“วิกฤติเวเนซุเอล่า คือ การโจมตีโดยราคาน้ำมันจากมหาอำนาจ”

วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมและการเมืองได้เกิดขึ้นในเวเนซุเอลาตั้งแต่ปี 2010ภายใต้ตำแหน่งประธานาธิบดีของ Hugo Chávez และตามมาด้วยประธานาธิบดีNicolás Maduro ในปัจจุบัน

... สถานการณ์ปัจจุบันเป็นวิกฤตเศรษฐกิจเลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศเวเนซุเอลา และเป็นหนึ่งในวิกฤตที่เลวร้ายที่สุดที่เกิดขึ้นในทวีปอเมริกา วิกฤติการณ์นี้ นักวิชาการและนักข่าวตะวันตก บอกว่าสาเหตุหลักเป็นผลมาจากนโยบายประชานิยมที่เริ่มขึ้นภายใต้การปกครองของนโยบาย “Bolivarian” ของประธานาธิบดี Chávez 

ที่ตอนนั้นได้ประกาศเป็น "สงครามเศรษฐกิจ" เนื่องจากการขาดแคลน ความยากจนที่เพิ่มขึ้นในเวเนซุเอลา

... วิกฤติรุนแรงขึ้นภายใต้รัฐบาล Maduro ที่สืบทอดอำนาจต่อมา เพิ่มมากขึ้นอันเป็นผลมาจาก “ราคาน้ำมัน” ในช่วงต้นปี 2014 - 2015 รายได้ต่อหัวและจีดีพีลดลงอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2013 – 2017 ที่เป็นวิกฤติที่ว่าหนักว่าที่เกิดกับประเทศอเมริกาในปี 1929 และพบว่าประชาชน 90% อยู่ในสถานะยากจน 75% ของทั้งหมดบอกว่าน้ำหนักลดลง 7.8 กิโลกรัม

... ขณะที่ “เงินเฟ้อ” ของประเทศก็สูงมากจนทำให้ราคาสินค้าบริการแพงจนชาวบ้านไม่สามารถจะซื้อหาได้ บริษัทปิดตัวลงมากมาย สินค้าบริการมีการผลิตน้อยลง การว่างงานสูงและรัฐบาลได้พี่งพิง “รายได้จากการขายน้ำมัน” มากเกินไป

... จริงๆแล้วนักวิเคราะห์ นักข่าวต่างประเทศจากตะวันตกมักจะโยนความผิดว่าผู้นำประเทศปกครองแบบประชานิยม แต่ความจริงแล้วพวกเขาบอกชัดเจนว่าจะปกครองประเทศแบบ “สังคมนิยมประชาธิปไตย” คือมีการเลือกตั้งธิปไตยแบบตะวันตก แต่พวกเขาจะจัด “รัฐสวัสดิการ” ให้กับประชาชนให้ทั่วถึงเท่าเทียมกันมากที่สุดคล้ายแบบสังคมนิยม เขาปรับปรุง ”การศึกษาให้คนจนมีสิทธิและโอกาสที่ได้เรียน” รวมทั้งเปิด “คลินิกรักษาโรคให้กับคนจน” ที่เคยไร้โอกาศถ้าเป็นระบบเดิม รวมทั้งการจัดหา “อาคารที่พักอาศัย” ที่มีเป้าหมายหนึ่งล้านห้อง จัดหาอาหารเพื่อช่วยเหลือคนจนที่เคยถูกทอดทิ้งในระบบเดิม โดยจะเอาเงินจากการขายน้ำมันมากช่วยเหลือ ( คล้ายแนวทางแบบ “กัดดาฟี่ของลิเบีย” ประเทศที่น้ำมันดิบมากที่สุดในอาฟริกา แต่เวเนซุเอล่านั้นมี “น้ำมันสำรองมากที่สุดในโลก” )

... ซึ่งตอนนั้นที่ราคาน้ำมันยังสูงอยู่สหประชาชาติยังเคยบอกว่าคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวเวเนซุเอล่าดีขึ้นมากภายใต้การปกครองของชาเวช

... แต่มันไม่ดีสำหรับนายทุน เศรษฐี ทั้งชาวเวเนและชาวต่างชาติ

... แต่สมัยฮูโก้ชาเวชนั้น เขาได้ยึดบริษัทด้านการพลังงานน้ำมันมาทำเอง "เป็นของรัฐบาลร้อยเปอร์เซนท์" แบบเดียวกับอรามโก้ของซาอุดิอาระเบีย และ ปิโตรนาสของมาเลเซีย ( เพราะไม่ต้องการให้ผลประโยชน์น้ำมันรั่วไหลให้เอกชนหรือออกนอกประเทศ แบบ ปตทรพี. ที่ต่างชาติมากอบโกยผลประโยชน์และตั้งราคาน้ำมันราคาแพงขายบนหลังคนไทย )

... “ฮูโก้ชาเวช” นั้นทำให้พวกตะวันตกไม่พอใจ ช่วงที่เขาปกครองประเทศนั้น เขาได้ยึดเอาที่ดิน ทรัพย์สินหลายอย่างของบริษัทต่างชาติมาเป็นของรัฐและบริหารโดยรัฐบาลเองหมด ในมุมหนึ่งนั้นก็เจตนาดีมาก แต่ก็มีข้อเสียคือมีการเร่งร้อนสร้างโครงการต่างๆที่ต้องการทำเพื่อคนจนนั้นรายจ่ายมากเกินไปมากกว่ารายรับ ตามมาด้วยการทุจริตคอร์รัปชั่น และการไม่มีประสิทธิภาพในการบริหารแบบเอกชน ที่ต่างจากอรามโก้และปิโตรนาส ทำให้การประกอบการและกำไรย่ำแย่ลงเรื่อยๆ

... น้ำมันสำรองที่มากที่สุดในโลกของ “เวเนซุเอล่า” นั้น เป็นเป้าหมายในการครอบครองของตะวันตกมากนาน แบบเดียวกับที่พวกเขาต้องการยึดปล้น “ลิเบีย” ทั้งน้ำมันดิบ น้ำใต้ดิน และทองคำ การเสียชีวิตของผู้นำคนก่อนก็มีการเชื่อมโยงว่าฮูโก้ชาเวชถูกวางยาพิษ เพราะว่าเขาเป็นคนรักษาร่างกายดีมาก ฟิเดลคาสโตรของคิวบาเคยเตือนขาเรื่องคนใกล้ชิดมาแล้ว

... และล่าสุดสมัยของ “ทรัมป์” ก็ได้คว่ำบาตรผู้นำนายมาดูโรและนักการเมืองระดับรัฐมนตรีของเวเนซุเอล่า ถูกห้ามเข้าประเทศอเมริกา รวมทั้งบีบไม่ให้บริษัทน้ำมันจากอเมริกาซื้อน้ำมันจากเวเนซุเอล่า กักยึดทรัพย์สินของพวกเขา เป็นการตอกย้ำเป้าหมายของพวกเขาอีกต่อไป อย่างชัดเจนว่า “ต้องการยึดเอาน้ำมัน” จากประเทศนี้

... หลังจากปี 2014 – 2015 ที่ “อเมริกา และ ซาอุด” เล่นเกมลดราคาน้ำมันนั้น “รัสเซีย” ที่มีเงินทุนสำรองและทองคำมากยังเอาตัวรอดได้ แต่สำหรับเวเนซุเอล่านั้น ทุกอย่างสะดุดจากราคาน้ำมันตกลง ทั้งโครงการสร้างที่พักอาศัยบ้านให้คนจน โรงเรียนคนจน คลินิกคนจน อาหารคนจน ทุกอย่างสะดุด ทำให้ค่าเงินตก และตามมาด้วย “เงินเฟ้อ” บริษัทผลิตสินค้าที่ก็คุณภาพไม่ดีอยู่แล้วปิดตัวลง คนตกงาน ต้องนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ราคาสินค้าบริการแพง ประชาชนเริ่มย้ายหนีไปต่างประเทศ แม้เวเนจะพยายามแก้เกมโดยการอาเงินคริปโต “เปโตร” มาผูกเอาไว้กับน้ำมัน แต่ก็ถูกอเมริกาพยายามจะบีบประเทศต่างๆ ไม่ให้มาซื้อเงินเปโตรของเวเนซุเอล่า ทำให้การเงินยังไม่ถูกแก้ไขให้หมดไป

... และนายนิโคลัส มาดูโร่ ก็เข้ามาเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2013 และแค่ไม่ถึงปี ในปี 2014 - 2015 “อเมริกากับซาอุดิอาระเบีย” ก็จับมือกันเล่นงาน “รัสเซีย กับ เวเนซุเอล่า” โดยการโจมตีค่าเงินรูเบิลของรัสเซียและเงินของเวเนซุเอล่า เพราะว่าตอนนั้น อเมริกาต้องการทำลายรัสเซียเป็นเป้าแรกก่อน โดยอ้างว่ารัสเซียยึดไครเมียของ “ยูเครน” เพื่อทำลายรัสเซีย สกัดการเดินท่อแก๊สรัสเซียไปขายยุโรป ทำลายยุโรปให้ใช้แก๊สแพง สูตรเดียวกันทั้งสองประเทศคือ การทำลายทางเศรษฐกิจโดยโจมตีที่ “ราคาน้ำมัน” ก่อน เมื่อรัสเซียและเวเนซุเอล่า ต่างก็พึ่งการส่งออกน้ำมันเป็นรายได้หลักของจีดีพี ทำให้ค่าเงินตก “เงินเฟ้อ” ต่างชาติเทชาติเงินทั้งของรัสเซียและเวเนซุเอล่า แต่ก็ทำให้ซาอุดิอาระเบียจุกอกเกือบตายเช่นกัน โดยอเมริกาเอาเรื่องผลประโยชน์ที่ซาอุด อาจจะได้ซื้อกิจการของเชลออยในอเมริกาได้ ถ้าพวกนั้นล่มสลายไป ก็ไปช้อนซื้อถูกๆได้

... ประธานาธิบดีมาดูโร่ของเวเนซุเอล่า เคยบอกตอนที่ราคาน้ำมันตกมาอยู่ที่ 48 ดอลล่าร์นั้นว่า “มันเป็นสงครามโดยทางการเงินและเศรษฐกิจ โดยใช้ราคาน้ำมัน จากอเมริกา ในการโจมตีรัสเซียและเวเนซุเอล่า”

... John pilger นักข่าวอาวุโสชาวออสเตรเลีย เคยศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจังและบอกว่า “โครงการสร้างสิ่งต่างๆของเวเนซุเอล่าสมัยชาเวชนั้น เป็นเรื่องของ ระบบสังคมนิยมประชาธิปไตย เพื่อการมีสิทธิที่เท่าเทียมทั่วถึงกันของประชาชน” ( ไม่ใช่ “ประชานิยมแบบไร้ทิศทาง” ที่นักวิชาการตะวันตกพยายามใส่ร้ายเขาตลอดมา )

.

Increasing oil prices in the early 2000s led to levels of funds not seen in Venezuela since the 1980s. Intending to maintain political power through social programs,[25] Chávez established Bolivarian missions, aimed at providing public services to improve economic, cultural, and social conditions.[26][27][28][29] According to Corrales and Penfold, "aid was disbursed to some of the poor, and more gravely, in a way that ended up helping the president and his allies and cronies more than anyone else".[30]The Missions entailed the construction of thousands of free medical clinics for the poor,[26] and the enactment of food[28] and housing subsidies.[27] A 2010 OAS report[31] indicated achievements in addressing illiteracy, healthcare and poverty,[32] and economic and social advances.[33] The quality of life for Venezuelans had also improved according to a UN Index.[34]Teresa A. Meade wrote that Chávez's popularity strongly depended "on the lower classes who have benefited from these health initiatives and similar policies".[35] However, Venezuela began to face economic difficulties due to Chávez's populist policies[10] and on 2 June 2010, he declared an "economic war".[1]


https://www.reuters.com/article/us-venezuela-oil-idUSKBN0K802020141230 

https://en.wikipedia.org/wiki/Crisis_in_Venezuela 

Cr.Jeerachart Jongsomchai

บทความสนับสนุนโดย FXPro
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"