดยยังไม่เห็นทางหลุดจากวังวน ทั้งผลการขึ้นภาษีและความไม่แน่นอนของสงครามการค้า เศรษฐกิจโลกชะลอ Brexit ส่งผลกระทบเศรษฐกิจของแต่ละประเทศที่ชะลอทำให้ทุกประเทศดำเนินนโยบายค่าเงินอ่อนค่าและอัตราดอกเบี้ยต่ำ ดังนั้นการใช้นโยบายการเงินจะต้องปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์โลกสู่ New Normal"
นายสมประวิณ มันประเสริฐ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่และผู้บริหารสายงานวิจัยและหัวหน้าทีมวิจัยเศรษฐกิจ ธนาคารกรุงศรี อยุธยาประเมินภาพรวมว่า สัญญาณการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกชัดเจนขึ้น ทำให้ผู้กำกับนโยบายทุกประเทศดำเนินนโยบายผ่อนคลายทั้งการเงินและการคลัง ซึ่งการปรับลดดอกเบี้ยของอีซีบียังเป็นแรงกดดันต่อการปรับลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางประเทศพัฒนาแล้วรวมทั้งไทย แต่คงลดไม่มากเมื่อเทียบช่วงวิกฤติเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเฟดเองก็พร้อมลดดอกเบี้ยเพื่อประคองเศรษฐกิจ แต่เชื่อว่าการประชุมกนง.รอบถัดไปจะยังคงดอกเบี้ย แต่น่าจะมีการลดลงอีก 1 ครั้ง 0.25% ในการประชุมที่เหลืออีก 2 ครั้งของปี
นายอมรเทพ จาวะลา ผู้อำนวยการอาวุโส สำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย กล่าวว่า อีซีบีเริ่มต้นทำคิวอีด้วยปริมาณ 2 หมื่นล้านยูโรน้อยกว่าที่ตลาดคาด ทำให้ผลกระทบอาจไม่มาก แต่รอบนี้อีซีบีไม่ได้บอกระยะเวลาการทำคิวอีว่า จะนานแค่ไหน เพราะหากเศรษฐกิจและเงินเฟ้อยังไม่ฟื้นตัว มีโอกาสที่อีซีบีจะทำคิวอีต่ออีก ขณะเดียวกันอีซีบียังกระทุ้งให้ใช้นโยบายการคลังในภาวะที่เศรษฐกิจอ่อนแอและเต็มไปด้วยขาลง ซึ่งสะท้อนว่า มาตรการทางการเงินอาจไม่เพียงพอ ส่วนการประชุมกนง.รอบนี้ เชื่อว่า กรรมการบางท่านต้องการให้ลดดอกเบี้ยรอ เพราะห่วงการเติบโตเศรษฐกิจอนาคตทั้งเงินเฟ้อต่ำและเงินบาทแข็งค่า
"กรณีที่คนมองกนง.หมดกระสุน เพราะดอกเบี้ยนโยบายของไทยเคยต่ำสุดที่ 1.25% ในช่วงวิกฤติ แต่เมื่อหลายประเทศต่างปรับลดดอกเบี้ยลงในอัตราต่ำกว่าช่วงวิกฤติการเงินโลก จึงเชื่อว่ากนง.จะลดดอกเบี้ยลง 0.25% อีก 1 ครั้งในช่วงปลายปี ระหว่างนี้อาจจะใช้มาตรการอื่นประคองไว้ก่อน"
Source: ฐานเศรษฐกิจ
Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you