แม้ว่าค่าไฟฟ้ามีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า แต่หลายฝ่ายมองว่ายุโรปจะอยู่รอดพร้อมสามารถสร้างความอบอุ่นได้ตลอดช่วงฤดูหนาว หลังสามารถกักตุนก๊าซธรรมชาติได้เพียงพอ ต่างจากประเทศยากจน
และตลาดเกิดใหม่ที่ยังไม่รู้ว่าจะรับมือกับวิกฤติราคาพลังงานนี้อย่างไร ซึ่งวิกฤตินี้อาจลากยาวไปถึงทศวรรษหน้า
เครดิตสวิส กล่าวว่า ประเทศยากจนกำลังประสบปัญหาด้านพลังงาน หลังความต้องการในยุโรปเพิ่มขึ้น และชาติต่าง ๆ เริ่มกักตุนพลังงาน จนทำให้ราคาพลังงานและก๊าซธรรมชาติปรับตัวสูงขึ้นมากกว่าเดิม ซึ่งทำให้ประเทศยากจนไม่สามารถแบกรับค่าใช้จ่ายเหล่านี้ไหว และไม่มีพลังงานสำรองมากเพียงพอสำหรับการบริโภคภายในประเทศ
เช่นเดียวกับกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ที่ก็ยังไม่รู้จะนำเข้าพลังงานจากที่ใด ซึ่งผลที่ตามมาหากชาติเหล่านี้ไม่สามารถสำรองก๊าซได้เพียงพอ อาจทำให้โรงงานต้องพากันปิดตัวลง ไฟฟ้าดับบ่อยครั้งขึ้น หรืออาจนำไปสู่ความไม่สงบในสังคม เช่น การประท้วง โดยปัญหานี้อาจลากยาวไปจนถึงทศวรรษหน้าได้
นักวิเคราะห์ด้านพลังงานของเครดิตสวิสกล่าวเพิ่มเติมว่า ความมั่นคงทางพลังงานของยุโรปกำลังบั่นทอนเสถียรภาพด้านพลังงานของชาติที่เพิ่งเกิดใหม่ เนื่องจากยุโรปมีกำลังทรัพยากรและกำลังมหาศาลสำหรับการแย่งชิงพลังงานมาครอบครองได้ ต่างจากประเทศเกิดใหม่ที่ไม่มีศักยภาพมากพอ
แม้วิกฤติพลังงานในหลายประเทศตลาดเกิดใหม่ เช่น ปากีสถาน อินเดีย บังกลาเทศ และฟิลิปปินส์ เป็นต้น จะผ่อนคลายลงหลังผ่านช่วงฤดูร้อนมาแล้ว แต่ความสบายใจนั้นเหมือนจะอยู่ได้ไม่นานนัก เพราะเมื่อฤดูหนาวมาถึง สภาพอากาศจากที่เคยร้อนระอุตอนหน้าร้อนจะปรับตัวลง ซึ่งในบางพื้นที่ เช่น ทางตอนเหนือของอินเดีย อาจหนาวเหน็บกว่าในยุโรปด้วยซ้ำ ทำให้เกิดความกังวลว่าประเทศเหล่านี้จะไม่สามารถสำรองพลังงานได้มากพอในระยะยาว
นอกเหนือจากราคาพลังงานที่พุ่งขึ้นต่อเนื่อง อีกปัจจัยสำคัญ คือ การที่เงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าอย่างมากในไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ซึ่งทำให้สถานการณ์ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เนื่องจากประเทศเพิ่งเกิดใหม่หลายประเทศต้องพึ่งพาเงินกู้จากต่างประเทศ
ประเทศเหล่านี้จึงตกอยู่ในสถานการณ์ที่ลำบากเพราะไม่รู้ว่าควรจะนำเงินไปซื้อพลังงาน หรือไปชำระหนี้ ผลที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้คือ หากไม่จ่ายหนี้ ประเทศผู้จำหน่ายพลังงานทั่วโลกจะเริ่มระมัดระวังในการขายก๊าซให้กับประเทศที่มีแนวโน้มผิดสัญญามากขึ้น
หนึ่งในต้นตอที่ทำให้วิกฤติพลังงานในประเทศตลาดเกิดใหม่เลวร้ายขึ้น คือ การที่ยุโรปต้องแสวงหาแหล่งพลังงานใหม่หลังประกาศคว่ำบาตรนำเข้าก๊าซจากรัสเซีย จากเหตุการณ์การเข้ารุกรานประเทศยูเครน การซื้อขายพลังงานโดยทั่วไปจะอยู่ในรูปแบบสัญญาระยะยาว ประเทศในยุโรปจึงเลือกผู้ผลิตและผู้ส่งออกพลังงานที่ไม่ได้จำเป็นต้องทำสัญญาซื้อขายระยะยาว ทำให้ผู้ส่งออกในภูมิภาคเอเชียใต้หันมาขายก๊าซให้ยุโรป เนื่องจากให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า
บลูมเบิร์กคาดการณ์ว่า ความต้องการก๊าซธรรมชาติในยุโรปจะเพิ่มขึ้นเกือบ 60% ภายในปี 2569
บลูมเบิร์กรายงานว่า ขณะนี้ผู้ส่งออกพลังงานในกาตาร์และสหรัฐอเมริกากำลังพิจารณาข้อเสนอขอซื้อพลังงานจากยุโรป ทำให้นี่จะเป็นครั้งแรกที่กลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย อย่างเช่น ปากีสถาน บังกลาเทศ และไทย ต้องมาแข่งขันด้านราคาพลังงานกับชาติมหาอำนาจอย่างเยอรมนี
โดยทั่วไป หากประเทศประสบปัญหาขาดแคลนพลังงานในระยะสั้น จะสามารถแก้ไขด้วยการทำสัญญาซื้อขายระยะยาว พร้อมทั้งจ่ายค่าพลังงานอัตราคงที่เพื่อรับประกันการส่งมอบ อย่างไรก็ดี วิกฤติครั้งนี้แตกต่างออกไป เพราะถึงจะมีการเสนอสัญญาขอซื้อในระยะยาว ประเทศที่พึ่งพาการนำเข้าพลังงานอาจโดนปฏิเสธได้
ตัวอย่างเช่น ในกรณีของอินเดีย บังกลาเทศ และไทย ที่ไม่สามารถปิดการเจรจาซื้อขายพลังงานกับกาตาร์ และสหรัฐฯ ได้ แม้จะเป็นการซื้อขายด้วยสัญญาระยะยาวก็ตาม
Source: ข่าวหุ้น
เพิ่มเติม
- European Gas Prices Drop as Warm Weather Contains Heating
Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you