'ไทย'เจอพิษประชากรถดถอย เป็นชาติแรกของโลกที่สูงวัยก่อนมั่งคั่ง

ไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนาชาติแรกที่จะเผชิญกับผลที่ตามมาจากการลดลงของอัตราการเกิด โดยกลายเป็นประเทศแรกที่เป็นสังคมสูงวัยก่อนที่จะมีโอกาสมั่งคั่ง ไอเอ็มเอฟชี้ กำลังแรงงานที่หดตัวจะส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจมาก

ถึงหนึ่งเปอร์เซ็นต์เต็มทุกปีในช่วงสองทศวรรษข้างหน้า

ข้อมูลที่เผยแพร่โดยสหประชาชาติเมื่อเดือนที่ผ่านมาชี้ว่า อัตราการเกิดในประเทศไทยได้ลดลงสู่ระดับที่เท่ากับสวิตเซอร์แลนด์ และฟินแลนด์ ซึ่งเป็นสองประเทศที่ร่ำรวยเป็นพิเศษที่แทบจะไม่มีอะไรเหมือนกันเลยกับไทย

ตัวเลขเหล่านั้นหมายถึงว่า มากกว่าหนึ่งในสี่ของคนไทยจะมีอายุมากกว่า 60 ปี ภายในปี 2563 และส่วนใหญ่จะยากจน กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) กล่าวว่า กำลังแรงงานที่หดตัวจะส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจมากถึงหนึ่งเปอร์เซ็นต์เต็มทุกปีในช่วงสองทศวรรษข้างหน้า

การเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างรวดเร็วเป็นภาวะที่จริง ๆ แล้วได้ส่งผลกระทบแต่ประเทศร่ำรวยเท่านั้นเพราะว่าอัตราการเกิดต่ำมีแนวโน้มที่จะมาพร้อมกับรายได้ที่สูงขึ้น แต่ในขณะนี้ มันไม่เป็นเช่นนั้น และข้อยกเว้นที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดคือจีน นโยบายลูกคนเดียว (ซึ่งจีนได้เลิกไปเมื่อปี 2558) ได้ทำให้เกิดแรงบีบคั้นด้านประชากรประมาณกลางศตวรรษ แต่ประเทศไทยกำลังทำลายเหตุผลนั้นใหม่ด้วยการกลายเป็นประเทศแรกที่แก่ลงก่อนที่จะมีโอกาสมั่งคั่ง

ชู ฮัก บิน นักเศรษฐศาสตร์ด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของเมย์แบงก์ กิมเอ็ง รีเสิร์ช กล่าวว่า เรื่องนี้จะเป็นปัญหาที่ท้าทายสำหรับประเทศไทย และประเทศไทยติดอยู่ตรงกลาง โดยไทยเป็นประเทศเกิดใหม่แต่ต้องเผชิญกับปัญหาประชากรแบบที่เกิดขึ้นในเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้ว

เป็นเวลาหลายปีที่นักเศรษฐศาสตร์และนักวางแผนของรัฐบาลตั้งสมมุติฐานว่า การมีประชากรมากเกินไปเป็นที่น่ากังวล แต่แนวคิดดังกล่าวอาจจะไม่ถูกต้องแล้ว

ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา อัตราการเกิดได้ลดลงในทุกประเทศ การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเพราะว่าประชาชนย้ายเข้าสู่เมืองใหญ่ ซึ่งสตรีได้เข้าถึงการศึกษาและการคุมกำเนิดมากขึ้น การมีลูกน้อยลงเป็นผลดีต่อหลายครอบครัวและต่อสิ่งแวดล้อมเช่นกัน แต่ก็มีผลทางเศรษฐกิจตามมาเช่นกัน นั่นคือ ผู้บริโภค คนงานและผู้เสียภาษีน้อยลง และมีคนน้อยลงที่ใส่ใจต่อคนแก่

นับตั้งแต่ปี 2543 ประเทศไทยได้กลายเป็นสังคมเมืองเร็วกว่าประเทศใหญ่อื่น ๆ ยกเว้นจีน ซึ่งเป็นเหตุผลหลักที่อัตราการเกิดกำลังลดลงในขณะนี้ แต่แรงผลักที่ทำให้มีครอบครัวน้อยลงเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 เมื่อนายมีชัย วีระไวทยะ เป็นแกนนำในการทำโครงการต่อต้านความยากจนได้ฉายาว่า “นายถุงยาง” (Mr.Condom)

กว่าสองทศวรรษ อัตราการเกิด (ต่อประชากร 100 คน) ของประเทศไทยลดลงจาก 6.6 เหลือ 2.2 และในขณะนี้อยู่ที่ 1.5 ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดในโลก และยังต่ำกว่าจีน ซึ่งมีอัตราการเกิดที่ 1.7 นอกจากนี้ยังต่ำกว่า 2.1 ซึ่งเป็นอัตราที่จำเป็นต่อการรักษาจำนวนประชากรให้คงที่

สหประชาชาติประเมินว่า อัตราการเกิดที่น้อยลงจะทำให้ไทยซึ่งมีประชากรประมาณ 70 ล้านคน สูญเสียประชากรมากกว่าหนึ่งในสามภายในปลายศตวรรษนี้

ชีแพด ทุลฮาเพียวคาร์ นักประชากรศาสตร์มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด กล่าวว่า ประเทศไทยไม่มีเวลามากที่จะแก้ปัญหานี้และจะต้องหาทางเพิ่มความสามารถในการผลิตแรงงาน ไม่เช่นนั้นแรงงานที่ลดลงจะไม่สามารถช่วยหนุนผู้เกษียณอายุได้ และจำนวนผู้เกษียณอายุจะเพิ่มขึ้นในกลาง ค.ศ. 2030

ปัญหาคือแผนการที่จะแก้ปัญหาผู้สูงวัยได้รับการสนับสนุนอย่างประปราย เมื่อมีการปฏิวัติสองครั้งนับตั้งแต่ปี 2549 และรัฐบาลใหม่ที่ได้รับเลือกในเดือนมีนาคมที่มีพรรคร่วมรัฐบาลถึง 19 พรรค ไม่สามารถที่จะดำเนินการมากกว่านี้ได้

อย่างไรก็ดี แนวโน้มหนึ่งที่อาจจะช่วยบรรเทาปัญหาได้ อาจจะมาจากการเปิดรับผู้อพยพซึ่งเป็นท่าทีที่แตกต่างจากประเทศอื่น ๆ ที่มีปัญหาประชากรอย่างเช่นเกาหลีใต้และญี่ปุ่น โดยชาวต่างชาติมีสัดส่วน 10% ของกำลังแรงงานทั้งหมดและมีจำนวนมากขึ้นในบริษัทใหญ่ ๆ

แต่ถึงกระนั้นก็ดี ไทยกำลังล้าหลังประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค การเติบโตเฉลี่ยต่อปีลดลงทุก 10 ปีนับตั้งแต่ปี ค.ศ.1990 โดยจาก 5.3% เหลือ 4.3% ถึง 3% กลาง ๆ ในขณะนี้ ในช่วงไตรมาสหนึ่ง การเติบโตอยู่ที่ 2.8% ต่ำสุดในรอบกว่า 4 ปี และเนื่องจากเงินเฟ้อต่ำกว่า 1% อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า 2% และค่าเงินบาทแข็งค่าอย่างรวดเร็ว ประวัติทางเศรษฐกิจของประเทศหลาย ๆ ส่วน กำลังเริ่มคล้ายกับญี่ปุ่นมากกว่าเพื่อนบ้านที่กำลังพัฒนาอย่างอินโดนีเซียหรือฟิลิปปินส์

การจ่ายเงินเพื่อดูแลสุขภาพจะทำให้ยากสำหรับประเทศที่มีรายได้ต่อหัวแค่ 6,362 ดอลลาร์ (190,000 บาท) ซึ่งไม่ง่ายเช่นกันสำหรับสวิตเซอร์แลนด์ หรือฟินแลนด์ที่มีรายได้ต่อหัวที่ 78,816 ดอลลาร์ (2,400,000 บาท) และ 48,580 ดอลลาร์ (1,500,000 บาท) ตามลำดับ

ค่าใช้จ่ายสำหรับระบบดูแลสุขภาพของรัฐได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 12% ต่อปีในช่วง 12 ปีที่ผ่านมา และในขณะนี้ค่าใช้จ่ายด้านนี้ของไทยสูงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อดูจากข้อมูลของสถาบันวิจัยและพัฒนาของประเทศไทย

นอกจากนี้แผนบำนาญของผู้สูงวัยก็สะเปะสะปะและอยู่ในอันดับท้ายสุดในแง่ของความยั่งยืนในบรรดา 54 ประเทศที่ อัลลิแอนซ์ เอสอี ได้สำรวจมา

ดร.สมชัย จิตสุชน ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการของธนาคารกลาง กล่าวว่า กองทุนบำนาญอาจเหือดแห้งภายใน 15 ปี หากไม่มีการปฏิรูปภาษีครั้งใหญ่ ประเทศไทยจำเป็นต้องหารายได้เพิ่มอีก

Source: ข่าวหุ้น

- Thailand Has a Developing Economy and a Big First World Problem

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"