เอเชียใช้จ่าย'บูม' กันชนสงครามการค้า

การใช้จ่ายภายในประเทศทั่วเอเชียที่สูงขึ้น ทำให้หลายประเทศในภูมิภาคพึ่งพาการค้าและการลงทุน โดยตรงจากต่างประเทศ (เอฟดีไอ) น้อยลง และ "ฉนวนป้องกัน" แรงกระทบจากภายนอก เช่น ความตึงเครียดทางการค้า ในขณะนี้ระหว่างสหรัฐกับจีน

ข้อมูลจากการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (อังค์ถัด) ระบุว่า แม้การนำเข้าสินค้าไปยังเอเชียและการส่งออก จากประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้ เพิ่มขึ้น 14.2% และ 11.2% ตามลำดับ แต่ในช่วง 5 ปีจนถึงปี 2560 ตัวเลขเหล่านี้กลับลดลง ตามสภาพเศรษฐกิจในวงกว้าง ผลจาก การเติบโตที่สูงกว่าทุกภูมิภาคทั่วโลกอย่าง ต่อเนื่องของเอเชีย ซึ่งแตะที่ 5.6% เมื่อปีที่แล้ว

เฟอร์นันโด คันตู นักสถิติอาวุโสของ อังค์ถัด กล่าวว่า ดัชนีการเปิดกว้างด้านการค้า ซึ่งวัดจากยอดรวมของการส่งออก และการนำเข้า คิดเป็นร้อยละต่อผลิตภัณฑ์ มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ในภูมิภาคเอเชียและโอเชียเนียที่กำลังพัฒนา ลดลงมาอยู่ที่ 25% เมื่อปีก่อน จาก 35% ในปี 2548 "แนวโน้มนี้สามารถอธิบายได้จากข้อเท็จจริงที่ว่าการค้าขายสินค้าใน ต่างประเทศ เติบโตในอัตราชะลอตัวกว่าจีดีพี แม้จะยังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ก็ตาม" คันตูระบุ และเสริมว่า ภูมิภาคนี้เริ่มหันมาลดการพึ่งพาปัจจัยภายนอกในการขับเคลื่อนการเติบโตภายในประเทศ

ธนาคารโลก คาดการณ์ว่า การบริโภคของเอกชนจะยังคงสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจต่อไป

"ครึ่งหนึ่งของการเติบโตของจีนจนถึงปี 2563 จะมาจากการบริโภคของเอกชน" รายงานเมื่อเดือนต.ค. ของธนาคารโลกระบุ และว่า "ในอินโดนีเซีย การใช้จ่ายที่สูงขึ้นซึ่งเกี่ยวโยงกับ การเลือกตั้งทั่วไปของอินโดนีเซียในปีหน้าและสินเชื่อที่ฟื้นตัวขึ้น จะช่วยกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และผู้บริโภคมาเลเซียจะได้ประโยชน์จากการเปลี่ยนมาใช้ระบบภาษีผู้บริโภคและกลไกการตั้งราคาเชื้อเพลิง"

"การเติบโตของจีนกำลังชะลอตัวในเชิงโครงสร้าง และสังคมจีนเริ่มมีความเจริญมากขึ้น จึงน่าจะบ่งบอกได้ว่า ผู้บริโภคจีนจะลดการใช้จ่ายซื้อสินค้าลง และหันไปเพิ่มการใช้จ่ายเพื่อท่องเที่ยว การดูแลสุขภาพ และบริการอื่นๆ ที่ไม่สามารถนำเข้าและ ส่งออกได้" ซันเจย์ มาธูร์ นักวิเคราะห์ของบริษัทวิจัย เอเอ็นแซด รีเสิร์ช กล่าว แม้การใช้จ่ายภายในประเทศเพิ่มขึ้นสะท้อนถึงรายได้ที่สูงขึ้นและกำลังซื้อที่ มากขึ้นทั่วเอเชีย แต่รัฐบาลหลายประเทศกำลังพยายามประคับประคองเศรษฐกิจให้ลดการพึ่งพาตัวกระตุ้นจากภายนอกซึ่งอยู่เหนือการควบคุมของตน

อย่างไรก็ตาม การปรับเปลี่ยนนี้ย่อมมาพร้อมกับ "ราคาที่ต้องจ่าย"

"แม้สิ่งนี้เป็นกลยุทธ์การเติบโตที่มีความสมดุลขึ้นและทำให้ประเทศต่างๆ มีภูมิคุ้มกันมากขึ้นสำหรับการเปลี่ยนแปลงของความต้องการจากต่างประเทศ หรือความผันผวนของราคาส่งออก แต่การเปลี่ยนแปลงนี้ก็นำมาซึ่งความท้าทายหลายด้าน" คันตูระบุถึงความจำเป็นในการส่งเสริมบริการที่หนุนการเติบโตภายในประเทศ เช่น ธนาคารและการเงิน

ส่วนใหญ่แล้ว บรรดาเศรษฐกิจเอเชียที่กำลังพัฒนา มักมีประชากรหลายสิบล้านคน ที่ไร้สมุดบัญชีธนาคาร ขณะที่ตลาดหุ้น ในภูมิภาคยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นเมื่อ เทียบกับตลาดหุ้นในบรรดาเศรษฐกิจพัฒนาแล้ว

ประเทศที่มีประชากรจำนวนมากมีแนวโน้มที่จะพึ่งพาการค้าลดลง ข้อมูลของธนาคารโลกในปี 2560 ระบุว่า จีนมีสัดส่วนการค้าสินค้าและบริการต่อจีดีพีรวมอยู่ที่เกือบ 38% ขณะที่อินเดียและอินโดนีเซียมีสัดส่วนที่ 41% และ 40% ตามลำดับ

องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (โออีซีดี) ระบุว่า ในฟิลิปปินส์และเวียดนามซึ่งต่างมีประชากรประเทศละราว 100 ล้านคน มีสัดส่วนการค้าต่อจีดีพีสูงกว่า 3 ยักษ์ใหญ่ ของภูมิภาค โดยการบริโภคภายในประเทศคิดเป็นสัดส่วนมากถึง 70% ของเศรษฐกิจทั้ง 2 ประเทศ

อย่างไรก็ตาม ปัจจัยภายนอกอย่างการค้า และการลงทุนยังคงมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจที่กำลังเติบโตของภูมิภาค และหลายประเทศมีความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้ม ในระยะยาวสำหรับการค้าข้ามแดน เนื่องจากสหรัฐและจีนยังคงอยู่ในช่วงพักสงครามการค้าชั่วคราว และยังไม่มีความชัดเจนว่าความขัดแย้งนี้จะยุติเมื่อใด

Source: กรุงเทพธุรกิจ

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students

สนับสนุนข่าวโดย ICMarkets
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"