เฟดคงอัตราดอกเบี้ยตามคาด: ธนาคารกลางสหรัฐฯ ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 2.25–2.50 ด้วยมติไม่เป็นเอกฉันท์

จากการที่นาย James Bullard, St. Louise Federal Reserve President ลงมติให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 และนับเป็น dissent vote แรกภายใต้การดำรงตำแหน่ง Chairman ของนาย Jerome Powell

ขณะที่ใน statement คณะกรรมการยังเปลี่ยนท่าทีการดำเนินนโยบายการเงินในอนาคตจาก “patient” เป็น “will act as appropriate” เนื่องจากประเมินถึงความไม่แน่นอนต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ปรับสูงขึ้น แม้ว่าแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อจะยังคงมีอยู่จำกัดก็ตาม สอดคล้องกับ Dot Plot ที่ประกาศในวันนี้ ที่แสดงถึงแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย จากการที่ central tendency ของ Dot Plot สำหรับปี 2019 ปรับลดลงจากร้อยละ 2.4–2.6 สู่ 1.9–2.4 และมีการกระจายตัวของการคาดการณ์เพิ่มขึ้น แม้ว่าค่า Median จะไม่เปลี่ยนแปลงก็ตาม และคณะกรรมการยังปรับลดประมาณการ headline PCE inflation ของปี 2019 (ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 1.5) และของปี 2020 (ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 1.9) ลงร้อยละ 0.3 และ 0.1 ตามลำดับ อย่างไรก็ดี คณะกรรมการปรับเพิ่มคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2020 สู่ร้อยละ 2.0 ขณะที่คงประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2019 ที่ร้อยละ 2.1

ทั้งนี้ ใน Press Conference นาย Jerome Powell, Federal Reserve Chairman ได้กล่าวถึงโอกาสในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในรอบการประชุมหน้า (30-31 ก.ค.) ว่าขึ้นอยู่กับภาวะและข้อมูลทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ โดยการที่ยังไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งนี้ เนื่องจากเห็นว่ายังคงต้องใช้ระยะเวลาเพื่อดูว่าสัญญาณการชะลอตัวต่างๆ จะยังคงอยู่ต่อไปหรือไม่ โดยคณะกรรมการยังคงตระหนักถึง “crosscurrents” ที่เกิดขึ้น ที่จะส่งผลให้เกิดความกังวลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก และจะยังคงเฝ้าติดตามพัฒนาการของการเจรจาการค้าระหว่างประเทศต่อไป

อนึ่ง ประเด็นเรื่องสกุลเงินดิจิทัลของ Facebook ที่เพิ่งประกาศตัวไปในสัปดาห์นี้นั้น ธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังมิได้รู้สึกกังวลหรือคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินนโยบายทางการเงิน และคาดว่าจะต้องใช้เวลาอีกนานกว่า digital currency จะสามารถเข้ามาแทนที่สกุลเงินที่ออกโดยธนาคารกลางต่างๆ ได้

Source: BoTSS

******************
เฟดมีมติคงดอกเบี้ยตามคาด แต่ส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยช่วงครึ่งปีหลัง :

ธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด)ในวันพุธ(19มิ.ย.) เปิดประตูสำหรับปรับลดอัตราดอกเบี้ยเร็วๆนี้ เนื่องจากสถานการณ์ความไม่แน่นอนต่างๆต่อแนวโน้มทางเศรษฐกิจกำลังเพิ่มขึ้น พร้อมประกาศจะลงมือเพื่อพยุงเศรษฐกิจให้เติบโตต่อเนื่อง

ธนาคารกลางแห่งนี้มีมติคงอัตราดอกเบี้ยไว้ตามเดิมไม่เปลี่ยนแปลง แต่มีคณะกรรมการ 1 รายคัดค้านมติดังกล่าว โดยสนับสนุนให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในทันที บางอย่างที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ส่งเสียงเรียกร้องดังลั่น

ที่ประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน( FOMC) ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 2.25-2.5% พร้อมส่งสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ท่ามกลางแนวโน้มความไม่แน่นอนเพิ่มขึ้น และบอกว่าเฟดจะดำเนินการอย่างเหมาะสมเพื่อประคับประคองการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

ในถ้อยแถลงที่ถูกจับตามองอย่างใกล้ชิดของเฟด มีการใช้ภาษาที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยมีการตัดคำว่าธนาคารจะยังคง "อดทน" ในการประเมินข้อมูลทางเศรษฐกิจออกไป ในขณะที่เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา พวกเจ้าหน้าที่เริ่มยอมรับว่าความขัดแย้งทางการค้ากับจีนกำลังนำพาแนวโน้มทางเศรษฐกิจเข้าสู่ความมืดมนขึ้นเรื่อยๆ

"เนื่องจากความไม่แน่นอนเหล่านี้และแรงกดดันเงินเฟ้อที่ซึมเซา คณะกรรมการจะจับตาอย่างใกล้ชิด ว่าข้อมูลทางเศรษฐกิจที่เข้ามานั้นมีความหมายโดยนัยอย่างไรต่อแนวโน้มทางเศรษฐกิจ และจะดำเนินการอย่างเหมาะสมเพื่อค้ำจุนการขยายตัว ในขณะที่ตลาดงานยังแข็งแกร่งและอัตราเงินเฟ้ออยู่ใกล้ระดับเป้าหมาย 2%" ถ้อยแถลงของ FOMC ระบุ

เจมส์ บุลลาร์ด ประธานเฟดสาขาเซนต์หลุยส์ โหวตคัดค้านการตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ย โดยเขาต้องการเห็นธนาคารกลางสหรัฐฯปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงมา 0.25%

เมื่อเดือนที่แล้ว บุลลาร์ด เป็นนายธนาคารกลางคนแรกที่ส่งเสียงคาดการณ์ว่าเฟดอาจจำเป็นต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆนี้ เพื่อกระตุ้นเงินเฟ้อ และเพื่อรับมือกับความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะเผชิญภาวะขาลง อันเนื่องมาจากสงครามการค้าที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น

ในการคาดการณ์รายไตรมาสที่เผยแพร่โดยเหล่านายธนาคารกลางในวันพุธ(19มิ.ย.) เผยให้เห็นว่าเหล่าคณะกรรมการกำหนดนโยบายเริ่มมีความโน้มเอียงในแนวทางอะลุ่มอล่วยมากขึ้น โดยตอนนี้มีจำนวนน้อยลงที่คาดหมายว่าจะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 1 ครั้งในปีนี้ เมื่อเทียบกับการคาดการณ์คราวก่อนหน้านี้เมื่อเดือนมีนาคม

อย่างไรก็ตามเหล่าคณะกรรมการกำหนดนโยบายยังคงมีความเห็นต่างกันว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยเอาไว้อย่างเดิมหรือปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง

กระนั้นก็ตามขณะเดียวกันในการคาดการณ์ดังกล่าวได้สะท้อนว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากเท่าไหร่ต่อมุมมองทางเศรษฐกิจ ด้วยคณะกรรมการเฟดประมาณการว่าการเติบโตและตัวเลขคนว่างงานจะไม่เปลี่ยนแปลงมากนักเมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม และปรับลดคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อลงมาเหลือ 1.5% จากเดิม 1.8%

เจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟดแถลงข่าวหลังเสร็จสิ้นการประชุมว่า คณะกรรมการหลายคนรู้สึกว่ากรณีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนั้นมีความเป็นไปได้มากขึ้น แต่พวกเขาต้องการเห็นข้อมูลมากกว่าก่อนดำเนินการเคลื่อนไหวใดๆต่อไป

เฟดได้คงตัวเลขการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐที่ระดับ 2.1% ในปีนี้ และปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์ในปีหน้าสู่ระดับ 2.0% จากเดิมที่ 1.9% ขณะที่คงตัวเลขคาดการณ์อัตราการขยายตัวในปี 2021 ที่ระดับ 1.8% และคงตัวเลขอัตราการขยายตัวในระยะยาวที่ระดับ 1.9%

ขณะเดียวกัน เฟดได้ปรับลดตัวเลขอัตราการว่างงานในปีนี้สู่ระดับ 3.6% จากเดิม 3.7% ส่วนตัวเลขในปี 2020 และ 2021 ได้ปรับลดลงสู่ระดับ 3.7% และ 3.8% ตามลำดับ จากเดิมที่ระดับ 3.8% และ 3.9% ขณะที่ปรับลดตัวเลขว่างงานในระยะยาวสู่ระดับ 4.2% จากเดิมที่ 4.3%

Source: ผู้จัดการออนไลน์

เพิ่มเติม
- Fed holds rates steady, but opens the door for a rate cut in the future : คลิก

- ดาวโจนส์ปิดบวกหลังเฟดมีมติคงดอกเบี้ย:

คลิก

- FOMC Statement : คลิก

- FOMC Decisions Regarding Monetary Policy Implementation:

คลิก

- FOMC Projection Materials

คลิก

Cr.Jeerachart Jongsomchai

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"