ผ่ากลยุทธ์ ‘Fed’ ขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ทางเลือกสกัดเงินเฟ้อที่เสี่ยงทำเศรษฐกิจถดถอย

สถานีโทรทัศน์ CNBC จัดทำรายงานพิเศษรวบรวมความเห็นของนักวิเคราะห์ นักเศรษฐศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญจากหลายสำนัก ในการอธิบายกลยุทธ์และกลไกการทำงานของนโยบายการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed)

ที่จะทยอยปรับขึ้นเรื่อยๆ ตลอดทั้งปีนี้และปีหน้า ซึ่งเหล่าผู้เชี่ยวชาญทั้งหมดเห็นตรงกันว่า เป็นเพียงความพยายามที่จะเบรกไม่ให้เงินเฟ้อพุ่งเร็วมากขึ้นเท่านั้น และการที่จะระงับภาวะเงินเฟ้อ รวมถึงดึงให้เงินเฟ้อกลับมาอยู่ในอัตราปกติ Fed จำเป็นที่จะต้องดำเนินการมากกว่าที่เป็นอยู่ ภายใต้นโยบายของภาครัฐอื่นๆ ควบคู่กันไป
ทั้งนี้ แผนการของ Fed ในเวลานี้ก็คือ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น ควบคู่ไปกับการลดการถือครองพันธบัตรมากกว่า 8 ล้านล้านดอลลาร์ที่ Fed สะสมไว้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เพื่อช่วยให้เกิดสภาพคล่องทางเศรษฐกิจ
โดยตามแผนของ Fed อัตราดอกเบี้ยที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นจะทำให้เงินมีราคาแพง ทำให้ธุรกิจและนักลงทุนกู้ยืมเงินน้อยลง ซึ่งจะส่งผลสืบเนื่องให้ดีมานด์หรือความต้องการบริโภคในตลาดสามารถขยับเคลื่อนไหวได้สองคล้องกับระดับซัพพลายที่ขาดหายไปเพราะการระบาดใหญ่ของโควิด และทำให้พ่อค้าแม่ค้าตกอยู่ภายใต้ภาวะกดดันให้ลดราคาเพื่อหลอกล่อให้คนมาซื้อผลิตภัณฑ์ของตน
อย่างไรก็ตาม การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยก็มีความเสี่ยงที่ไม่อาจเลี่ยงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นตามมาได้ ไม่ว่าจะเป็นค่าแรงที่ลดลง ภาวะเศรษฐกิจชะงักงัน หรือแม้กระทั่งการลดลงของราคาบ้านที่พุ่งสูงขึ้น ไปจนถึงการลดลงของมูลค่าหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ที่จนถึงตอนนี้ค่อนข้างผันผวนเมื่อเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นและผลกระทบจากสงครามในยูเครน
ในมุมมองของผู้เชี่ยวชาญ หาก Fed ต้องการปราบปรามเงินเฟ้อให้อยู่หมัด Fed จำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยให้แรงมากขึ้น แต่ต้องไม่แรงเกินไปจนทำให้เกิดเหตุการณ์ วอล์กเกอร์ อดีตประธาน Fed ที่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยถึง 20 เปอร์เซ็นต์เพื่อสกัดเงินเฟ้อ แต่ก็ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ตกอยู่ภายในภาวะ Stagflation
ขณะเดียวกันลำพังแค่นโยบายของ Fed เพียงอย่างเดียวไม่สามารถจัดการเงินเฟ้อได้ จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากภาครัฐในการขับเคลื่อน โดย มาร์ค แซนดิ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ Moody’s Analytics กล่าวว่ารัฐจำเป็นต้องมีนโยบายเพื่อชะลอการเติบโตทางเศรษฐกิจควบคู่ไปด้วย ซึ่งประเด็นสำคัญคือการสร้างเงื่อนไขทางการเงินที่ทำให้เข้าถึงได้ยากหรือนำมาใช้ได้ยากมากขึ้น เพื่อที่ความต้องการบริโภคในตลาดจะลดต่ำ และทำให้เศรษฐกิจเติบโตได้ปานกลาง
นักเศรษฐศาสตร์หลายรายรวมถึงแซนดิยอมรับว่า การขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed และยกระดับนโยบายการเงินให้เข้มงวดมากขึ้น จะบรรลุผลที่ตั้งไว้มากเพียงใด ส่วนหนึ่งก็ขึ้นอยู่กับโชคด้วย เพราะหากโชคช่วย ประมาณว่าจังหวะกำลังดี ไม่มีปัจจัยเหนือคาดหมาย อัตราเงินเฟ้อจะลดลงตามเป้าที่คาดไว้ แต่หากว่าไม่ เศรษฐกิจสหร้ฐฯ ก็เสี่ยงตกอยู่ในภาวะชะงักงัน
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่เชื่อว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ขณะนี้แข็งแกร่งมากพอที่จะไม่ร่วงลงสู่ภาวะถดถอยอย่างที่หลายฝ่ายคาดการณ์กันไว้ก่อนหน้า เนื่องจากการเติบโตของตลาดงาน โดยเฉพาะความต้องการแรงงานมีเพิ่มสูงขึ้น โดยมีตำแหน่งงานที่เปิดรับคนในเวลานี้ราว 5 ล้านตำแหน่ง มากกว่าจำนวนแรงงานวัยทำงานที่มีอยู่
ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์ของ Goldman Sachs กล่าวว่า ช่องว่างของงานเป็นสถานการณ์ที่ Fed ต้องแก้ไขหรือเสี่ยงต่อภาวะเงินเฟ้ออย่างต่อเนื่อง โดย Fed อาจต้องลดการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ให้เหลือประมาณ 1-1.5 เปอร์เซ็นต์ตลอดปีนี้ เพื่อชะลอตลาดงาน ซึ่งหมายความว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่สูงกว่าตลาดคือการกำหนดราคาตามสกุลเงิน ช่วยให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอยไม่มากนัก
Source: the Standard Wealth

 

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"