ความเข้าใจผิดนโยบายการเงิน

ช่วงนี้มีการเผยแพร่ข้อมูลว่า “ทำไมแบงก์ชาติไม่รีบร้อนขึ้นดอกเบี้ย” ในโซเชียลกันอย่างแพร่หลาย ผมเป็นคนที่ไม่ค่อยเชื่อข้อมูลที่ส่งต่อกันในโลกโซเชียล แต่ถ้าเห็นว่าข้อมูลอันไหนน่าสนใจ ก็จะไปค้นหาที่มาของข้อมูลต่อว่าเป็นความจริงหรือไม่

กรณีนี้ก็เช่นเดียวกัน ผมก็ไปค้นหาข้อมูล ก็พบใน “เว็บไซต์การเงินธนาคาร” ซึ่งเป็นเว็บไซต์ข่าวที่น่าเชื่อถือและอ้างอิงได้ เป็นการประมวลข้อมูลที่ ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการแบงก์ชาติ “ชี้แจงประเด็นความเข้าใจผิดเกี่ยวกับส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย ค่าเงินบาท เงินทุนเคลื่อนย้าย และเงินทุนสำรอง” ต่อสื่อมวลชนที่แบงก์ชาติเมื่อ 22 ก.ค.ที่ผ่านมา
ผมขอนำรายละเอียดใน เว็บไซต์การเงินธนาคาร มาลงให้อ่านเลยครับ
1.ส่วนต่างดอกเบี้ยไทยกับสหรัฐฯที่กว้างขึ้นเป็นปัจจัยเดียวที่ทำให้เงินทุนไหลออก? ผู้ว่าการชี้แจงว่า มีหลายคนกังวลว่า ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยไทยที่ต่ำกว่าสหรัฐฯ จะส่งผลให้เงินทุนไหลออก ทำให้ค่าเงินบาทอ่อนและเงินทุนสำรองลดลง ส่งผลให้เสถียรภาพการเงินไทยเปราะบาง และใกล้เข้าสู่วิกฤติคล้ายปี 2540 ไม่ตรงกับความเป็นจริง ผู้ว่าการยืนยันว่า ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่มีผลต่อเงินทุนเคลื่อนย้าย แต่ยังมีปัจจัยอื่น เช่น การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ เสถียรภาพของเศรษฐกิจ และ ความเชื่อมั่นของนักลงทุน
ปัจจุบัน ไทยมีส่วนต่างของดอกเบี้ยนโยบายเทียบกับสหรัฐฯ –12.5% ตั้งแต่ต้นปี 2565 ถึง 18 ก.ค.65 ไทยยังมีเงินทุนไหลเข้าสุทธิ 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่ประเทศที่มีดอกเบี้ยสูงกว่าสหรัฐฯ เช่น อินเดีย มีส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยนโยบายเทียบกับสหรัฐฯ +3.15% แต่มีเงินทุนไหลออก 31.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รวมถึง อินโดนีเซีย ที่มีส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยนโยบายกับสหรัฐฯที่ +1.75% แต่มีเงินทุนไหลออกที่ 3.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
2.เงินบาทอ่อนค่าลงมากเพราะเงินทุนไหลออก? ผู้ว่าการแจงว่า ไม่จริง ตั้งแต่ต้นปี เงินบาทอ่อนค่าจากเงินดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าเป็นหลัก สมมติว่าตอนนี้อยู่ที่ 36 บาทต่อดอลลาร์ ก็คือราคาของดอลลาร์ ดังนั้น เมื่อราคาของดอลลาร์ขึ้นจากปัจจัยต่างๆไม่ว่าจะเป็นดอกเบี้ยนโยบาย ค่าเงินบาทก็ต้องขยับขึ้นไปด้วย เมื่อดอลลาร์แข็ง บาทก็ต้องอ่อน สิ่งนี้เป็นปัจจัยที่กำหนดค่าเงินบาท หากดูในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาจะเห็นว่า การเคลื่อนไหวของเงินบาทประมาณ 86% เป็นผลมาจากปัจจัยภายนอกเป็นหลัก ตัวอย่างเช่น ช่วงเดือน เม.ย.–พ.ค.65 มีเงินทุนไหลเข้า แต่เงินบาทก็อ่อนได้ ดังนั้น เรื่องค่าเงินไม่ได้มาจากเรื่องเงินทุนไหลออก
3.เงินทุนสำรองลดลงมากเพราะใช้พยุงค่าเงินบาท? ผู้ว่าการแจงว่า ไม่จริง เพราะการที่ ธปท.มีนโยบายการเงินแบบลอยตัวไม่ได้ Fix ค่าเงินไว้ ทำให้ความจำเป็นที่ต้องพยุงค่าเงินบาทน้อยลงไม่เหมือนปี 2540 และการเปลี่ยนแปลงของเงินทุนสำรอง ไม่ได้มาจากการแทรกแซงตลาด การเปลี่ยนแปลงของทุนสำรองมาจาก 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่
(1) ผลตอบแทนการลงทุน หากผลตอบแทนเป็นบวกทุนสำรองก็จะติดลบ หากผลตอบแทนเป็นลบทุนสำรองก็จะเป็นบวก (2) การดำเนินนโยบายค่าเงินของ ธปท. เช่น ธปท.ขายดอลลาร์เพื่อดูแลค่าเงิน (3) การตีมูลค่าหลักทรัพย์ (Valuation) ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญในช่วงนี้ ช่วงที่ดอลลาร์แข็งค่า สินทรัพย์ในสกุลอื่นๆหากวัดเป็นดอลลาร์ก็จะลดลง ทำให้มูลค่าอาจลดลง ถือเป็นตัวแปรสำคัญตัวหนึ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของทุนสำรอง กรณีเฟดขึ้นดอกเบี้ย ส่งผลให้เงินดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่า เงินบาทก็ต้องอ่อน
4.เงินทุนสำรองที่ลดลงจะกระทบเสถียรภาพการเงินไทยจนเกิดวิกฤติแบบปี 40? ผู้ว่าการแจง ไม่จริง ปัจจุบัน ไทยมีเงินทุนสำรอง 2.47 แสนล้านดอลลาร์ (22 ก.ค.อยู่ที่ 2.179 แสนล้าน) สูงเป็นอันดับ 12 ของโลก คิดเป็น 51% ของจีดีพี สูงเป็นอันดับ 6 ของโลก ทุนสำรองต่อหนี้ต่างประเทศระยะสั้นสูงถึง 2.6 เท่า
ทั้งหมดนี้คือ 4 ความจริงนโยบายการเงินที่ถูกต้อง นักลงทุนอ่านแล้วก็สบายใจขึ้น วันนี้ข้อมูลแบงก์ชาติมีการเผยแพร่ในวงกว้าง เปิดเผยมากกว่าข้อมูลของรัฐบาลเสียอีก.
“ลม เปลี่ยนทิศ”
Source: ไทยรัฐออนไลน์

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"