และมาตรการ reinvest ในการประชุมเดือนกันยายน ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ปริมาณการเข้าซื้อพันธบัตร และมาตรการ reinvest ในการประชุมเดือนกันยายน โดยมีรายละเอียดดังนี้
- คงอัตราดอกเบี้ย 1) Main Refinancing Operations ที่ร้อยละ 0.00 2) อัตราดอกเบี้ย Marginal Lending Facility Rate ที่ร้อยละ 0.25 และ 3) Deposit Facility Rate ที่ติดลบร้อยละ -0.40 โดย คณะกรรมการฯ คาดว่าอัตราดอกเบี้ยจะอยู่ ณ ระดับปัจจุบันต่อไปอย่างน้อยจนกว่าจะผ่านพ้นช่วงฤดูร้อนของปี 2019 หรืออาจยาวนานกว่านั้นหากมีความจำเป็น เพื่อให้มั่นใจว่าอัตราเงินเฟ้อมีพัฒนาการสู่ระดับต่ำกว่าหรือใกล้เคียงระดับเป้าหมายที่ร้อยละ 2 ในระยะปานกลางอย่างยั่งยืน
- คงปริมาณการเข้าซื้อพันธบัตรตามมาตรการ Asset Purchase Programs (APP) ที่ 30 พันล้านยูโรต่อเดือน จนถึงสิ้นเดือนกันยายนปี 2018 หลังจากนั้นจะลดปริมาณการเข้าซื้อพันธบัตรลงเหลือ 15 พันล้านยูโรต่อเดือน ไปจนถึงสิ้นเดือนธันวาคมปี 2018 และซึ่งคาดว่าจะเป็นจุดสิ้นสุดของมาตรการ ดังกล่าวหากข้อมูลต่างๆ สอดคล้องกับมุมมองอัตราเงินเฟ้อในระยะกลาง
- คงมาตรการ reinvest พันธบัตรตามมาตรการ APP ที่ครบกำหนดหลังจากมาตรการ APP สิ้นสุดลง และจะดำเนินการต่อไปตราบเท่าที่จำเป็นเพื่อรักษา “favorable liquidity conditions” และทำให้นโยบายการเงินมีความผ่อนคลายเพียงพอ
คณะกรรมการมีความเห็นต่อพัฒนาการทางเศรษฐกิจของยูโรโซนดังนี้
ด้านเศรษฐกิจ
- ตัวเลขเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมารวมถึงตัวเลขประมาณการใหม่ในเดือนกันยายน สะท้อนว่าเศรษฐกิจยุโรปมีการขยายตัวในทุกพื้นที่ โดยในไตรมาสสองของปี 2018 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่แท้จริง (Real GDP) ขยายตัวร้อยละ 0.4 QoQ เท่ากับไตรมาสก่อน แม้ว่าการขยายตัวจะปรับลดลงจาก ณ ระดับที่สูงมากในปี 2017 แต่ดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจและผลสำรวจโดยรวมยังคงยืนยันถึงการขยายตัวโดยรวมของเศรษฐกิจยูโรโซน โดยนโยบายการเงินของ ECB ยังคงสนับสนุนอุปสงค์ภายในประเทศ อีกทั้งการบริโภคภาคครัวเรือนยังได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการปรับเพิ่มขึ้นของค่าจ้างแรงงานและการจ้างงานที่ปรับดีขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการปฏิรูปตลาดแรงงานในอดีต ด้านการลงทุนได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาวะทางการเงินที่เอื้ออำนวย ผลประกอบการที่ดี และอุปสงค์ที่แข็งแกร่ง การลงทุนในภาคที่อยู่อาศัยยังอยู่ในเกณฑ์ดี นอกจากนี้ ECB คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกจะยังคงขยายตัวและช่วยสนับสนุนการส่งออกของกลุ่มประเทศยุโรปต่อไป
- การประเมินเศรษฐกิจโดยรวมสอดคล้องกับการประมาณการของ ECB staff macroeconomic projections เดือนกันยายนปี 2018 ที่คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 2.0, 1.8 และ 1.7 ในปี 2018, 2019 และ 2020 ตามลำดับ ทั้งนี้ การคาดการณ์สำหรับปี 2018 และ 2019 ปรับลดลงจากตัวเลขประมาณการในรายงานเดือนมิถุนายน เนื่องจากอุปสงค์ภายนอกประเทศที่อ่อนแอลงเป็นหลัก
ด้านความเสี่ยง
- การขยายตัวทางเศรษฐกิจยังคงเป็นแบบสมดุล โดยความไม่แน่นอนจากความเสี่ยงเกี่ยวกับมาตรการกีดกันทางการค้าที่ปรับสูงขึ้น ความเปราะบางของตลาดเศรษฐกิจเกิดใหม่ (Emerging Market) และความผันผวนในตลาดเงิน ยังคงเป็นประเด็นที่ต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด
ด้านอัตราเงินเฟ้อ
- อัตราเงินเฟ้อในเดือนสิงหาคม 2018 อยู่ที่ร้อยละ 2.0 ลดลงจากร้อยละ 2.1 ในเดือนกรกฎาคม ตามราคา futures ของตลาดน้ำมัน โดย ECB คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะยังคงอยู่ในระดับปัจจุบันไปจนถึงสิ้นปี และแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะยังคงอยู่ในระดับต่ำแต่ปรับสูงขึ้นจากระดับที่ต่ำมากก่อนหน้านี้ ด้านแรงกดดันอัตราเงินเฟ้อภายในประเทศมีความแข็งแกร่งและขยายตัวขึ้นจากการใช้กำลังการผลิตในระดับสูงและตลาดแรงงานที่ตึงตัว ซึ่งช่วยผลักดันให้ค่าจ้างแรงงานปรับสูงขึ้น อีกทั้งความไม่แน่นอนต่อมุมมองด้านอัตราเงินเฟ้อเริ่มลดลง โดย MPC คาดว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะปรับสูงขึ้นในช่วงปลายปี 2018 และจะปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องต่อไปในระยะปานกลาง ผ่านการสนับสนุนจากโยบายการเงิน การขยายตัวทางเศรษฐกิจ และค่าจ้างแรงงานที่ปรับสูงขึ้น
- การประเมินอัตราเงินเฟ้อโดยรวมสอดคล้องกับการประมาณการของ ECB staff macroeconomic projections เดือนกันยายน 2018 ที่คาดว่าอัตราเงินเฟ้อรายปี (HICP inflation) จะขยายตัวร้อยละ 1.7 ในปี 2018, 2019 และ 2020 ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงจากตัวเลขประมาณการในรายงานเดือนมิถุนายน
- การกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านนโยบายการเงินยังคงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อช่วยสนับสนุนแรงกดดันด้านเงินเฟ้อภายในประเทศและพัฒนาการของอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในระยะกลาง ซึ่งมาตรการดังกล่าวจะดำเนินการผ่านการเข้าซื้อพันธบัตรไปจนถึงสิ้นปี 2018 การคงระดับสินทรัพย์ที่ถือครองโดย ECB และการคงการ reinvest พันธบัตรที่ครบกำหนด โดยคณะกรรมการพร้อมจะปรับเครื่องมือด้านนโยบายการเงินให้มีความเหมาะสมเพื่อให้มั่นใจว่าอัตราเงินเฟ้อจะปรับเข้าสู่เป้าหมายของคณะกรรมการ
ทั้งนี้ เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากนโยบายการเงินอย่างเต็มที่ นโยบายด้านอื่นๆ จำเป็นต้องมีส่วนร่วมต่อการพัฒนาศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว และปรับลดความเปราะทางเศรษฐกิจลง ซึ่งรวมถึงการปฏิรูปเชิงโครงสร้างในกลุ่มประเทศยุโรป โดยในด้านนโยบายการคลัง MPC เห็นว่าควรมีการ rebuild fiscal buffers โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่มีหนี้ในระดับสูง ซึ่ง Stability and Growth Pact นั้นมีความสำคัญต่อการรักษาฐานะทางการคลังให้เข้มแข็ง อีกทั้ง การใช้กรอบการกำกับดูแลด้านการคลังรวมถึงความโปร่งใสและเสมอภาคในทุกประเทศของสหภาพยุโรปยังคงเป็นสิ่งจำเป็นที่ช่วยก่อให้เกิดความยืดหยุ่นของเศรษฐกิจยูโรโซน ทั้งนี้ MPC ระบุว่าควรมีการปรับปรุงบทบาทของ Economic and Monetary Union และเรียกร้องให้เร่งดำเนินการจัดตั้ง banking union และ capital markets union ให้สำเร็จโดยเร็ว
นาย Mario Draghi ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) กล่าวในช่วง press conference ว่าคณะกรรมการ ECB ยังไม่มีการหารือเรื่องนโยบาย reinvestment ในการประชุมครั้งนี้ แต่คาดว่าจะมีการหารือกันในการประชุมเดือนตุลาคมหรือเดือนธันวาคมนี้
ส่วนมุมมองเศรษฐกิจ นาย Draghi มองว่า เศรษฐกิจกลุ่มประเทศยุโรปยังคงแข็งแกร่งเพียงพอที่จะรับมือกับความเสี่ยงจากภายนอก โดยความเสี่ยงในด้านลบจะบรรเทาลงจากพัฒนาการในตลาดแรงงานและค่าจ้างแรงงานที่ปรับดีขึ้น
ด้านความเห็นต่อวิกฤติในตุรกีและอาร์เจนติน่า นาย Draghi มองว่าจะมีผลกระทบไม่มากนักและไม่ควรมองตลาดเศรษฐกิจเกิดใหม่แบบเหมารวมทั้งหมด เนื่องจากประเทศที่มีความเสี่ยงว่าอาจได้รับผลกระทบ คือ ประเทศที่มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจอ่อนแอ อย่างไรก็ตาม นาย Draghi มองว่าการเพิ่มขึ้นของมาตรการกีดกันทางการค้าคือที่มาที่สำคัญของความไม่แน่นอนต่างๆ
Source: BOTSS
- Highlights: Draghi comments at ECB press conference:
คลิก
- ECB PRESS CONFERENCE:
https://www.ecb.europa.eu/press/pressconf/2018/html/ecb.is180913.en.html
- ECB Press release:
https://www.ecb.europa.eu/press/pr/date/2018/html/ecb.mp180913.en.htm
บทความสนับสนุนโดย FXPro
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman