ครั้งที่แล้วผมเขียนถึงการออกกำลังกายในการทำให้ร่างกายแข็งแรง ช่วยให้อายุยืนยาวได้อีก 3-7 ปี ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับเดือนกันยายนที่หลายคนอาจจะกำลังเป็นวัยเกษียณอายุการทำงาน ครั้งนี้จะเขียนถึงการเงินและการลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่เพียงพอจากการลงทุน
การออกกำลังกายมีประโยชน์ในการทำให้ร่างกายแข็งแรงและช่วยให้มีอายุยืนยาวเพิ่มขึ้นได้อีก 3-7 ปี ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับเดือนกันยายนที่หลายคนอาจจะกำลังเป็นวัยเกษียณอายุจากการทำงาน ทำให้มีเวลาดูแลสุขภาพของตัวเองให้ครบถ้วนยิ่งขึ้น ครั้งนี้จะเขียนถึงการเงินและการลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่เพียงพอจากการลงทุน โดยที่สำคัญคือเพื่อให้ชีวิตที่เหลืออยู่เป็นชีวิตที่มีคุณภาพและสุขภาพดีตลอดไป
ในส่วนของด้านการเงินและการบริหารจัดการทรัพย์สินที่สะสมมาเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่เพียงพอกับภาระที่ต้องใช้จ่ายในวัยเกษียณนั้น ก็ขอนำเอาข้อมูลในอดีตมาประเมินให้เห็นภาพว่าผลตอบแทนนั้นย่อมจะเพิ่มขึ้นหากรับความเสี่ยงได้มากขึ้น
"ความเสี่ยง" กับผลตอบแทนจากการลงทุน
ดังเห็นได้จากตารางที่สรุปผลตอบแทนของพอร์ตการลงทุนที่มีสัดส่วนของสินทรัพย์เสี่ยงเพิ่มขึ้น เช่นการถือหุ้น 10% ของพอร์ตพร้อมกับการลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ (ซึ่งมีความเสี่ยงน้อยมาก) ใน 90% ที่เหลือก็จะเห็นว่าพอร์ตการลงทุนหนี้ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 5.99% ต่อปีและในปีที่ย่ำแย่ที่สุดพอร์ตจะขาดทุน 8.14% (ในปี 1969) พอร์ตนี้คำนวณจากข้อมูลในอดีตรวมทั้งหมด 94 ปีนั้นพบว่า นานๆ ทีจึงจะเกิดการขาดทุน กล่าวคือพอร์ตโดยเฉลี่ยจะขาดทุนประมาณ 1 ครั้งทุก ๆ 8 ปี
ทั้งนี้ ข้อมูลที่ใช้มาคำนวณผลตอบแทนดังกล่าวนั้นนำมาจากการลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐ (S&P 500) และพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐในช่วงปี 1926-2019 (ก่อน COVID-19)
จะเห็นได้ว่าหากต้องการให้ได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้นก็จำเป็นต้องเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงคือหุ้นและลดสัดส่วนการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล เช่นในกรณีที่ลงทุนหุ้น 40% และพันธบัตรรัฐบาล 60%
(ซึ่งในความเห็นของผมนั้นจะเหมาะสมกับผู้ที่อายุมากและมีรายได้อื่นๆ เช่นการทำงานแบบ Part-timeไม่มาก) นั้นผลตอบแทนจะเพิ่มขึ้นเป็นเฉลี่ย 7.77% ต่อปี แต่ก็ต้องทำใจรับความเสี่ยงที่พอร์ตอาจขาดทุนได้มากถึง 20% เป็นต้น
คำถามที่ตามมาคือข้อมูลในอดีตดังกล่าวจะถูกนำไปใช้คาดการณ์อนาคตอีก 40-50 ปีข้างหน้าได้มากน้อยเพียงใด คำตอบของผมคืออนาคตน่าจะไม่ให้ผลตอบแทนที่สูงเช่นในอดีตและผมเชื่อว่าหากพร้อมรับความเสี่ยงต่ำคือถือหุ้น 10% และพันธบัตร 90% นั้นในอนาคตผลตอบแทนระยะยาว (ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป) น่าจะอยู่ที่ 3-4% ต่อปี ไม่น่าจะสูงเกือบ 6% เช่นที่ได้เกิดขึ้นในอดีต
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?
1.หากตรวจสอบข้อมูลผลตอบแทนเป็นรายปีของ S&P 500 ก็จะพบว่าในช่วงปี 1926-1980 นั้น ผลตอบแทนจำต่ำกว่า 10% ต่อปีโดยเฉลี่ยและหากหักเงินเฟ้อออกไป ผลตอบแทนจริงก็จะต่ำลงเหลือประมาณ 7% ต่อปี แต่มาระยะหลังนี้ (เช่น 1991-2020) ผลตอบแทนหุ้นเฉลี่ยเกือบ 11% ต่อปีและหากหักเงินเฟ้อ (ที่ต่ำมาก) ออกไป ผลตอบแทนจริงก็จะสูงขึ้นไปเป็น 8.3% ต่อปี
2.เงินเฟ้อลดลงต่ำเตี้ยจนเกือบจะเป็นศูนย์ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ธนาคารกลางสหรัฐกดดอกเบี้ยลงไปเหลือศูนย์หรือใกล้ศูนย์มานานกว่า 10 ปี ดอกเบี้ยที่ต่ำติดดินช่วยให้ผลตอบแทนของหุ้น (S&P 500) เพิ่มขึ้นเป็นเฉลี่ย 13.9% ต่อปีในช่วง 2011-2020 และหากหักเงินเฟ้อออกไปผลตอบแทนก็จะเพิ่มขึ้นเป็นเฉลี่ย 11.96% ต่อปี
3. ดังนั้นในช่วงหลังนี้ราคาหุ้นจึงดูเหมือนว่ามีแต่ขาขึ้นเกือบจะไม่มีขาลงเลยเช่นในช่วงปี 1926-1980 นั้น ราคาหุ้นจะปรับตัวเพิ่มขึ้น 2-4 ปีแล้วก็จะต้องกลับมาปรับตัวลดลง (correction) แต่ในช่วงปี 1982-1989 นั้น ราคาหุ้นเพิ่มขึ้นทุกปี ในทำนองเดียวกันราคาหุ้นก็ปรับเพิ่มขึ้นติดต่อกัน 9 ปีซ้อนในช่วงปี 1991-1999 และ 2009-2017
4. นอกจากมาตรการกดดอกเบี้ยลงไปเหลือศูนย์แล้ว ธนาคารกลางของประเทศหลักก็ยังพิมพ์เงินใหม่ออกมาหลายล้านล้านเหรียญมาแย่งซื้อพันธบัตรรัฐบาล ทำให้ราคาพันธบัตรรัฐบาลสูงขึ้นอย่างผิดธรรมชาติ (เห็นได้จากการที่พันธบัตรรัฐบาลบางประเทศให้ผลตอบแทนติดลบ แต่ก็ยังมีคนเข้าไปซื้อและถือครองพราะเชื้อว่าราคาพันธบัตรจะปรับตัวสูงขึ้นอีก) ดังนั้น การลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลก็ยังให้ผลตอบแทนสูงเกินกว่าภาวะปกติอีกด้วย
หากเรากลับมามองดูปีปัจจุบัน เราก็จะพบว่าดัชนี S&P 500 นั้นทำสถิติปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงจุดสูงสุดจากต้นปีถึงต้นเดือนกันยายนไปแล้วมากถึง 54 ครั้ง ให้ผลตอบแทนในช่วงดังกล่าวไปแล้วสูงถึง 18.3% (จากที่ให้ผลตอบแทนประมาณ 28.88% ในปี 2019 และ 16.26% ในปี 2020
สาเหตุหลักที่ทำให้ได้ผลตอบแทนสูงมากๆ ดังกล่าวนั้น ผมเชื่อว่าเป็นผลมาจากนโยบายดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐเป็นส่วนสำคัญ เช่นในปี 2019 ธนาคารกลางสหรัฐปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงไป 3 ครั้ง เท่ากับ 0.75% จาก 2.5% เหลือ 1.75% และในปีต่อมาก็รีบลดดอกเบี้ยลงไปอีก 1.75% ให้เหลือศูนย์ในเดือนมีนาคม 2020 นอกจากนั้นคือการใช้งบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจและการลดภาษีของรัฐบาลสหรัฐ
หากดูข้อมูลดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐจากรูปข้างล่างจะเห็นได้ว่าในช่วงตั้งแต่ปี 1980 ที่ราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องมาในระยะกว่า 40 ปีที่ผ่านมานั้น เป็นช่วงที่ดอกเบี้ยถูกปรับลดลงอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องของอัตราเงินเฟ้อทั่วโลก แต่มาวันนี้เราจะเห็นว่าเงินเฟ้อปรับตัวเป็นขาขึ้นแล้ว และดอกเบี้ยนโยบายจะมีแต่ปรับขึ้นไม่น่าจะปรับลดลงได้ นโยบายการคลังในอนาคตก็จะไม่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้มากเพราะหนี้สาธารณะสูงจนน่าเป็นห่วงแล้ว
"ความเสี่ยง" กับผลตอบแทนจากการลงทุน
ธนาคารกลางสหรัฐได้เคยพยายามปรับดอกเบี้ยนโยบายขึ้น 0.25% 1 ครั้งในปี 2015 และอีก 1 ครั้งในปี 2016 ต่อมาปรับดอกเบี้ยขึ้นอีก 3 ครั้ง (รวม 0.75%) มาเป็น 1.5% ในปี 2017 ที่สำคัญคือเมื่อเร่งปรับดอกเบี้ยขึ้น 4 ครั้งในปี 2018 ทำให้ดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้นเป็น 2.5% ผลที่ตามมาคือราคาหุ้นในปีนั้นลดลงไป 4.38% กล่าวคือเมื่อการปรับดอกเบี้ยนโยบายเร่งตัวขึ้นเมื่อใด ราคาหุ้นก็เสี่ยงที่จะปรับตัวลดลงได้ครับ
โดย ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ | เศรษฐศาสตร์ + สุขภาพ
Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
----------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you