หลายคนคงจำสตารท์อัพยอดนิยม Bike sharing จักรยานให้เช่าสีเหลืองๆ ที่ชื่อว่า OFO ของจีนได้ดี จากภาพลานจอดจักรยานขยะที่ถูกทิ้งเป็นจำนวนหลายหมื่นคันเมื่อประมาณปลายปีที่แล้ว มาวันนี้สตารท์อัพ Car sharing ที่ชื่อ Microcity
ก็ดูทีท่าจะจบไม่สวยเช่นกัน
วงจร Start up นี้เริ่มด้วย...
1. การแก้ไขปัญหามลภาวะเป็นพิษที่รุนแรงในเมืองหลวงของจีน ทำให้รัฐบาลสนับสนุนลดภาษีผู้ผลิตรถไฟฟ้าในประเทศจีน อุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศจีนจึงเติบโตอย่างมากในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา
2. การแก้ไขปัญหารถติดของจีน ทำให้โมเดลของ Car sharing เป็นที่นิยม เกิดผู้ประกอบการใหม่เพิ่มมากขึ้น ผู้ผลิตรถไฟฟ้าของจีน ก็ลงมาเล่นในตลาดนี้ด้วยเช่นกัน เช่น บริษัท Yidu ตั้งบริษัท car sharing ชื่อว่า EVCARD
3. เมื่อผู้เล่นเข้ามาง่าย เกิดการแข่งขันสูง เพราะตัวธุรกิจไม่ค่อยจะสามารถสร้างความแตกต่างได้จากเจ้าอื่นเท่าไหร่ มันก็เกิด loyalty ยาก
4. การเพิ่มจำนวนรถของผู้ให้บริการ Car sharing ที่มากขึ้น ในที่สุดก็เพิ่มปัญหารถติดซึ่งไม่ตอบโจทย์การแก้ปัญหาขนส่งมวลชนที่จีนต้องการในขณะนี้
5. ปัญหากับหน่วยงานท้องถิ่นจากการที่ผู้เช่านำรถไปจอดผิดที่หรือไม่มีที่จอด
6. ต้นทุนการจัดการเรื่องรถยนต์ เสียต้องซ่อม โดนขโมยต้องหาทดแทน ค่าเช่าพื้นที่จอดรถ แรกๆค่าใช้จ่ายพวกนี้จะไม่โผล่ ซึ่งเป็นจุดตายของผู้ประกอบการหน้าใหม่เลยเพราะนานๆไปมันจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนเขาดูแลค่าใช้จ่ายแฝงพวกนี้ไม่ไหว ถ้าลองเปรียบเทียบกับ car sharing model เช่น Uber, Lyft ที่ไม่มีสินทรัพย์ไม่ต้องรับภาระอะไรจากการดูแลสินทรัพย์เลย
7. การขยายตัวแรงของธุรกิจจนขาดสภาพคล่อง เพราะไม่ได้เพิ่มเค้กก้อนใหม่แต่แย่งก้อนเค้กกันเอง ตัวอย่างเช่น สตารท์อัพ TOGO และ OFO ที่มีเรื่องราวฟ้องร้องกันอยู่กับลูกค้าว่าไม่คืนค่ามัดจำรถ
การใช้คำว่า sharing - การใช้ร่วมกัน มาแทน rental - การเช่า น่าจะเป็นไปเพื่อการเรียกแขกจากการเกาะกระแส sharing economy มากกว่า ซึ่งปัญหาของสตาร์ทอัพ Car sharing ในเมืองจีนหลังจากนี้คงจะมีดราม่าอีกเยอะตามมา รวมถึงขยะรถเหล่านี้จะถูกกำจัดที่ไหน?
แอดนิวส์คอนเนครายงาน
27 มีนาคม2561
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/