เทคโนโลยีดิจิทัลได้รับนิยามจากสำนักงานราชบัณฑิตยสภาว่า คือเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับรูปแบบข้อมูลที่คอมพิวเตอร์สามารถจัดเก็บและจัดการได้ ขอบเขตที่คลุมความกว้างขวางนี้ทำให้ดิจิทัลสอดแทรกเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่สนับสนุนการดำเนินงานและการดำรงชีพในแทบทุกมิติ
บทความนี้อาศัยกรอบแนวคิดจากประเด็นของการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลในภาคการเงินที่มีต่อเศรษฐกิจไทย ของโครงการศึกษาวิจัย เรื่อง "เศรษฐกิจดิจิทัลของภาคการเงิน" ด้วยทุนวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ มาอธิบายบทบาทของดิจิทัลในการเชื่อมโยง โลกเศรษฐกิจและโลกการเงิน
ก่อนอื่นขอตั้งข้อสังเกตว่า เทคโนโลยีดิจิทัลเหมือนเครื่องมืออื่น ๆ ที่ถูกพัฒนา มีต้นทุนที่จะเข้าถึง และต้องอาศัยความ คุ้นเคยและคุ้นชินในการนำมาใช้งาน เมื่อ เวลาผ่านไป เทคโนโลยีก็จะถูกใช้งานอย่างแพร่หลาย ด้วยต้นทุนที่ต่ำลง จน กระทั่งผู้ใช้งานก็สามารถใช้งานได้โดยไม่ จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเชิงลึก
ลักษณะเช่นนี้สอดคล้องกับการใช้งานดิจิทัลในภาคการเงิน ทั้งด้านผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการทางการเงิน ที่มี ยอดการใช้งานเติบโตขึ้นมาก โดยเฉพาะ ธุรกรรมการชำระเงินทางดิจิทัลเป็นช่องทางหลักในปัจจุบัน การศึกษานี้จึงมุ่ง อธิบายผลของการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลใน ภาคการเงินที่มีต่อเศรษฐกิจ โดยตอบคำถาม ดังนี้
1.นัยของการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลในภาคการเงินต่อแรงงานและธุรกิจคืออะไร ?
นอกจากภาคการเงินจะเป็นสาขากิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อการเติบโตของ GDP ของประเทศในทางตรงแล้ว การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลในภาคการเงินยังมีส่วนสนับสนุนรายได้ของประเทศ ผ่านทั้งการยกระดับผลิตภาพรวมของธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็ก และการยกระดับรายได้ของแรงงาน
การศึกษาชิ้นนี้จึงวัดผลของการเปลี่ยน ผ่านสู่ดิจิทัลในภาคการเงินที่มีต่อผลิตภาพ ของธุรกิจขนาดเล็ก ในกลุ่มตัวอย่างภาคบริการ และผลของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ยกระดับรายได้ของแรงงาน ก่อนที่จะประเมินผลกระทบในระดับมหภาคต่อ GDP ของประเทศ เพื่อสะท้อนช่องว่างที่ยังเติมเต็มได้
2.ความรู้สึกของผู้ใช้บริการทางการเงินที่มีต่อการให้บริการทางการเงิน?
แนวทางหนึ่งที่จะเข้าใจภาพรวมของการใช้งานบริการทางการเงินดิจิทัลคือ การประเมินกระแสความรู้สึกของสังคมที่มีต่อการใช้งาน รวมถึงแนวทางการให้บริการ ผ่านช่องทางดิจิทัล ซึ่งสามารถติดตามร่องรอยดิจิทัลได้
การหยั่งกระแสความรู้สึกดังกล่าว ทำให้ การศึกษาชิ้นนี้นำมาใช้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย หลังเข้าใจถึงประเด็นปัญหา อุปสรรค ประโยชน์ และความคาดหวังของผู้ใช้บริการ ตลอดจนความเพียงพอของการให้บริการ ประกอบการคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย ด้วยแบบสำรวจเบื้องต้น แล้วจึงสำรวจเชิง คุณภาพ
3.ปัจจัยที่จะทำให้ดิจิทัลสนับสนุนการเติบโตทางธุรกิจของ SMEs ?
ปัญหาของ SMEs มีลักษณะเฉพาะและ หลากหลาย จึงต้องทำความเข้าใจที่มาของ ปัญหาก่อน จึงจะสามารถคัดกรองกลุ่ม เป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากการใช้ เทคโนโลยีดิจิทัลทางการเงิน เพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจ โดยในการสำรวจ การเข้า ถึงผู้ประกอบการ SMEs ทำให้สร้างองค์ ความรู้ผ่านความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ซึ่งแม้ แต่ละรายมีลักษณะเฉพาะ มีความแตกต่าง ทั้งในส่วนของขนาด ผลประกอบการ พื้นที่ สาขากิจกรรม และพื้นฐานความรู้ความเข้าใจ ต่อทักษะดิจิทัลในภาคการเงิน แต่ก็เปิด โอกาสให้สามารถประมวลปัญหา โอกาส และความคาดหวังที่มีร่วมกัน อันจะนำไปสู่ การออกแบบนโยบายที่ตรงใจ SMEs ได้
4.สถาบันการเงินมีกลยุทธ์ในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลเป็นอย่างไร ?
สถาบันการเงินมีการปรับตัวเพื่อเปลี่ยน ผ่านสู่ดิจิทัล ทั้งในบทบาทเชิงรุกเพื่อนำหน้า ตลาด และเชิงรับเพื่อป้องกันส่วนแบ่งการตลาด จากผู้เล่นรายใหม่ ๆ โดยเฉพาะใน กลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีที่มีจุดแข็งในการให้บริการลูกค้าแตกต่างออกไป กลไกการปรับตัวของภาคการเงินอาจมีรูปแบบมาตรฐาน ตามตัวอย่างกรณีศึกษาในต่างประเทศ แต่มุมมองของกลยุทธ์การปรับตัวใน ประเทศไทย ที่การให้บริการทางการเงินมีความเป็นสถาบันอยู่คู่กับเศรษฐกิจไทยอย่างยาวนาน จะมีความสำคัญในการต่อยอดเพื่อให้การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลในภาคการเงินสามารถตอบโจทย์การเติบโตของเศรษฐกิจในภาพรวมได้เช่นกัน
5.แนวมาตรการและนโยบายที่จะส่งเสริมให้การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลในภาคการเงินสนับสนุนการเติบโตเศรษฐกิจควรเป็นอย่างไร ?
การศึกษาจะสังเคราะห์แนวมาตรการและนโยบาย โดยถอดบทเรียนจากเครื่องมือที่ผู้ดำเนินนโยบายและระบบนิเวศการเงินไทยมีใช้งานในการส่งเสริมการพัฒนาการของดิจิทัลในภาคการเงิน และการรับมือกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการใช้งานดิจิทัล เพื่อจัดทำข้อเสนอ แนะเชิงนโยบายที่ไม่เพียงจะตอบโจทย์ผู้กำกับดูแล แต่จะมีความสอดคล้องกับการดำเนินการของผู้ให้บริการ และตอบโจทย์ผู้ใช้บริการ
โดยสรุปแล้ว เทคโนโลยีดิจิทัลสามารถเชื่อมโลกการเงินและเศรษฐกิจจริง ด้วยการเป็นเครื่องมือให้สถาบันการเงิน ผู้ให้บริการทางการเงินเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ ขณะที่ผู้ใช้บริการสามารถใช้ประโยชน์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ทั้งในระดับบุคคลและในระดับธุรกิจ
อย่างไรก็ดี แนวมาตรการและนโยบายที่จะส่งเสริมให้การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลในภาคการเงินสามารถส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างทั่วถึง ต้องออกแบบบนพื้นฐานของความเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย เพราะกลุ่มที่มีความพร้อมและเข้าถึงทั้งบริการทางการเงินและดิจิทัลอยู่แล้ว คงไม่ใช่กลุ่มที่จะช่วยปิดช่องว่างการเจริญเติบโตของประเทศได้
ขณะที่การสนับสนุนกลุ่มที่ยังเข้าไม่ถึงบริการทางการเงินอย่างเพียงพอ อาจจะทำได้ยาก เพราะมักจะเป็นกลุ่มที่กลไกตลาดไม่สามารถทำงานรองรับได้อยู่ก่อน เป็นโจทย์ที่มุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะมีส่วนร่วมตอบได้ในที่สุด
คอลัมน์ ร่วมด้วยช่วยคิด:
ดร.นครินทร์ อมเรศ
ผู้อำนวยการฝ่ายยุทธศาสตร์ความร่วมมือ ระหว่างองค์กร
ธนาคารไทยพาณิชย์
บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับ ข้อคิดเห็น ของหน่วยงานที่ผู้เขียน สังกัด
Source: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
Cr.Bank’s Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you