“ตุรกีเรียกทองคำคืนจากอเมริกา ตามอย่างเยอรมัน และ ฮังการี”

“ตุรกี” เดินตามทางที่ “เยอรมนี” และฮังการีซึ่งเป็นประเทศล่าสุดที่เรียกร้องขอนำทองคำกลับบ้ายเกิด รายงานจากสื่อตุรกี Yeni Safak บอกว่าตุรกีได้ “เรียกขอคืนทองคำทั้งหมด” ที่เก็บไว้ในธนาคารกลางอเมริกา จำนวน 220 ตัน

จากอเมริกาเมื่อปีที่แล้ว 2017 ตุรกีเป็นประเทศที่ถือครองทองคำมากเป็นอันดับที่ 11 ของโลกรองจากอินเดียที่มีประมาณ 526 ตันตามข้อมูลที่รวบรวมโดย The Statistics Portal เมื่อเดือนมีนาคมปี 2018 ธนาคารกลางของตุรกีระบุว่าปริมาณสำรองแร่ทองคำมีมูลค่าคิดเป็นเงิน 25.3 พันล้านดอลล่าร์

... นักวิเคราะห์กล่าวกับ Kitco News ว่าการย้ายครั้งนี้น่าจะมี “แรงจูงใจทางการเมือง” มากกว่าทางเศรษฐกิจ ที่ตุรกีกำลังส่งข้อความไปยังอเมริกาโดยประธานาธิบดีตุรกี Recep Tayyip Erdogan ให้ความสำคัญกับสกุลเงินของเขา และการเรียกทองคำคืนจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการซื้อขายสกุลเงินเป็นจำนวนมากของตุรกีในอนาคต"

... แต่ก็มีข่าวจากผู้เชี่ยวชาญเรื่องการค้าและทองคำบอกว่า “ตุรกี” ต้องรีบเรียกร้องเอาทองคำคืนเพราะว่าช่วงนี้ความสัมพันธ์กับอเมริกาแย่ลงเรื่อยๆ และอาจจะโดนคว่ำบาตรทางการเงินการธนาคารรวมทั้งทองคำในอนาคต จึงต้องเรียกคืนแต่เนิ่นๆ

... Sonmez believes that Washington could impose sanctions on the Turkish banking system, most notably, Halkbank.

... “ทองคำตุรกี” ก็เหมือนๆกับหลายประเทศในยุโรป ที่ตอนนาซีฮิตเลอร์ไล่ล่าปล้นทองคำจากธนาคารกลางจองยุโรป ทำให้ทั่วยุโรปรวมทั้งตุรกีย้ายทองคำไปฝากที่อเมริกาแดนไกล ( ฮิตเล่อร์ ได้ความช่วยเหลือจากเมกาแบบลับๆ เพื่อต้องการทำลายอำนาจโลกเก่าอย่างอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน และต้องการสร้างขั้วอำนาจใหม่ของตัวเองขึ้นมาที่เรียกว่า “การจัดระเบียบโลกใหม่” New World Order ... ภาพที่ออกมาเหมือนเมกาหลอกใช้ฮิตเล่อร์ให้ช่วยปล้นทองคำจากยุโรปอยากถูกกฏหมาย )

... โดยตุรกีนั้นเริ่มเรียกทองคำกลับครั้งแรกในปี 2002 แต่ก็ใช้เวลามาก และในปี 2016-2017 ตุรกีก็คาดหวังจะเรียกทองคำกลับบ้านให้ได้ที่ 220 ตัน

... และยิ่งกว่านั้นเออร์โดกันไปไกลยิ่งกว่า เพราะว่าเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา Erdogan เรียกร้องให้เงินกู้ยืมจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) “จ่ายเป็นทองคำ” ไม่ใช่ดอลลาร์ และบอกว่า “"หนี้เหล่านี้ควรจ่ายเป็นทองคำ เพราะเมื่อถึงจุดนี้กะรัตทองจะไม่เหมือนสิ่งอื่นใด โลกกำลังกดดันสกุลเงินบนดอลลาร์อย่างต่อเนื่อง เราจำเป็นต้องป้องกันรัฐและประเทศเราจากความกดดันสกุลเงินนี้"

... “ทองคำทำให้ประเทศจำนวนมากรู้สึกสบายใจในฐานะผู้ถือครองโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพวกเขากลัวเงินเฟ้อ" ผู้นำตุรกีกล่าวต่อ และนอกจากนั้นเขายังกลัวที่ว่าทองคำกระดาษที่ระบุไว้นั้นทองคำจริงจับได้อาจจะน้อยกว่าที่มีอยู่ก็ได้ จึงต้องรีบเอาทองคำจริงตัวเป็นๆ มาเก็บไว้ดีกว่า เพราะเขาไม่ไว้ใจทองคำกระดาษและราคาทองคำก็กลับไปขึ้นอยู่กับทองคำกระดาษไม่ใช่ทองคำจริงที่จับได้

... และนอกจากนั้นการเรียกทองคำกลับนี้อาจจะเป็น “ข้อความ” ที่ตุรกีอาจส่งมาคือ "ความเป็นอิสระมากขึ้นจากอเมริกา" อาจมีการอภิปรายด้านช่องว่างทางการเมืองเป็นจำนวนมากเกิดขึ้นระหว่างตุรกีกับอเมริกา

... กระแสการ “ทวงทองคำคืนจากอเมริกา” กำลังเป็นแนวโน้มที่มากขึ้น ก่อนหน้านี้ฤดูร้อนที่แล้ว “เยอรมัน” ก็ได้ทองคำคืนจากธนาคารกลางของทั้ง “อเมริกาและฝรั่งเศส” ที่เยอรมันมีทองคำที่ฝากไว้กับอเมริกาทั้งหมดที่ 1,500 ตันและกับฝรั่งเศสที่ 378 ตัน , เป็นจำนวนรวมกันที่ 674 ตันเร็วกว่ากำหนดสามปี โดยมีการทวงมาตั้งแต่ปี 2013 เพิ่งจะได้มาปีที่แล้ว 2017 และนอกจากนั้นเยอรมันยังทวงทองคำจากธนาคารอังกฤษด้วยประมาณ 940 ตัน โดยถ้ารวมทองคำของเยอรมันที่ฝากไว้กับประเทศอื่นๆและในประเทศตัวเองนั้นมีมากเป็นอันดับสองรองจากอเมริกาที่จำนวน 3,378 ตัน เพราะว่าเยอรมันมีประสบการณ์ที่เลวร้ายจากเงินเฟ้อมากระดับมโหฬารในช่วงปี 1919 – 1923 ช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ( ที่ฝรั่งเศสเรียกค่าปฏิกรรมสงครามแพงมาก และเงินกระดาษก็ไร้ค่า ฮิตเลอร์จึงต้องปล้นทองคำจากธนาคารกลางของประเทศเพื่อนบ้านเพื่อมาซื้อโลหะทำอาวุธยุทโธปกรณ์ ) โดยช่วงสงครามเย็นเยอรมันแบ่งเป็นตะวันออก ตก ทำให้เกิดกระแสกลัวโซเวียตรัสเซีย ทำให้เยอรมันต้องนำทองคำไปฝากไว้ที่ อเมริกา อังกฤษ และฝรั่งเศส จนเพิ่งจะได้คืนบางส่วน ( ขณะที่ยูเครนช่วงปี 2014 ก็เกิดการสร้างกระแสให้กลัวรัสเซียตอนยึดไครเมีย ทำให้ต้องเอาทองคำไปฝากที่อเมริกาเช่นเดียวกัน )

... ในเดือนมกราคม 2012 เวเนซุเอลาได้ขนทองคำ 160 ตัน (มูลค่าประมาณ 9 พันล้านดอลลาร์) กลับบ้านจากอเมริกา โดยได้รับคำสั่งจากอดีตประธานาธิบดีฮูโก้ ชาเวชตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2011

... ในปี 2009 “อินเดีย” ขนทองคำกลับจากไอเอ็มเอฟ 200 ตัน ที่เป็นการเคลื่อนย้ายทองคำกลับบ้านระดับนานาชาติในปริมาณมากครั้งแรก จนมีประเทศอื่นทำตามมากขึ้นเรื่อยๆ

... ในปี 2011 “เม็กซิโก” เพื่อนบ้านอเมริกาเรียกทองคำกลับ 100 ตัน เพราะบอกว่าต้องค้าขายกับหลายประเทศ เช่น ประเทศบริกส์ จีน รัสเซีย อินเดีย ที่เรียกร้องขอเป็นทองคำแทนเงินสกุลอื่นมากขึ้นเรื่อยๆในการค้าขาย ทำให้เลยต้องเรียกทองคำกลับบ้าน

... ขณะที่ “ออสเตรีย” นั้นบอกว่า ภายในเดือนพฤษภาคมในปี 2020 จำนวน 50 เปอร์เซ็นต์ของทุนสำรองทองคำ โดยจะถูกเรียกกลับจากกรุงลอนดอน 30 เปอร์เซ็นต์และ 20 เปอร์เซ็นต์จากสวิตเซอร์แลนด์ สต็อกที่เหลือส่วนใหญ่ยังอยู่ในอังกฤษ

... รายล่าสุด 15 มีนาคม 2018 ปีนี้เอง "ฮังการี" ได้เรียกร้องทองคำคืนจากอังกฤษแค่ขนมหวานจิ๊บๆ 3 ตันโดยให้เหตุผลว่าเกรงว่าจะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจเลยเอาทองคำมาเก็บไว้ก่อน

... ในปี 2014 ปริมาณสำรองทองคำของชาวดัตช์ 122.5 ตันถูกส่งกลับไปยังอัมสเตอร์ดัมจากนิวยอร์กซึ่งถูกเก็บไว้ในห้องเก็บของ Federal Reserve Bank of New York; ธนาคาร De Nederlandsche (NRC) เนเธอร์แลนด์ยังคงเก็บสำรองทองคำในนิวยอร์ก , ออตตาวาและลอนดอน , ซึ่งธนาคารกลางของเนเธอร์แลนด์กล่าวว่า "รู้สึกว่าในช่วงวิกฤตทางการเงินจะดีกว่าถ้าจะมีทองคำอยู่ใกล้มือ"

... ในทางยุทธศาสตร์การเก็บทองคำประเทศชาวบ้านไว้นั้นประหนึ่ง “การคุมตัวประกัน” ที่สำคัญทำให้ประเทศไอ้จุกไอ้จ้อยเหล่านั้นไม่กล้าหือหรือแหกคอกจากนโยบายของอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส จึงต้องเดินตามก้นต้อยๆ แบบเดียวกับการเอาบุคคลสำคัญในประเทศที่เป็นประเทศราชหรือแพ้สงครามในอดีตมาคุมขังเป็นเชลยศักดิ์ในประเทศผู้ชนะ

... และอีกเหตุผลหนึ่งที่ประวัติศาสตร์บอกก็คือ “การเร่งสะสมทองคำนั้น” เป็นดัชนีชี้วัดการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจหรือสงครามใหญ่ได้ชัดเจนมากรูปแบบหนึ่ง เพราะว่าเมื่อเกิดสงครามขึ้น ทองคำเท่านั้นที่จะซื้อทุกอย่าง ทั้งเสบียงข้าวปลาอาหาร เสื้อผ้า ยารักษาโรคและอาวุธยุทโธปกรณ์ ที่วันนั้นเงินกระดาษจะไร้ความหมาย

https://sputniknews.com/analysis/201804241063869194-turkey-gold-us/ 

https://en.wikipedia.org/wiki/Gold_repatriation 

คลิก

https://www.ft.com/content/4edf00ee-a43c-11e7-8d56-98a09be71849 

https://sputniknews.com/business/201803151062550098-hungary-gold-repatriation/ 

Cr.Jeerachart Jongsomchai

บทความสนับสนุนโดย FXPro.com
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"