.. “ธนาคาร HSBC” อันเก่าแก่บนเกาะฮ่องกง แต่เป็นของคนอังกฤษ ที่เป็นเจ้าอาณานิคมในตอนนี้ ได้สร้างตัวอาคารมาตั้งแต่ปี 1865 จนมาถึงตึกปัจจุบันนี้ ที่สร้างเสร็จในปี 1985 ล้วนมีที่มาและเหตุผลในการต่อสู้กันมากมาย
... อาคารใหม่ ที่สร้างแล้วเสร็จในปี 1985 นี้ออกแบบโดยสถาปนิกชาวอังกฤษ( เซอร์นอร์แมน ฟอสเตอร์ ( ชาวอังกฤษเหมือนเจ้าของธนาคาร ) มีความสูงทั้งหมด 47 ชั้น และชั้นใต้ดินอีก 4 ชั้น มีพื้นที่ 99,000 ตารางเมตร ส่วนวิศวกรโครงสร้างโดย Ove Arup & Partners ที่ก็มีสำนักงานใหญ่ในอังกฤษเหมือนกัน โดยโครงสร้างเป็นระบบพิกัดขนาดใหญ่ ผลิตในสก็อตแลนด์ แล้วนำมาประกอบที่ฮ่องกง ส่วนกระจก อลูมิเนียมแคลดดิ้ง และพื้นสำเร็จรูปมาจากอเมริกา เนื่องจากต้องการประหยัดเวลาในการก่อสร้าง
... ลักษณะเด่นคือ การนำแสงแดดธรรมชาติเข้ามาใช้ในอาคาร แต่ขณะเดียวกันก็มีแผงกันแดดและความร้อนเข้ามาอาคาร และใช้น้ำทะเลแทนน้ำจืดในการทำสารคูลแลนท์ ในระบบน้ำยาแอร์ในระบบปรับอากาศในอาคาร
... คนอังกฤษ ที่มาตั้งรกรากในเกาะฮ่องกงในยุคแรกๆ ต่างก็ล้วนเชื่อถือและนำเอาเรื่องความเชื่้อของฮวงจุ้ย มาใช้ในอาคารของพวกเขาด้วย รวมทั้งธนาคาร HSBC นี้ก็ไม่มีข้อยกเว้น
... ชาวจีนเชื่อว่า “ผู้ที่มีมุมมอง ( อาคารด้วยเช่นกัน ) เชื่อมต่อโดยตรงกับแหล่งน้ำ - ไม่ว่าจะเป็นแม่น้ำทะเลหรือมหาสมุทร – มีแนวโน้มที่จะเจริญรุ่งเรืองกว่าผู้ที่ไม่ได้เชื่อมต่อ” ( น้ำมีความสัมพันธ์อย่างยิ่งกับความมั่งคั่งในฮวงจุ้ย ) โดย “อาคารธนาคารเอชเอสบีซี” มีพื้นที่เปิดโล่งกว้าง ( รูปปั้นสแควร์ ) ด้านหน้าไม่มีอาคารอื่นปิดกั้นวิวของท่าเรือวิคตอเรีย ดังนั้นจึงถือว่ามี "ฮวงจุ้ยที่ดี"
... ในซีรีส์โทรทัศน์ CBC Doc Zone ตอน "จิตใจที่เชื่อโชคลาง", นักเขียนนักวิจัยและรองผู้ผลิต Tom Puchniak อ้างว่าการออกแบบของ “ธนาคารแห่งประเทศจีน” ( ที่เป็น 1 ใน 4 ของธนาคารที่ใหญ่ที่สุดของรัฐบาลจีน ที่ออกแบบโดย I M Pei สถาปนิกชาวจีนระดับโลก ที่เพิ่งเสียชีวิตไปไม่นาน ได้ออกแบบ ที่มีรูปทรงเหมือนหน่อไม้ และเหมือน “คมมีด” ด้วยเช่นกัน ) ที่อยู่ใกล้เคียงกับอาคาร “ธนาคาร HSBC” ของอังกฤษ , นั้นไม่สนใจหลักการฮวงจุ้ยโดยทำเป็น “คมมีดหนึ่ง” ชี้ไปที่ทำเนียบรัฐบาลอังกฤษ และอีกหนึ่งหันไปยัง “อาคารเอชเอสบีซี” ของอังกฤษ
... หลังจากที่อาคาร “ธนาคารแห่งประเทศจีน” เปิดทำการ คมมีดชี้ไปที่อาคารทั้งสองดังกล่าว ก็ทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นหลายครั้งรวมถึงการตายของผู้ว่าราชการ และการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของเมือง ขณะที่ต่อมาไม่นานอีกฝ่าย “ธนาคารเอชเอสบี” ถูกกล่าวหาว่า ติดตั้ง “เครนบำรุงรักษาอาคารสองตัวในรูปของปืนใหญ่” ( ที่ทำให้นึกถึง "ปืนใหญ่อังกฤษ" บนเรือปืน สมัยสงครามฝิ่น ) บนหลังคาชี้ปลายปืนไปที่ “ธนาคารแห่งประเทศจีน” เพื่อป้องกันพลังงานเชิงลบจากอาคารธนาคารแห่งประเทศจีน ( คมมีด )
… จากคำกล่าวของ ซินแส “พอลฮัง” อาจารย์ฮวงจุ้ยบอกว่า การแก้ปัญหานี้โดยการติดตั้งปลายปืนใหญ่ชี้ไปที่ “ธนาคารแห่งประเทศจีน” นั้นทำให้ “ธนาคารเอชเอสบีซี” "ไม่มีผลลัพธ์ด้านร้ายที่เป็นอันตรายอีกเลยหลังจากนั้น"
… หลังจาก “สงครามฝิ่น” จีนกับอังกฤษ ก็ยังทำสงครามกันอีกในหลายรูปแบบทั้งในอาคารและฮวงจุ้ยบนเกาะฮ่องกง เพราะมันคือผลประโยชน์และศักดิ์ศรีของชาติทั้งสอง
.
. The early British settlers in Hong Kong had an interest in feng shui; thus, most of the earliest buildings in Hong Kong, and many buildings constructed thereafter, were built with the philosophies of feng shui in mind. The Chinese believe that those who have a direct view of a body of water—whether it is a river, a sea, or an ocean—are more likely to prosper than those who do not (water is strongly associated with wealth in feng shui). The HSBC building has a wide open area (the Statue Square) in front of it, with no other buildings blocking its view of Victoria Harbour; thus, it is considered to have "good feng shui".[19]
In the CBC Television series Doc Zone episode "Superstitious Minds",[20] Writer, Researcher & Associate Producer Tom Puchniak asserts that the design of the nearby Bank of China Building ignored feng shui principles, and created instant controversy by evoking two knife edges, one pointing towards the British Government House, another towards the HSBC building. After the Bank of China building opened, a series of mishaps occurred, including the death of the Governor,[21] and a downturn in the city's economy. It is alleged that HSBC installed two maintenance cranes in the shape of cannons on the roof, pointing directly at the Bank of China, to defend against the negative energy from the Bank of China building. According to feng shui master Paul Hung, this solved the problem, and HSBC experienced "no harmful results after that.
Cr.Jeerachart Jongsomchai
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
#forex #ลงทุน #pepperstone #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you