... “เวเนซุเอล่า” นั้น มีสัมพันธ์ที่ดีกับมหาอำนาจใหม่อย่าง “จีน” และ รัสเซีย โดยทั้งสองประเทศมีการเจริญทางการทูตระหว่างกันตั้งแต่ปี 1974 และจากนั้นในปี 1981 ประธานาธิบดี Luis Herrera Campins ของเวเนซุเอล่า ก็ได้เดินทางไปเยือนจีน
และจากนั้นในปี 1999 ความสัมพันธ์ทั้งสองก็ยิ่งพัฒนาไปมาก โดยเฉพาะในช่วงสมัย ลุงฮูโก้ชาเวช ที่ชนะการเลือกตั้ง โดยมีเรื่องสำคัญคือ “นโยบายตีตัวห่างอเมริกาหันไปคบจีน รัสเซีย” กับ ลุงหูจิ่นเตา เป็นการก้าวกระโดดทางการทูต การทหาร เศรษฐกิจ และการค้าระหว่างกัน จากมูลค่า 500 ล้านดอลล่าร์ในปี 1999 พุ่งเป็น 7.5 พันล้านดอลล่าร์ ในปี 2009 หรือแค่เวลา 10 ปี ที่ทำให้ “จีน” เป็นคู่ค้าที่ใหญ่ที่สุดอันดับสองของ “เวเนซุเอล่า” และข้อมูลล่าสุด 2012 เป็นมูลค่า 20,000 ล้านดอลล่าร์ และในปีนั้น เวเนซุเอล่า ส่งน้ำมันไปขายให้จีนเป็นจำนวน 640,000 บาร์เรลต่อวัน และจาก 200,000 บาร์เรลจากจำนวนนั้น เป็นการเอาน้ำมันจ่ายหนี้สินที่เวเนซุเอล่าเป็นหนี้เงินจีน แต่ว่าในปีล่าสุด 2018 ในไตรมาสแรกจำนวนน้ำมันที่ส่งออกไปจีนลดลงเหลือแค่ 381,300 บาร์เรล
... “ลุงฮูโก้ชาเวช” ที่ข่าวบางสายบอกว่าน่าจะถูกวางยาจากคนสนิทนั้น สนิทกับจีนมากขนาดเคยไปกล่าวปาฐกถาในมหาวิทยาลัยปักกิ่งของจีนมาแล้ว และได้เชื่อมโยงว่าฮีโร่ของเขา Simon Bolivar นั้น มีจิตรวิญญาณเดียวกับ ปู่เหมาเจอตุง และตอนนั้นในทางการทูต เวเนซุเอล่าเป็นผู้สนับสนุนจีนในหลายๆนโยบายและเรื่องราว เช่น เกาหลีเหนือ อิหร่าน รวมทั้งเรื่องที่สำคัญมากและสะเทือนไตของ “อเมริกา” ก็คือ “การสนับสนุนสกุลเงินนานาชาติใหม่” ที่ไม่ใช่ดอลล่าร์
... ขณะที่ “ด้านการทหาร” นั้น เวเนซุเอล่าได้มีการซื้อผลิตภัณท์ทางการทหาร อากาศยาน เรด้าร์ จากจีนมากมาย รวมทั้งเริ่มมีการฝึกซ้อมรบระหว่างกันด้วยในดินแดนเวเนซุเอล่าที่ได้ชื่อว่าเป็น “สวนหลังบ้านของอเมริกา” ( ดูแผนที่ประกอบ )
... ขณะที่ด้านน้ำมัน “เวเนซุเอล่า” ที่มีน้ำมันสำรองมากที่สุดในโลกนอกเขตเอเชียตะวันตก ได้เริ่มส่งออกน้ำมันไปให้ “จีน” มากขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็มีปัจจัยอุปสรรค คือ หนึ่งน้ำมันของเวเนเป็นน้ำมันคุณภาพต่ำ “orimulsion” สองขนาดของเรือส่งน้ำมันขนาดใหญ่เกินไปที่จะขนส่งผ่านคลองปานามา ซึ่งทำให้พวกเขาต้องขนส่งผ่านทางแหลมกู้ดโฮบทางอาฟริกาใต้แทน ที่ไกลกว่า และตอนสมัยชาเวช บุชน้อยนั้น ร้อยละ 60 ของน้ำมันของเวเนซุเอล่าจะส่งไปขายที่ “อเมริกา” และ สามจีน เกรงกลัวอิทธิพลของความขัดแย้งที่เริ่มมากขึ้นระหว่างชาเวชกับบุชน้อย ทำให้ไม่กล้าสั่งน้ำมันจากเวเนซุเอล่ามากนัก
... ในปี 2009 “เวเนซุเอล่า” ได้ประกาศว่าได้มีการลงนามใหม่ร่วมกับ “จีน” ในการขุดเจาะน้ำมันกับ บริษัทน้ำมันของประเทศเวเนซุเอล่า PDVSA ที่เป็นของรัฐบาลร้อยเปอร์เซนท์ เพื่อจะผลิตน้ำมันหนักพิเศษ 450,000 บาร์เรลต่อวัน
... ในปี 2009 “จีนกับเวเนซุเอล่า” ได้ร่วมมือกันในการก่อตั้งบริษัทการเดินรถระบบรางในประเทศเวเนซุเอล่า ที่ร้อยละ 40 ของทั้งหมดจะถูกควบคุมโดยบริษัทจากจีนที่ชื่อว่า China Railways Engineering Corporation (CREC) ที่ในสายตาของเวเนซุเอล่านั้น ต้องการ “สร้างระบบราง” มาเชื่อมโยงระหว่างรายได้จากการขายน้ำมันกับการกระจายรายได้สู่ภาคการเกษตรในพื้นที่ห่างไกลของประเทศ
... ลุงฮูโก้ชาเวช เคยกล่าวในตอนนั้นว่า กำลังจะมีกระแสไหลบากจาก “จีน” มาที่เวเนซุเอล่า ทั้งเรื่องเทคโนโลยีแท่นขุดเจาะน้ำมันในทะเล ทั้งบนนก ทั้งการสร้างระบบขนส่งทางราง ที่พักอาศัยและเรื่องอาหาร
... ขณะที่ “รัสเซีย” นั้น ก็มีความสัมพันธ์กับ “เวเนซุเอล่า” มานานนับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองและสงครามเย็น และในวันที่ 16 เมษายน 1970 ก็มีการรื้อฟื้นสัมพันธ์ไมตรีกันให้ดีขึ้นอีกครั้ง เนื่องจากในตอนนั้นมีแนวคิดเชิงสังคมนิยมที่คล้ายกันและในปี 2005 ช่วงที่ชาเวช มีนโยบาย “ตีตัวออกห่างอเมริกามาคบจีนและรัสเซีย” นั้นก็มี“รัสเซีย” เป็นผู้ขายอาวุธสงครามรายใหญ่ให้กับเวเนซุเอล่า ในปีนั้นขายได้ 4 พันล้านดอลล่าร์ และในปี 2008 เดือนกันยายน นั้น รัสเซียได้ส่งเครื่องบิน Tupolev Tu-160 ที่เป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดหนักที่มีความเร็วเหนือเสียง supersonic และปีกที่สามารถพับได้ สามารถบรรทุกอาวุธนิวเคลียร์ได้ ไปที่เวเนซุเอล่า เพื่อจะบินฝึกที่นั่นด้วย และในเดือนพฤศจิกายน ปีเดียวกันนั้นทั้งสองก็ได้ร่วมซ้อมรบทางทะเลในน่านน้ำแคลิบเบียนหลังบ้านของ “อเมริกา” และปีนั้นฮูโก้ชาเวช ก็บอกว่ามีการนำเอาผู้เชี่ยวชาญด้านนิวเคลียร์จากรัสเซียเข้ามาประจำการที่ประเทศด้วย อีกด้วย ซึ่งนักวิเคราะห์บอกว่า เป็นการแก้แค้นเอาคืนของรัสเซีย ที่ถูกอเมริกายุแยงและสนับสนุน “สงคราม Ossestia ใต้” กับประเทศจอร์เจียทางใต้ของรัสเซียใกล้กับทะเลดำหลังบ้านของรัสเซีย ในเดือนสิงหาคมปี 2008 ด้วย
... ในปี 2009 “รัสเซีย” อนุมัติเงินกู้ให้กับ “เวเนซุเอล่า” 2 พันล้านดอลล่าร์ จากนั้น ในปี 2010 นั้น มีการตกลงร่วมกันที่จะสร้างห้องพักแบบอพาร์ทเม้นท์จำนวน 10,000 ห้องใน “เวเนซุเอล่า” โดยความช่วยเหลือทางการเงินจาก “รัสเซีย” ต่อแผนกการเคหะเวเนซุเอล่า และเดือนตุลาคม ปีเดียวกันนั้น ลุงชาเวชก็บินไปรัสเซียเพื่อลงนามการสร้างโรงพลังงานนิวเคลียร์แห่งแรกรวมทั้งไปซื้อทรัพย์สินทางการเจาะขุดน้ำมันอีก1.6 พันล้านบาทจากรัสเซีย
... โดยลุงฮูโก้ชาเวช ผู้ล่วงลับเคยบอกว่า “โลกการเมืองแบบหลายขั้ว นั้นกำลังพังทลายการเมืองโลกแบบเก่าในทุกด้าน และการเป็นพันธมิตรกับรัสเซียนั้นเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการสร้างโลกที่มีหลายขั้วขึ้น"
... ในทางเศรษฐกิจการเงินนั้น ทั้ง “เวเนซุเอล่าและรัสเซีย” ได้เคยเจรจากันเรื่องจะร่วมมือกันในหลายรูปแบบ เช่น สร้างระบบธนาคารเพื่อการลงทุนระหว่างกัน รวมทั้งจะเปิดสายการบินตรงจากกรุงคารากัสไปที่มอสโคว์ด้วย นอกจากนั้นยังจะมีการสร้างแท่นเจาะน้ำมัน โรงงานผลิตอลูมีเนียม โรงงานผลิตรถยนต์ และเวเนซุเอล่า จะซื้อเครื่องบินกับเรือจากรัสเซีย การพัฒนาและส่งดาวเทียมสู่อวกาศ โรงงานพัฒนาการใช้พลังงานนิวเคลียร์ และร่วมกันทำเหมือง “ทองคำ” ขนาดใหญ่ร่วมกัน ที่หนึ่งในนั้นจะเป็น Las Cristinas และ Brisas เหมืองทองคำที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในลาตินอเมริกาด้วย ( รัสเซีย เป็นผู้บริโภคทองคำรายใหญ่ของโลก มาแทนเงินและพันธบัตรดอลล่าร์จากอเมริกา ที่กำลังโดนเทแบบไร้ค่า )
... ดังนั้น ในปี 2019 เดือนมกราคม เมื่อ 23 มกราคม ที่ผ่านมานั้น การที่ “อเมริกา” ประกาศหนุน Juan Gerardo Guaidó Márquez ผู้นำฝ่ายค้านของเวเนซุเอล่าแบบผิดกฎหมายระหว่างประเทศตามหลัก เลือกตั้งธิปไตย นั้น ส่วนหนึ่งก็คือ ความต้องการล้างไพ่่อิทธิพลการค้าเศรษฐกิจ การทหาร และผลประโยชน์ของ “จีนและรัสเซีย” ใน”เวเนซุเอล่า” แบบไร้กติกา ไร้กฎหมาย แบบมาเฟียโลก นั่นเอง
.
.
... Sino-Venezuelan trade was less than $500m per year before 1999, and reached $7.5bn in 2009, making China Venezuela's second-largest trade partner,[2] and Venezuela is China's biggest investment destination in Latin America. Various bilateral deals have seen China invest billions in Venezuela, and Venezuela increase exports of oil and other resources to China. In 2016, Sino-Venezuelan trade amounted to $7.42 billion dollars, with $4.9 billion dollars coming from Venezuelan exports and $2.52 billion coming from Chinese exports[3].
... From the outset of his presidency, Hugo Chávez sought to distance himself from the United States and court other allies that could help him find alternative sources of trade, diplomatic and military relations.
... Venezuela became a supporter of China on issues relating to Iran and North Korea and they also publicly supported the creation of an international currency,
... In 2009, China entered into a partnership with Venezuela to launch a railway company in Venezuela which will be 40% controlled by the China Railways Engineering Corporation (CREC
... In September 2009 Venezuela announced a new $16bn deal with China to drill for oil in a joint venture with PDVSA to produce 450,000 barrels per day (72,000 m3/d) of extra heavy crude.
... Under President Hugo Chávez, Venezuela has enjoyed warm relations with Russia. Much of this is through the sale of military equipment; since 2005, Venezuela has purchased more than $4 billion worth of arms from Russia.[1] In September 2008, Russia sent Tupolev Tu-160 bombers to Venezuela to carry out training flights.[2] In November 2008, both countries held a joint naval exercise in the Caribbean.[3] Following Chavez's two visits to Moscow in July and September 2008, Russian Deputy Prime Minister Igor Sechin arrived in Venezuela to pave the way for a third meeting within five months between their two presidents.
Cr.Jeerachart Jongsomchai
สนับสนุนข่าวโดย ICMarkets
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/