... “อัศวินเทมพลาร์” หรือคณะแห่งพระวิหาร เป็น “คณะนักบวชอารามิกเพื่อปกป้องผู้แสวงบุญ” ตั้งขึ้นมาเพื่อคอยปกป้องคริสตศาสนิกชนที่เดินทางไปจาริกแสวงบุญที่เยรูซาเลม หรือดินแดนศักดิ์สิทธิ์ช่วง “สงครามครูเสด”
... ราวปี ค.ศ. 1119 อัศวินชาวฝรั่งเศสผู้ผ่านศึกในสงครามครูเสดครั้งที่ 1 อูกแห่งปาแย็ง (Hugues de Payens) เสนอที่จะจัดตั้งคณะนักบวชอารามิกเพื่อปกป้องผู้แสวงบุญ พระเจ้าบอลวินด์ที่ 2 แห่งเยรูซาเลมทรงเห็นด้วยกับคำขอและมอบพื้นที่ให้จัดตั้งกองบัญชาการบนภูเขาเทมเพิล (Temple Mount) ใน “มัสยิดอัลอักซา” (Al Aqsa Mosque) ที่ยึดมาได้
... คณะได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจากคริสตจักรโรมันคาทอลิกราวปี คศ. 1129 กลายเป็นองค์การที่ได้ “รับบริจาคทรัพย์สิน” มากมาย
… และด้วยการรับรองนี้เทมพลาร์ก็ได้รับการสนับสนุนบริจาคตลอดทั้งพระศาสนจักร ไม่ว่าจะเป็น “เงิน ที่ดิน ธุรกิจ และบุตรชายผู้มีตระกูล” จากครอบครัวที่กระตือรือล้นที่อยากจะช่วยต่อสู้ในดินแดนศักดิ์สิทธิ์ ผลประโยชน์ที่สำคัญที่สุดของคณะได้รับในปี ค.ศ. 1139 เมื่อสารตราพระสันตะปาปาของสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 2 ได้ให้ “คณะอยู่เหนือกฎหมายท้องถิ่น” ด้วยอำนาจนี้หมายความว่าเหล่าเทมพลาร์สามารถผ่านแดนได้โดยอิสระ “ไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าภาษีใด ๆ และไม่อยู่ภายใต้อำนาจผู้ใดยกเว้นพระสันตะปาปา”
... แม้ว่าหน้าที่อันดับแรกของคณะ “อัศวินเทมพลาร์” จะเป็นเรื่อง “การทหาร” แต่ก็มี “สมาชิกจำนวนน้อยที่เป็นนักรบ” ผู้ที่เหลืออื่น ๆ จะกระทำหน้าที่ในตำแหน่งสนับสนุนให้ความช่วยเหลืออัศวินและจัดการโครงสร้างพื้นฐานทาง “การเงินและการจัดการต่างๆ” แม้สมาชิกของคณะแห่งพระวิหารจะสาบานว่าจะดำรงตนอย่างสมถะ แต่ก็ต้องจัดการควบคุมทรัพย์สินจากการบริจาคที่มีอย่างมากมาย ขุนนางผู้สนใจเข้าร่วมในสงครามครูเสดอาจปล่อยให้เทมพลาร์เข้ามาจัดการทรัพย์สินของเขาในขณะที่เขาออกไปร่วมรบ ด้วยทรัพย์สินที่สะสมด้วยวิธีนี้ตลอดทั้งคริสตจักรและอาณาจักรครูเสด ในปี ค.ศ. 1150 ภาคีได้สร้าง “ตราสารเครดิต” สำหรับผู้แสวงบุญที่จะจาริกไปดินแดนศักดิ์สิทธิ์ ผู้แสวงบุญจะฝากสิ่งของมีค่าไว้ที่ "เทมพลาร์สาขาท้องถิ่น" ก่อนเดินทาง และรับเอกสารแสดงค่าของสิ่งที่ฝากไว้ เมื่อไปถึงดินแดนศักดิ์สิทธิ์ก็แสดงเอกสารนี้เพื่อรับเงินคืน การจัดการในรูปแบบนี้แสดงถึงรูปแบบตอนต้นของ"ธนาคาร"
… จากการผสมผสานกันของ “การรับบริจาคเพื่อศาสนาและธุรกิจการค้า” เทมพลาร์ได้สร้างเครือข่ายการเงินไปทั่วคริสตจักร เขาได้มาซึ่ง “ที่ดินขนาดใหญ่ทั้งในยุโรปและตะวันออกกลาง” ซื้อและจัดการไร่นาและไร่องุ่น สร้างโบสถ์และปราสาท มีส่วนร่วมใน “อุตสาหกรรมการผลิต นำเข้า และส่งออก” มี “กองเรือเป็นของตนเอง” และณ จุดหนึ่ง พวกเขายังเป็นเจ้าของเกาะทั้งหมดของไซปรัส คณะอัศวินเทมพลาร์มีคุณสมบัติที่จะเป็น “บรรษัทข้ามชาติแห่งแรกของโลก”
... และก็เติบโตอย่างรวดเร็วทั้งในแง่สมาชิกและอำนาจ สมาชิกมีทั้ง “ทหารและคนวางโครงสร้าง” สมาชิกของคณะที่ไม่ได้เป็นทหารมีหน้าที่จัดการโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่ตลอดศาสนจักร สร้างสรรค์เทคนิคทางการเงินที่เป็นต้นแบบของธนาคาร และสร้างป้อมปราการมากมายทั่วยุโรปและแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ ( พอบริจาคมากเพื่อเอาไปช่วยเหลือผู้ศรัทธาที่ติดดาบกลุ่มนี้ ก็มีผลประโยชน์มากขึ้น กลุ่มนี้ก็เลยกลายเป็นยิ่งสู้เพื่อศาสนา ก็ยิ่งรวยอู้ฟู้... "สงครามศาสนาคือช่องทางการสร้างรายได้ของพวกเขา" )
... การดำรงอยู่ของเทมพลาร์เชื่อมโยงอย่างมากกับ “สงครามครูเสด” เมื่อสูญเสียดินแดนศักดิ์สิทธิ์คณะก็ได้รับการสนับสนุนน้อยลง ข่าวลือเกี่ยวกับ “พิธีกรรมลับในการรับเข้าเป็นสมาชิกเทมพลาร์” สร้างความหวาดระแวงและ พระเจ้าฟิลิปที่ 4 แห่งฝรั่งเศส ผู้ซึ่งเป็นหนี้เทมพลาร์มหาศาลได้หาประโยชน์จากสถานการณ์นี้ ในปี ค.ศ. 1307 สมาชิกของคณะหลายคนในฝรั่งเศสถูกจับกุม ทรมานให้ยอมรับสารภาพและถูกเผาที่หลักประหารภายใต้การกดดันจากพระเจ้าฟิลิป
... “ฌักแห่งมอแล ( Jacques de Molay; James of Molay; c. 1240/1250 – มีนาคม ค.ศ. 1314 ) เป็น “ผู้นำคนที่ 23 และคนสุดท้ายของอัศวินเทมพลาร์” ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 20 เมษายน ค.ศ. 1292 จนกระทั่งภาคีถูกยุบโดยคำสั่งของสมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 5 ในปี ค.ศ. 1312 ชีวิตของเขาเป็นที่ทราบน้อยมาก ยกเว้นปีสุดท้ายที่เขาเป็น “ผู้นำเทมพลาร์ ในช่วงที่ตกต่ำของสงครามครูเสด” การสนับสนุนสงครามครูเสดทางยุโรปมีลดน้อยลง และมีแรงกดดันอื่นที่ “พยายามสลายภาคีและยึดเอาทรัพย์สินของเทมพลาร์มาเป็นของตน” ได้สั่งจับกุมมอแลและอัศวินเทมพลาร์ชาวฝรั่งเศสคนอื่นๆในปี ค.ศ. 1307 และทรมานให้สารภาพผิดในข้อหาเท็จ เมื่อมอแลกลับคำรับสารภาพในภายหลัง พระเจ้าฟิลิปจึงสั่งประหารโดยการเผาทั้งเป็นบนเกาะกลางแม่น้ำแซนในปารีสในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1314 เป็นการยุติภาคีเทมพลาร์ที่มีอายุหลายศตวรรษและผู้นำคนสุดท้าย ส่งให้ฌักแห่งมอแลกลายเป็นตำนาน ( ซึ่งจุดประหารเผาทั้งเป็นฌักมอแล ก็คือเกาะกลางแม่น้ำแซนที่เป็นที่ตั้งของ “มหาวิหารนอเทรอดาม” ในปัจจุบัน แต่อยู่ฝั่งตะวันตกสุดที่ใกล้บันไดสะพาน Pont Neuf ขณะที่มหาวิหารนอเทรอดามจะอยู่ฝั่งตะวันออก )
... “มัสยิดอัลอักซา” ( ที่โดนเผาพร้อมกับ “มหาวิหารนอเทรอดาม” ในปารีส ฝรั่งเศสเมื่อ 15 เมษายน 2019 นั้น ) เคยเป็นกองบัญชาการแห่งแรกของอัศวินเทมพลาร์ ตั้งอยู่ บน “ภูเขาเทมเพิลของเยรูซาเลม” หรือที่เรียกว่าพระวิหารแห่งโซโลมอนซึ่งสร้างอยู่บนวิหารเดิม และเป็นที่มาของชื่อ “อัศวินเทมพลาร์” ที่เอาชื่อสถานที่นั้นมาตั้งชื่อกลุ่ม
... ความเสื่อมของ "อัศวินเทมพลาร์"
... ในตอนกลางของคริสต์ทศวรรษที่ 1100 กระแสสงครามได้พลิกผัน โลกมุสลิมสามัคคีเป็นปึกแผ่นภายใต้ผู้นำที่เก่งกาจอย่าง “ศอลาฮุดดีน” และ “ได้เกิดความแตกร้าวท่ามกลางกลุ่มคริสตชน” ทั้งที่เกี่ยวข้องและในดินแดนศักดิ์สิทธิ์
... บางครั้งอัศวินเทมพลาร์ถูกนำไปเปรียบกับคณะทหารคริสตชนอื่นอีกสองคณะคือ “คณะอัศวินฮอสปิทัลเลอร์” และ “คณะอัศวินทิวทัน” และเป็นทศวรรษแห่งการอาฆาตล้างผลาญกันเองทำให้สถานะภาพของคริสตชนอ่อนแอลงทั้งทางการเมืองและการทหาร หลังจากเทมพลาร์ได้เข้าร่วมทำการรบที่ประสบความล้มเหลวหลายครั้ง ในปี ค.ศ. 1244 จักรวรรดิควาริซเมียนได้เข้ายึดครองเยรูซาเลม และเมืองก็ไม่กลับเป็นของตะวันตกอีกเลยจนกระทั่งปี ค.ศ. 1917, ... เมื่อบริเตน ( สหราชอาณาจักร ) ได้ยึดเอามาจากจักรวรรดิออตโตมัน, แล้วก็ผลักดันจัดการมอบให้ชนชาวยิวที่อพยพมาจากยุโรปเป็นส่วนใหญ่ตั้งเป็นประเทศ "อิสราเอล" จนถึงปัจจุบัน
… ปัจจุบันนี้ชื่อ “อัศวินเทมพล่าร์” ที่ปรากฎอยู่เป็นเครือข่ายของโบสถ์ของเซ็นจอห์นทั้งด้านการศาสนา การทหาร การก่อสร้าง ในเยรูซาเลม ปาเลสไตน์ โรดส์ มอลต้า และยังเกี่ยวข้องเป็นองค์กรย่อยของ “องค์กรฟรีเมสัน” แต่ว่าไม่มีการยืนยันชัดเจนจากพวกเขาว่าสืบสายมาจากกลุ่ม “อัศวินเทมพล่าร์” ที่มีชื่อเหมือนกันในสมัยสงครามครูเสดโดยตรงหรือไม่?
... ส่วน “องค์กรฟรีเมสัน” ที่เป็นองค์กรแม่นั้น เป็นองค์กรภราดรภาพที่มีที่มาของเบื้องหลังอันลึกลับตั้งแต่ราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 จนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 องค์กรฟรีเมสันในปัจจุบันมีด้วยกันหลายรูปหลายแบบในประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยมีสมาชิกประมาณ 5 ล้านคนที่รวมทั้งเกือบ 2 ล้านคนในอเมริกา และราว 480,000 คนในอังกฤษ, สกอตแลนด์ และ ไอร์แลนด์ แต่ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดองค์กรฟรีเมสันจะถือปรัชญาจริยธรรม และอภิปรัชญาเดียวกันที่ในเกือบทุกกรณีก็จะเป็นการประกาศธรรมนูญของความเชื่อใน “ผู้เหนือสิ่งทั้งปวง” ( Supreme Being )
( ... และจากการถูกกวาดล้างจาก "กษัตริย์และศาสนา" นั้นทำให้พวกเขามองว่าทั้งสองสถาบันเป็นสิ่งที่ทำให้พวกเขาไม่สามารถเติบโตเจริญรุ่งเรืองได้และคือความต้องการในส่วนลึกของพวกเขาที่จะต้องทำลายทั้งสองสถาบันลง )
... มีผู้ศึกษาวิจัยเรื่องของ "อัศวินเทมพล่าร์" นี้บางคนบอกว่านักรบช่วงแรกๆที่เป็นเชื้อราชวงศ์ยุโรปนั้นอาจจะมีคนที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษชาวยิวที่หนีการรุกรานจากโรมันที่เยรูซาเลม ในปี คศ.70 แล้วอพยพเข้ามาที่ยุโรปในท้ายที่สุด
... แม้ว่าจะมีการเกิดไฟไหม้ที่ “มหาวิหารนอเทรอดาม”ในฝรั่งเศส และ “มัสยิดอัลอักซอ” ในเยรูซาเลม พร้อมๆกันในวันเดียว 15 เมษายน 2019 รวมทั้งเรื่องราวของ “สงครามครูเสด” นั้น เบื้องหลังหรือเหตุผลแท้จริงของไฟไหม้ของทั้งสองศาสนสถานที่สำคัญเหล่านั้น ก็มีสองคำตอบ คือ 1 เป็น “สงครามศาสนาจริง” หรือ 2 แค่ต้องการ “สร้างสงครามที่อ้างศาสนา” มาเป็นเครื่องมือ เพื่อจะเป็นข้ออ้างในการ "แสวงหาผลประโยชน์แบบในอดีต" , กระทำหรือแทรกแซงอะไรบางอย่างในอนาคตนี้ เหมือนครั้งการระเบิดตึกแฝดที่นิวยอร์ค,... เพราะหลังจากการเผาไหม้ของนอเทรอดาม "คนฝรั่งเศส ชาวคริสต์ศาสนิกชน จะรักใคร่สามัคคีกลมเกลียวกันมากขึ้น" ที่อาจจะเอามาเป็นข้ออ้างในการจัดระเบียบโลกใหม่เอาใจกลุ่มอีลิทที่อยากเป็น “โลกบาล” ต่อไป
... The Knights Templar initially arrived in the Holy Land on a mission to reclaim some treasure that they believed was rightfully theirs. According to the modern Templar historians, Tim Wallace-Murphy and Christopher Knight, the knights who banded together as the Knights Templar were part of a wave of European royalty descended from Jewish Elders that had fled the Holy Land around 70 AD, when it was invaded by the Romans.
Cr.Jeerachart Jongsomchai
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/