***ตอนท้ายบทความ โปรดใช้วิจารณญานนะครับ***"Quantitative Easing" QE การผ่อนคลายเชิงปริมาณ เป็นมาตรการฉุกเฉิน ..ที่ Federal Reserve ทำการ "ผ่อนคลาย" ปริมาณเงินที่หดตัวจากวิกฤติเครดิตเมื่อปี 2008-09
โดยการปั๊มพ์เงินดอลล่าร์นับล้านล้านซื้อพันธบัตรรัฐบาลจากธนาคารเพื่อให้เงินเข้าระบบของแบ้งค์ ...แล้วเมื่อหลังจากวิกฤติผ่านไปแล้ว Fed ก็จะต้องดูดเงินเหล่านี้กลับ โดยมาตรการที่เรียกว่า "Quantitative Tightening" QT ..พร้อมกับขึ้นอัตราดอกเบี้ยและดูดเงินกลับโดยการขายคืนพันธบัตรที่ซื้อไว้เข้าตลาด
Fed ทำการ QT มาตลอดถึง 2018 จนตลาดหุ้นเริ่มมีอาการดิ่งลงเมื่อฤดูใบไม้ร่วง ..เดือนธันวาคม Jerome Powell ประธาน Fed บอกว่า QT เดินหน้าด้วย "autopilot" หมายความว่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยพร้อมกับขายหลักทรัพย์ที่ถือไว้ออกไปเพื่อดูดเงินกลับเดือนละ $50,000 ล้านจนกว่าจะถึงเป้า ..แต่ตลาดก็จะตายให้ได้ ออกมาโวยวายกัน โดยที่ Nasdaq Composite ร่วงลงไปถึง 22% จากเมื่อช่วงซัมเมอร์
ร้ายกว่านั้น การชักดาบเริ่มมีมากขึ้นในกลุ่มหนี้ consumer ..ธันวาคม 2018 เป็นครั้งแรกในรอบสองปีที่ลูกหนี้ทุกประเภทเริ่มมีอัตราการชักดาบมากขึ้นเดือนต่อเดือน ...หนี้บริโภคที่รวมถึงรถยนตร์ ..หนี้ กยศ. ..บัตรเครดิต ถูกจับมามัดรวมเป็น bundle ขายออกเป็นหลักทรัพย์ คล้ายๆกับเมื่อปี 2008 เมือครั้งที่เอาหนี้เน่าจำนองบ้าน subprime มามัดรวมเป็นหลักทรัพย์ขาย จนทำให้ตลาดเจ๊งมาแล้วในปีนั้น หลังจาก Fed ขึ้นอัตราดอกเบี้ย ..เหมือนกับยังไม่เข็ด
ประธาน Powell ออก memo ในเดือนมกราคม ..เขากลับลำเปลี่ยนทิศกระทันหัน ประกาศว่า QT จะหยุดก็ได้ถ้าต้องการ ...และเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา Mary Daly ประธาน Fed สาขาซานฟรานซิสโกบอกว่า พวกเขากำลังคิดก้าวข้ามไปอีกขั้น ..."บางคนอาจคิดว่าเราจัดการเรื่องอัตราดอกเบี้ยเป็นเรื่องหลักและงบดุลเป็นเรื่องรอง"
QE และ QT จะไม่ใช่มาตรการฉุกเฉินอีกต่อไป แต่จะใช้เป็นเครื่องมือ routine ในการจัดการเรื่องปริมาณเงิน
จากบทความ “Quantitative Easing on Demand" ในเวบ Seeking Alpha เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ..Mark Grant เขียนว่า
"ถ้า Fed ตัดสินใจใช้แนวทางนี้จริง นี่จะเป็นการเปลี่ยนวิธีการจัดการระบบการเงินในสหรัฐไปเลย ผมคิดว่าคงมีสถาบันการเงินน้อยมากที่จะเห็นดีไปด้วย นี่มันจะเกี่ยวกับทุกๆตลาดเลย...ทั้งหมดเลย"
The Problem of Debt Deflation
Fed รู้ดีแล้วว่า ไม่สามารถที่จะทำให้ Balance Sheet ของตนกลับมาเป็น "ปกติ" ได้อีกแล้ว มันยังคงต้องปั๊มพ์เงินเข้าระบบแบ้งกิ้งต่อไปเพื่อหลีกเลี่ยงเศรษฐกิจถดถอย แน่นอนว่ามันทำให้ผู้ที่เฝ้าดูวิตกว่าจะเกิดเงินเฟ้อรุนแรงได้
QE ไม่จำเป็นต้องทำให้เกิดเงินเฟ้อเสมอไปถ้าใช้เฉพาะจุด เงินที่เพิ่มขึ้นมาเพียงแค่ฉีดเข้าไปในธนาคารลูกหนี้แทนที่จะเป็นเจ้าหนี้ ..แต่ที่จริงการฉีดเงินตรงเข้าระบบเศรษฐกิจโดยรวมก็เป็นการหลีกเลี่ยงวงจร Boom & Bust ที่อยู่มานานถึงสองศตวรรษมาแล้ว ..Mark Grant จบบทความของเขาโดยอ้างถึงคำพูดของ Abraham Lincoln :
"รัฐบาลควรเป็นผู้จัดสร้าง ..ตรา และหมุนเวียนเงินและเครดิตเพื่ออำนาจการใช้จ่ายของรัฐบาลเอง และอำนาจซื้อของผู้บริโภคทั่วๆไป ..ถ้าทำตามหลักการแบบนี้ ประชาชนผู้เสียภาษีทั่วไปจะประหยัดเงินค่าดอกเบี้ยจำนวนมาก ..money จะไม่เป็นเจ้านายอีกต่อไปแต่จะเป็นผู้รับใช้ของมนุษยชาติ"
คำอ้างนี้ยังเป็นที่สงสัยอยู่ว่าจริงหรือเปล่า..แต่หลักการมันก็ใช่เลย นั่นคือ เงินที่เพิ่มใหม่เข้ามาควรจะหลีกเลี่ยงการก่อภาระหนี้ที่ไปท่วมระบบ แต่ควรจะเข้าไปตรงจุดที่ต้องการมากกว่า ..และควรจะต้องหลีกเลี่ยงในสิ่งหนึ่งที่นักเศรษฐศาสตร์กลัวกันมากกว่าเงินเฟ้อ คือ ..เงินฝืด Debt Deflation ที่ทำให้ระบบพังมาแล้วช่วงปี 1930s
ทุกวันนี้เงินส่วนใหญ่ที่เพิ่มขึ้นมา จัดเพิ่มกันเองโดยพวกธนาคารตอนที่ปล่อยกู้ เมื่อลูกหนี้ที่กู้มากเกินไปเริ่มจ่ายคืนโดยไม่มีการกู้เพิ่ม ปริมาณเงินในระบบก็จะเกิดอาการหดตัวหรือ deflate ..ดีมานด์ก็จะหดตัวไปด้วย ..ธุรกิจทั่วไปหาลูกค้าได้ยากขึ้น ..มันเกิดเป็นวังวนแบบที่เห็นใน Great Depression เมื่อช่วงปี '30s
Steve Keen นักเศรษฐศาสตร์ออสเตรเลียให้ข้อสังเกตุว่า ทุกวันนี้หนี้ส่วนบุคคลมันสูงมากเกินไป นั่นเป็นเหตุผลที่การกู้ยืมลดลง ...ทฤษฎีทางเศรษฐกิจทั่วๆไปเชื่อว่าธนาคารเป็นเพียงตัวกลางการหมุนเวียนของเงินมากกว่าที่จะไปสร้างพลังการใช้จ่ายทั่วไป ...แต่ Prof. Steve Keen บอกว่าไม่จริง เขาอ้างถึงรายงานของ Bank of England ปี 2014:
"แบ้งค์ไม่ได้เป็นเพียงตัวกลาง ปล่อยกู้จากเงินฝากของลูกค้า หรือไม่ได้แค่เพิ่ม "ทวีคูณ" เงินฝากนั้นให้มากขึ้นเพื่อเพิ่มสินเชื่อเท่านั้น...
"ในเศรษฐกิจยุคโมเดิร์น เงินส่วนใหญ่จะอยู่ในบัญชีธนาคาร เมื่อใดก็ตามที่มีการปล่อยกู้ จะมีการสร้างบัญชีเงินฝากคู่กันกับบัญชีของลูกหนี้รายนั้น เท่ากับสร้างเงินใหม่ขึ้นมาอีกในรูปเงินฝาก"
เงินกู้ก็ไปสร้างเงินฝากขึ้น เงินฝากก็ทำให้ปริมาณ money supply เพิ่มขึ้น ....ทุกวันนี้เงินที่สร้างขึ้นใหม่จากธนาคารถือเป็นหนี้สินในงบดุล แต่ลูกหนี้เป็นทรัพย์สินในงบดุลที่มีมากกว่าเพราะมีดอกเบี้ย ...หนี้จึงเพิ่มเร็วกว่าปริมาณ money supply ...แล้วเมื่อลูกหนี้ไม่ต้องการหนี้เพิ่มเพื่อมาชำระหนี้เดิมอีกแล้ว แก็ปก็ถ่างกว้างเพิ่มขึ้นอีก ...ผลก็คือ เกิดเงินฝืด debt deflation ...ลูกหนี้ไม่ต้องการหนี้เพิ่มอีก เงินใหม่จึงไม่มีออกมาสู่ตลาด ..ทำให้ไม่มีเงินใหม่มาเติมแก็ประหว่างหนี้กับเงินที่จะชำระหนี้อีก
อย่างไรก็ตาม เงินที่มีการเพิ่มตลอดช่วงการทำ QE จนถึงบัดนี้ไม่เคยไหลเข้าไปในส่วนของผู้บริโภคโดยตรงเพื่อไปเติมแก็ปนั้นได้ ตรงข้าม..มันตรงไปเข้าที่แบ้งค์เลย แล้วก็ไหลตรงไปที่ตลาดการเงินในส่วนของการเก็งกำไร ..Nomi Prins เรียกมันว่า "dark money" ..ทุกปี..เงินนับล้านล้านดอลล่าร์ไหลเข้าตลาดหุ้น..พันธบัตร..และอนุพันธ์ทั่วโลกที่ถูกปั่นจากธนาคารกลาง ..เงิน dark money เหล่านี้ไหลไปทั่วโลก แต่เพื่อผลประโยชน์ของคนกลุ่มเดียว
QE เข้ามาเพื่อช่วยปลดหนี้ออกจากธนาคารต่างๆ และดันให้ราคาหุ้นในตลาดพุ่งสูงลิ่ว ...แต่ไม่ได้ช่วยปลดหนี้ออกจากผู้บริโภคทั่วๆไป ธุรกิจเอกชนและรัฐบาลเลย ..และหนี้พวกนี้นั่นแหละที่จะเป็นชนวนให้เกิด debt deflation ที่ว่ามานั้น และมันจะทำให้ทั้งระบบเศรษฐกิจนี้พังลงได้เลย ..Steve Keen แนะนำว่าทางเดียวที่จะลดหนี้ส่วนนี้โดยไม่ให้มันมาเป็นสาเหตุของ Depression ได้ก็คือ Debt Jubilee ยุคโมเดิร์น นั่นคือทำ QE ให้กับประชาชนทั่วๆไป
QE-funded Debt Relief
Prof. Michael Hudson ให้ข้อสังเกตุว่าในยุคโบราณ เมื่อมีการเปลี่ยนผู้ปกครองประเทศใหม่ จะมีการยกหนี้ทั่วประเทศทุกครั้ง เพราะรู้กันดีว่าหนี้รวมดอกเบี้ยมันจะโตเกินกว่าปริมาณเงินจนได้ จึงต้องมีการยกหนี้เพื่อหลีกเลี่ยงเศรษฐกิจล่มจากหนี้ค้างชำระเหล่านี้ ...การเติบโตทางเศรษฐกิจไม่มีทางไล่ทันการเติบโตของหนี้ที่คำนวนด้วยอัตราดอกเบี้ยทบต้นได้เลย
ลูกหนี้ทั่วไป จำต้องได้รับการปลดหนี้ด้วยวิธีนี้ แต่ทำไม่ได้เพราะนี่ไม่ใช่หนี้ที่มีต่อภาครัฐ เป็นหนี้ต่อธนาคารและเอกชนด้วยกัน ...ข้อเสนอแนะของ Keen เป็นการเติมแก็ปด้วย QE ที่ส่งตรงเข้าบัญชีของลูกหนี้เหล่านี้เพื่อใช้ในการชำระหนี้ ผู้ที่ไม่มีหนี้ก็จะได้รับการอัดฉีดนี้ไปด้วย
ถ้าจัดการให้ดี การอัดฉีดแบบนี้จะไม่ทำให้เกิดเงินเฟ้อ ...เงินถูกสร้างมาในลักษณะของเงินกู้และหายไปทันทีที่มีการชำระคืน เงินที่ใช้ชำระหนี้จะหายไปพร้อมกับหนี้...(Money is created as loans and extinguished when they are paid off, so the money used to pay down debt would be extinguished along with the debt.) ...(ตรงนี้ผมแปลทั้งๆที่ไม่เข้าใจครับขอสารภาพ อิอิ ...เพื่อนท่านใดเข้าใจยังไงช่วยเม้นท์ด้วยครับ)
เงินในส่วนที่ฉีดเข้ามาแต่ไม่ต้องใช้ชำระหนี้ จะเป็นตัวช่วยเติมแก็ปภาคการผลิต..เพื่อรักษาดุลของดีมานด์และซัพพลายให้โตไปพร้อมกัน ทำให้ราคาสินค้ามีความเสถียร
การอัดฉีดเงินอย่างเป็นระบบเข้าบัญชีส่วนบุคคลเรียกว่า “universal basic income" หรือ “national dividend” เป็นสิ่งที่พลเมืองทุกคนมีสิทธิ์ได้รับเท่ากัน โดยไม่เกี่ยงฐานะ ..มันจะเป็น safety net ให้กับคนที่อยู่แบบเดือนชนเดือน แต่ผลได้ที่มากกว่านั้นอีกอย่างหนึ่งคือ นโยบายทางเศรษฐกิจที่จะกระตุ้นดีมานด์และการผลิต ทำให้อุตสาหกรรมมันเคลื่อนต่อไปได้
เงินจะเป็นข้ารับใช้ให้กับมนุษยชาติจริงๆ เปลี่ยนจากเครื่องมือกดขี่มาเป็นเครื่องมือสร้างความมั่งคั่ง แต่ก่อนอื่นธนาคารกลางต้องยอมเป็นผู้ให้บริการ ต่อข้อเรียกร้องจากประชาชนเสียก่อน
Ellen Brown is an attorney, founder of the Public Banking Institute, and author of twelve books including Web of Debt and The Public Bank Solution. A 13th book titled Banking on the People: Democratizing Finance in the Digital Age is due out soon. She also co-hosts a radio program on PRN.FM called “It’s Our Money.” Her 300+ blog articlลลShe is a frequent contributor to Global Research.
Cr.Sayan Rujiramora
สนับสนุนข่าวโดย ICMarkets
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/