อังกฤษเข้ายึดและครอบครองเกาะฮ่องกงได้สำเร็จ

วันที่ 20 มกราคม 1841 หลังจากที่จักรวรรดิ์จีนพ่ายแพ้การรบต่อกองทหารอังกฤษหลายครั้งติดต่อกัน อังกฤษเข้ายึดและครอบครองเกาะฮ่องกงได้สำเร็จ ฮ่องกงมีความสำคัญอย่างมากต่อเศรษฐกิจของอังกฤษในขณะนั้น เพราะมันให้ความสะดวกต่อการเข้าสู่ตลาดจีน

...ทั้งสองฝ่ายสู้รบกันหลายครั้งเพราะต้องการควบคุมเกาะแห่งนี้

ในปี 1898 จักรวรรดิ์ทั้งสองได้ลงนามในสัญญาสันติภาพ ซึ่งอังกฤษตกลงที่จะส่งมอบคืนเกาะฮ่องกงต่อจีนในปี 1997

ฮ่องกงเจริญรุ่งเรืองมานานนับสิบๆปีภายใต้การปกครองของอังกฤษนับจากนั้น

แต่ในช่วงต้นของยุค 1980s ฮ่องกงเริ่มที่จะพบกับเรื่องวุ่นวาย

ธุรกิจข้ามชาติ ..แบ้งเกอร์..และพวกเทรดเดอร์ เริ่มเกิดความกังวลต่อการที่จะต้องส่งคืนเกาะฮ่องกงให้กับจีน ที่จะเกิดขึ้นในอีก 15 ปีข้างหน้า

และเมื่อเติ้งเสี่ยวผิงแสดงความต้องการเร่งเตรียมการให้มีการส่งมอบ นักลงทุนก็เกิดแพนิค

ในระหว่างเดือนกันยายน 1982 ถึงเดือนกันยายน 1983 ดอลล่าร์ฮ่องกงมูลค่าร่วงไป 25% ต่อยูเอสดอลล่าร์

ภายในสัปดาห์เดียวก่อนเดือนตุลาคม มันตกไปอีก 15%

ร่วงแบบทิ้งดิ่งเลย ดังนั้นเมื่อกลางเดือนตุลาคม 1983 รัฐบาลฮ่องกงปรับค่าเงิน โดย fix อัตราแลกเปลี่ยนกับยูเอสดอลล่าร์

และมันคงอยู่อย่างนั้นมาตลอด 36 ปี

การ "ผูก" (peg) ค่าเงินในลักษณะนี้ ทำให้มีส่วนดีต่อฮ่องกงอย่างมากในช่วงเวลานั้น ช่วยให้สถานะของฮ่องกงกลายมาเป็นศูนย์การเงินนานาชาติไปได้

การผูกค่าของเงินฮ่องกงหมายถึงเงินฮ่องกงจะได้ประโยชน์จากความมั่นคงของยูเอสดอลล่าร์

ยูเอสดอลล่าร์ได้รับความเชื่อถือจากนานาชาติและมีความเสถียร จึงได้ประโยชน์จากในส่วนนี้ด้วย

แต่ในขณะที่สหรัฐมีหนี้ท่วมถึง $50+ ล้านล้านที่รวมกับภาระหนี้ในอนาคตเช่นภาระเงินบำนาญ ..ฮ่องกงเองกลับมีทุนสำรองจำนวนมหาศาล ..มี cash flow ที่เป็นบวก ..เกินดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่เป็นจำนวนมาก

แต่ในช่วงหลายเดือนมานี้ ฮ่องกงกำลังประสบกับเรื่องวุ่นวายทางการเมืองที่รุนแรงที่สุดในรอบหลายสิบปี

คนนับล้านออกมาประท้วงจนจะกลายเป็นการปฏิวัติเต็มรูปไปแล้ว

จนเมื่อเช้านี้เองที่รัฐบาลจีนออกมาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อเป็นข้ออ้างการใช้กำลังในภายหน้า

นี่หมายถึงว่าการ peg ค่าเงินกับยูเอสดอลล่าร์จะถึงจุดจบละหรือ

ในอดีตเคยมีธนาคารกลางหลายแห่งที่ผูกค่าเงินกับดอลล่าร์ แต่ไปได้ไม่ตลอด

ตัวอย่างที่ดังมากคืออังกฤษในยุคปี 1990s ซึ่งได้มีการ peg กับเงิน Deutsche Mark ของเยอรมัน ที่ระดับ 2.773

ตลาดไม่เชื่อว่าอังกฤษจะสามารถผูกค่าเงินไปได้นาน ....และมันก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ

ในปี 1992 นักเก็งกำไรกลุ่มหนึ่ง (รวมทั้งจอร์จ โซรอส) โจมตีค่าเงินปอนด์อย่างรุนแรง จนธนาคารกลางต้องใช้ทุนสำรองทั้งหมดออกมาปกป้องค่าเงินเอาไว้

รัฐบาลอังกฤษยอมแพ้ ต้องลดค่าเงินปอนด์

ใน scenario ของฮ่องกงตอนนี้ มันไม่เหมือนกัน

Hong Kong’s Monetary Authority (HKMA) (คณะกรรมการ currency board ที่ทำหน้าที่แบ้งค์ชาติ) มีทุนสำรองมากพอที่จะปกป้องเงินดอลล่าร์ฮ่องกงอย่างไม่จำกัด

HKMA เป็นหนึ่งในธนาคารกลางที่มีทุนสำรองมากที่สุดของโลก ...ในทุกๆฮ่องกงดอลล่าร์ที่หมุนเวียนอยู่ตอนนี้ มีสองดอลล่าร์ในรูปเงินต่างประเทศเป็นทุนสำรองอยู่ข้างหลัง

พูดอีกอย่างหนึ่งคือ HKMA สามารถปกป้องค่าของฮ่องกงดอลล่าร์จนเหรียญสุดท้าย ...แถมยังเหลือทุนสำรองอีกนับแสนล้านดอลล่าร์

HKMA จะยังเหลือเงินทุนสำรองถึงแม้จะอยู่ท่ามกลางสถานการณ์การเผชิญหน้าของรถถังกับคนนับล้านบนถนนก็ตาม ....นี่เป็นประเด็นใหญ่ทางการเมือง แต่ก็ไม่ใช่ประเด็นทางการเงิน

การผูกค่าเงินของฮ่องกงก็อยู่รอดปลอดภัย ผ่านเหตุการณ์ร้ายมาหลายครั้งมาก

ผ่านวิกฤติต้มยำกุ้งในปี 1997 ...วิกฤติ dot-com ในปี 2000 ...วิกฤติแฮมเบอร์เก้อร์ 2008 ...ตามมาด้วยเหตุการณ์ที่ไม่ใช่ปัญหาการเงิน เช่นไข้หวัดหมู ..ไข้หวัดนก ...และแน่นอน การส่งมอบคืนเกาะฮ่องกง

การ peg ค่าเงินอยู่รอดมาตลอด

แต่การอยู่รอดมาตลอดนับสิบๆปี ไม่ได้หมายความว่าจะอยู่ต่อไปได้เสมอไป ....เพราะมันจำเป็นต้องเมคเซนส์ทั้งต่อฮ่องกงเองและต่อจีน

ในยุคปี 1980s สหรัฐเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของฮ่องกง การผูกค่าเงินกับดอลล่าร์ก็มีเหตุผล

และมันก็ให้ความสะดวกต่อจีนด้วยเช่นกัน เพราะมันช่วยให้สินค้าจีนออกสู่ตลาดโลกและได้เงินดอลล่าร์ โดยผ่านทางฮ่องกง

แต่มาวันนี้ เรื่องนี้ไม่มีความจำเป็นอีกแล้ว

ฮ่องกงไม่ต้องมีการสนับสนุนทางเศรษฐกิจจากสหรัฐอีกแล้ว

คู่ค้าอันดับหนึ่งของฮ่องกงเวลานี้คือจีน ไม่ใช่สหรัฐ ...อีกทั้งจีนเองก็มีพลังทางเศรษฐกิจมากพอที่ธุรกิจทั้งหลายจะไม่ต้องพึ่งพาการแปลงเงินดอลล่าร์ผ่านทางฮ่องกงอีกแล้ว

ประเด็นใหญ่ของการรักษาค่าเงินที่ผูกติดกับยูเอสดอลล่าร์ทำให้ต้องสะท้อนเอานโยบายอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐมาด้วย ทำให้สูญเสียอธิปไตยทางการเงินบางส่วนไป

นั่นแหละคือเรื่องที่ไม่เมคเซนส์ สำหรับฮ่องกง หรือจีน โดยเฉพาะในช่วงที่ trade war กำลังมาแรง

HKMA’s CEO, Norman Chan ผู้ซึ่งทำหน้าที่ดูแลค่าเงินมาตลอด กำลังได้เวลาจะเกษียณในเดือนนี้ ....ก็ต้องดูว่า ผู้มารับตำแหน่งต่อจะยังคงนโยบายนี้ โดยใช้เงินสำรองนับแสนล้านดอลล่าร์ต่อไปอีกหรือไม่ ทั้งที่มันไม่ค่อยจะเมคเซนส์อีกต่อไป

Bottom line– ฮ่องกงไม่น่าจะถูกรบกวนจากนักเก็งกำไรจนต้องยุติการทำ currency peg .....แต่เป็นไปได้ที่ว่า ฮ่องกงจะยุติเอง เพราะมันไม่จำเป็นเหมือนเมื่อปี 1983 อีกแล้ว

ดังนั้น สำหรับคุณๆที่ยังถือฮ่องกงดอลล่าร์อยู่ ก็ต้องคำนึงถึงเรื่องนี้ไว้ด้วย

Cr.Sayan Rujiramora

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"