รัสเซียขู่ไม่ส่งน้ำมัน-ก๊าซ ให้ประเทศเอี่ยวมาตรการเพดานราคา

รัสเซียยืนยันจะไม่จัดหาน้ำมันและก๊าซให้กับประเทศที่รองรับมาตรการกำหนดเพดานราคาพลังงานที่ประเทศกลุ่ม G7 เสนอ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2565 รอยเตอร์ส รายงานว่า ดมิทรี เปสคอฟ โฆษกรัฐบาลรัสเซีย เปิดเผยว่า รัสเซียจะไม่ส่งน้ำมันและก๊าซให้ประเทศที่สนับสนุน

นโยบายกำหนดเพดานราคาพลังงาน แต่จะตัดสินใจขั้นสุดท้าย หลังจากวิเคราะห์ตัวเลขต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว
เรื่องนี้ เกิดขึ้นหลังการประชุมกลุ่ม G7 ที่มองหาเพดานราคาน้ำมันรัสเซียที่ระดับ 65-70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล แม้ว่า ในเวลานี้สมาชิกสหภาพยุโรปจะยังตกลงกันไม่ได้เรื่องเพดานราคาและอยู่ระหว่างการเจรจาที่กรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยี่ยม ก็ตาม
เปสคอฟ กล่าวว่า ณ ตอนนี้ เรายืนหยัดตามจุดยืนของประธานาธิบดีปูติน ที่จะไม่จัดหาน้ำมันและก๊าซให้กับประเทศที่จะกำหนดเพดานราคาและเข้าร่วมนโยบายนี้… แต่เราต้องวิเคราะห์ทุกอย่างก่อนที่จะกำหนดตำแหน่งของเรา”
อีกด้านหนึ่ง รอยเตอร์ส รายงานว่า ในการประชุมคณะกรรมาธิการยุโรป หรือ อียูในสัปดาห์นี้ที่กรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยี่ยม ยังมีการถกเถียงที่ไม่มีข้อสรุปเกี่ยวกับการกำหนดราคาน้ำมันจากรัสเซีย ตามโครงการที่กลุ่มประเทศ G7 เสนอ โดยการกำหนดเพดานราคาน้ำมันรัสเซียที่ 65-70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับราคาที่สูงเกินไปสำหรับบางประเทศและต่ำเกินไปกับอีกบางประเทศ
มาตรการจำกัดเพดานราคาน้ำมันรัสเซียเกิดขึ้นในการประชุม G7 ซึ่งมีทั้งประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย ที่ต้องการกำหนดเพดานราคาน้ำมันส่งผ่านทางทะเลของรัสเซียภายในวันที่ 5 ธ.ค. นี้
โดยมาตรการจำกัดเพดานรับซื้อราคาน้ำมันรัสเซียเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการคว่ำบาตร เพื่อทำโทษรัฐบาลรัสเซียให้มีรายได้จากการส่งน้ำมันลดลง โดยหวังผลให้รัสเซียมีทรัพยากรหรือทุนรุกรานยูเครนลดลง
แต่ระดับเพดานราคาน้ำมันที่ถูกหยิบยกขึ้นมาถกเถียงกัน มีโปแลนด์ ลิทัวเนีย และเอสโตเนีย ที่คิดว่า ราคา 65-70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลจะทำให้รัสเซียมีกำไรสูงเกินไป เนื่องจากต้นทุนการผลิตอยู่ที่ประมาณ 20 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ขณะที่ ไซปรัส กรีซ และมอลตา ซึ่งเป็นประเทศที่มีอุตสาหกรรมการเดินเรือขนาดใหญ่ที่จะสูญเสียมากที่สุดหากสินค้าน้ำมันของรัสเซียถูกกีดขวาง คิดว่าเพดานราคาที่เสนอนี้ต่ำเกินไปและต้องการค่าชดเชยสำหรับการสูญเสียธุรกิจหรือต้องใช้เวลามากขึ้นในการปรับเปลี่ยน
นักการทูตสหภาพยุโรปกล่าวว่า ประเทศส่วนใหญ่ในสหภาพยุโรป ซึ่งมีสมาชิกกลุ่ม G7 อย่างฝรั่งเศสและเยอรมนีเป็นผู้นำ สนับสนุนการกำหนดเพดานราคา แต่กังวลเรื่องความสามารถในการบังคับใช้
อย่างไรก็ตาม การส่งออกน้ำมันดิบของรัสเซียดำเนินการโดยเรือบรรทุกมากกว่าท่อส่งประมาณ 70-85% ดังนั้น แนวคิดของการกำหนดเพดานราคา คือการห้ามบริษัทขนส่ง ประกันภัย และประกันต่อ (reassurance) จากการจัดการสินค้าของน้ำมันดิบรัสเซียทั่วโลก ขายไม่เกินราคาที่ G7 และพันธมิตรกำหนด
อีกทั้ง เนื่องจากบริษัทขนส่งและประกันภัยที่สำคัญของโลกตั้งอยู่ในกลุ่มประเทศ G7 ดังนั้นการกำหนดเพดานราคาจะทำให้รัสเซียขายน้ำมัน ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกที่มีสัดส่วนประมาณ 10% ของอุปทานทั่วโลก ได้ยากขึ้น
แม้ต้นทุนการผลิตของรัสเซียจะอยู่ที่ประมาณ 20 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งยังทำให้รัสเซียมีกำไรในการขายน้ำมัน แต่หลายประเทศที่สนับสนุนมาตรการนี้เชื่อว่าจะช่วยป้องกันการขาดแคลนอุปทานในตลาดโลก
ทั้งนี้ น้ำมันดิบ Urals ของรัสเซีย ปัจจุบันซื้อขายอยู่ในระดับราคา 68 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
Source: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"