ธปท.แนะเพิ่มวินัยการเงิน-ใช้จ่ายตามฐานะ

นางสาวโสมรัศมิ์ จันทรัตน์ หัวหน้ากลุ่มงานวิจัยด้านระบบ การเงิน สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยผลการศึกษาพลวัตของหนี้ครัวเรือนไทย โดยใช้ข้อมูลสินเชื่อรายสัญญาของเครดิตบูโร

และติดตามบัญชีและผู้กู้รายเดิมระยะเวลา 9 ปี ตั้งแต่ปี 2552 - 2561 พบว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทยกลับมาขยายตัวระดับสูงอีกครั้งในปี 2561 และส่วนใหญ่มาจากการขยายตัวของสินเชื่อส่วนบุคคล บัตรเครดิต และสินเชื่อรถยนต์ โดยมีจำนวนสัญญาและมูลหนี้ขยายตัวมากกว่า 7 % ในปี 2561 เทียบกับปีก่อนหน้า โดยสัดส่วนหนี้ครัวเรือนไทยสิ้นปี 2561 อยู่ที่ 78.6 % ซึ่งการขยายตัวของสินเชื่อส่วนใหญ่มาจากธนาคารพาณิชย์ขนาดกลางและผู้ให้บริการที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน หรือ non-bank และการขยายตัวของหนี้ครัวเรือนไทยในรอบ 9 ปีนี้ส่วนใหญ่มาจากผู้กู้รายเดิม

ขณะที่สัดส่วนผู้กู้รายใหม่มีสัดส่วนเพียง 1 ใน 5 เท่านั้น โดยผู้กู้รายใหม่จะมีอายุน้อยกว่า 25 ปีขึ้นเรื่อย ๆ สะท้อนให้เห็นว่าคนไทยมีหนี้เร็วขึ้นและนานขึ้น และสัดส่วนของผู้กู้ใหม่แต่ละปีกลับมีการกระจายเชิงพื้นที่ แสดงให้เห็นถึงการขยายตัวของสินเชื่อทั่วถึงขึ้น ไม่กระจุกตัวอยู่ในชุมชนเมืองเหมือนเช่นเดิม

ด้านเสถียรภาพทางการเงินของครัวเรือนและระบบการเงินไทย พบว่า 1 ใน 3 ของผู้กู้เดิม มักมีพฤติกรรมการกู้หลายบัญชีและหลายสถาบันการเงิน และพฤติกรรมดังกล่าวมีแนวโน้มสูงขึ้นในรอบ 9 ปี ลักษณะของผู้กู้ก็มีการเปลี่ยนแปลงไป โดยสินเชื่อบางประเภท เช่น สินเชื่อบ้านและรถยนต์ ผู้กู้ใหม่แต่ละปีจะมีแนวโน้มเด็กลงและคุณภาพสินเชื่อโดยรวมด้อยลง โดยเฉพาะสินเชื่อรถยนต์ปี 2561

นายสรา ชื่นโชคสันต์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยผลงานวิจัยเรื่องหนี้ครัวเรือนไทย : ข้อเท็จจริงที่ได้จาก BOT-NIELSEN HOUSEHOLD FINANCIAL SURVEY ซึ่งผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยของมูลหนี้ต่อครัวเรือนปี 2560 อยู่ที่ 525,053 บาท ขณะที่รายได้ทั้งสิ้นเฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือนทั้งหมดที่มีหนี้และไม่มีหนี้อยู่ที่ 55,837 บาท และหลังจากคุมหลายปัจจัยให้คงที่แล้ว กลุ่มครัวเรือนที่มีหนี้ยังคงมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มครัวเรือนที่ไม่มีหนี้อย่างมีนัยสำคัญ โดยมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยสูงกว่า 7.6 % โดยค่าใช้จ่ายประจำ เช่น ค่าโทรศัพท์สูงกว่า 135% ค่าใช้จ่ายในการเดินทางสูงกว่า 275% ขณะที่ค่าใช้จ่ายไม่ประจำ เช่น ค่าซ่อมรถสูงกว่า 631% อาจสะท้อนการให้ความสำคัญกับความมีหน้ามีตาทางสังคมมากกว่า

ขณะที่การศึกษาครัวเรือนที่มีหนี้ครัวเรือนที่มีปัญหาทางการเงินกับครัวเรือนที่มีหนี้แต่ไม่มีปัญหา พบว่าหลังจากคุมหลายปัจจัยให้คงที่แล้ว กลุ่มครัวเรือนที่มีปัญหาทางการเงินมีค่าใช้จ่ายฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มครัวเรือนที่ไม่มีปัญหาอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีการใช้จ่ายสูงกว่า 17.5% โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายประจำ เช่น ค่าใช้จ่ายเพื่อความบันเทิงสูงกว่า 376% ค่าซื้อเสื้อผ้าสูงกว่า 562% สะท้อนพฤติกรรมการใช้ชีวิตหรือ “ไลฟ์สไตล์” ที่ไม่ระมัดระวังการใช้จ่าย สะท้อนว่ากลุ่มครัวเรือนที่มีปัญหามีแนวโน้มที่จะมีรสนิยม หรือความต้องการที่จะมีหน้ามีตาทางสังคมสูงกว่า และอีกหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้ครัวเรือนมีปัญหาทางการเงิน คือ การมีสมาชิกในครัวเรือนที่ประสบปัญหาล้มป่วย ส่งผลให้กลุ่มครัวเรือนที่มีปัญหามีค่ารักษาพยาบาลสูงกว่ากลุ่มที่ไม่มีปัญหา โดยสูงกว่า 322%

ทั้งนี้ เสนอแนะการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนให้มีประสิทธิภาพ ควรเริ่มที่ระดับครัวเรือนก่อน ด้วยการเข้าใจพฤติกรรมการใช้จ่ายของตนเอง จัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายของครัวเรือน พร้อมตั้งเป้าหมายลดค่าใช้จ่าย โดยแบ่งเป้าหมายเป็นแบบขั้นบันไดจากง่ายไปยาก ออมเงินให้เป็นกิจวัตร นอกจากนี้ ต้องพยายามไม่ให้สัดส่วนภาระหนี้จ่ายต่อเดือนเทียบกับรายได้ต่อเดือน (debt service ratio) สูงกว่า และที่สำคัญอย่าหลงกลกับดักทางการตลาดของผู้ขาย อย่างไรก็ตาม หากทุกครัวเรือนมีพื้นฐานทางการเงินดีจะช่วยเสริมสร้าง ความเข้มแข็งให้แก่เสถียรภาพระบบการเงินไทย และนำพาให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตได้อย่างมั่นคงในท่ีสุด

Source: สำนักข่าวไทย

เพิ่มเติม
- บทความหนี้ครัวเรือนไทย

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

#forex #ลงทุน #pepperstone #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"