ตอนนั้นที่ "จักรวรรดิอังกฤษ" ได้ครอบครองอินเดีย โดยช่วงแรกเข้ามาในรูปของการค้าขายธรรมดา ผ่าน "บริษัทอินเดียตะวันออก" แต่หลังจากนั้นก็ต้องการสร้างความมั่นคงในการค้าของตนโดนการแทรกแซงการเมืองภายในของอินเดีย
ที่ตอนนั้นปกครองโดยราชวงศ์โมกุล รัฐอิสลามของชาวมุสลิม
"บริษัทอินเดียตะวันออกอันทรงเกียรติ" ( Honourable East India Company) หรือในเวลาต่อมาคือ "บริษัทอินเดียตะวันออกของบริเตน" เป็นบริษัทร่วมทุนสัญชาติอังกฤษในช่วงแรก ซึ่งเดิมถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อแสวงหาการค้ากับภูมิภาคอินเดียตะวันออก แต่ในภายหลังได้ดำเนินการค้าส่วนใหญ่กับอนุทวีปอินเดียและจีน บริษัทอินเดียตะวันออกถือได้ว่ามีความเก่าแก่ที่สุดเมื่อเทียบกับบริษัทอินเดียตะวันออกของชาติทวีปยุโรปอื่น ๆ
เมื่อแรกก่อตั้ง บริษัทได้รับพระราชทานตราตั้งโดยสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1ให้เป็น "ข้าหลวงและบริษัทพาณิชย์แห่งลอนดอนซึ่งจักทำการค้าไปยังอินเดียตะวันออก" เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 1600 บริษัทนี้เกิดขึ้นจากการร่วมทุนระหว่าง "พ่อค้าและชนชั้นสูง" ในอังกฤษ รัฐบาลมิได้ถือหุ้นอยู่ในบริษัทแต่ก็มีการอำนวยความสะดวกต่างๆให้แก่บริษัท เช่น สนับสนุนด้าน "กำลังทหารและกองเรือปืน" การดำเนินงานของบริษัทนี้มีส่วนแบ่งถึงครึ่งหนึ่งของมูลค่าการค้าทั้งโลก สร้างรายได้ในรูปแบบภาษีให้แก่รัฐบาลอังกฤษอย่างมหาศาล บริษีทเป็นผู้จัดหาสินค้าสำคัญคือ ผ้าฝ้าย, ผ้าไหม, สีย้อมผ้า, เกลือ, ดินประสิว, ใบชา และ ฝิ่น
ในอินเดียเอง ก็มีนิคมของชาติยุโรปอื่นๆตั้งอยู่เช่นกัน เช่นของปรัสเซีย, เนเธอร์แลนด์ และฝรั่งเศส แต่ในปี 1740 อังกฤษได้ขัดแย้งกับปรัสเซียและฝรั่งเศสจากผลของ "สงครามสืบราชบัลลังก์" ออสเตรีย การต่อสู้นั้นเกิดขึ้นทั้งในยุโรปและ "บางส่วนของอินเดีย" จักรวรรดิโมกุลเลือกที่จะยืนอยู่ข้างฝรั่งเศสและทำสงครามกับบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม บริษัทสามารถมีชัยเหนือกองทัพของโมกุลและฝรั่งเศสได้และบริษัทได้เข้าไปปกครองภาคเบงกอล ต่อมาหลังฝรั่งเศสพ่ายแพ้ในสงครามเจ็ดปี ฝรั่งเศสก็เสียดินแดนพิหารในอินเดียแก่อังกฤษและฝรั่งเศสจำยอมถอนอิทธิพลออกจากอินเดีย
จุดเปลี่ยนที่อังกฤษเข้ามาครอบครองนั้นคือ ในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงราชบัลลังค์ของ การสิ้นพระชนม์ของจักรพรรดิออรังเซบ ของราชวงศ์โมกุลของผู้ปกครองมุสลิมได้สิ้นพระชนม์ ในปี 1707 ก็เกิดการแย่งชิงอำนาจกันของกลุ่มอำนาจเก่ากับใหม่ เกิดการต่อสู้ภายในกัน เป็นโอกาศอันดีที่อังกฤษจะเห็น "สงครามภายใน" ทำลายกันเองเพื่อจะเป็นการปูทางในการครอบครองอินเดียต่อไป
และ "อังกฤษ" เริ่มใช้ "สงครามภายใน" เป็นข้ออ้างในการเลือกข้างและแทรกแซงทางการเมืองของอินเดีย ว่าเพื่อความมั่นคงปลอดภัยของบริษัทและการค้าของอังกฤษเอง มีการเข้าร่วมสงครามภายในและอังกฤษก็ได้ชัยชนะมา เช่น สงครามในสมรภูมิพลาสสีในปี 1757 และ บูซาร์ 1764 ทำให้อังกฤษค่อนๆขยายฐานการทหารในอินเดียอย่างช้าๆ ใน เขตพิหาร เบงกอล และโอริสสา โดยตอนนั้นหน้าฉากอังกฤษยังให้อำนาจผู้นำมุสลิมเป็นผู้ปกครองเหมือนเดิม ตัวเองจะอยู่หลังฉาก เพื่อลดการต่อต้านจากประชาชนชาวมุสลิม ที่ยังมีความระแวงชาวคริสต์จากประวัติศาสตร์เรื่อง "สงครามครูเสด" แต่ยังคอยจ้องหาโอกาศเขมือบเหยื่ออยู่ห่างๆเหมือนสิงโตที่เชี่ยวชาญ
ช่วง 1766 - 1857 "อังกฤษ" ค่อยๆ ขยับขยายการมีส่วนร่วมในสงครามไปเรื่อยๆ จนมีอิทธิพลทางการทหารมากขึ้นเรื่อยๆในอินเดีย จนสามารถสถาปนาการปกครองขึ้นในอินเดียได้ โดยอังกฤษอาศัยสองกลยุทธ์ในการขยายอำนาจดังกล่าว คือ วิธีเชิงรุกและวิธีเชิงรับอย่างสันติ
วิธีแรก "แบบไม้แข็งเชิงรุกทำสงครามหนัก" นั้น ใช้กับรัฐที่เข้มแข็งรู้เท่าทันและต่อต้านพวกเขา เช่น รัฐไมซอร์ ในปี 1799 , สหพันธ์รัฐมาราธาในปี 1818 , รัฐสิกข์ในปี 1849 และผนวกดินแดนรัฐเหล่านั้นเข้าเป็นรัฐใต้อาณัติของอังกฤษ
ส่วนวิธีที่สองนั้น "การบังคับเชิงสันติ" นั้นจะเอาไว้ใช้กับรัฐที่เจรจาได้และมีแนวโน้มที่ไม่ต่อต้านอังกฤษ จึงค่อยๆสร้างเงื่อนไงอะไรบางอย่างที่จำเป็นในการดึงเข้ามาเป็นพันธมิตรเชิงบังคับ ( คล้ายๆ ในปัจจุบันที่อเมริกาสร้างเงื่อนไข ในเรื่องกรณีพิพาทในหมู่เกาะทะเลจีนใต้ มาเป็นการดึงไต้หวัน มาเลเซีย เวียตนาม บรูไน ฟิลิปปินส์ มาเป็นพันธมิตร ร่วมต่อต้าน "จีน" ) ที่เรียกระบบนี้ว่า Pax Britanica รัฐที่อังกฤษใช้วิธีนี้คือ รัฐไฮเดอลาบัด ในปี 1800 และ อูธ ในปี 1801 ระบบที่สองนี้ช่วยอังกฤษอย่างมากในเรื่องค่าใช้จ่าย เพราะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการบำรุงกองทัพและอื่นๆ แต่โยนภาระไปให้รัฐพันธมิตรแทน ( เปรียบเหมือน ปัจจุบัน เมื่อประเทศต่างๆที่เป็นอริกับจีนกรณีพิพาทเกาะในทะเลจีนใต้ ประเทศเหล่านั้นก็ต้อง ออกค่าใช้จ่ายเองในการบำรุงกองทัพของตน ในการต่อต้านจีน และยังต้องสั่งซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์จากอเมริกาอีกด้วย )
และอังกฤษก็อาศัยวิธีการสองวิธีในการค่อยๆขยายอำนาจของตนอย่างช้าๆ และขณะเดียวกันก็ค่อยๆ ลดอำนาจการปกครองอินเดียของราชวงส์โมกุลที่ไม่มีเสถียรภาพจากการแย่งอำนาจกันเอง ไปเรื่อยๆ จนจุดเปลี่ยนสำคัญคือสงครามกับ ซินเธีย ในปี 1803 ที่อังกฤษเริ่มปกครองได้ส่วนใหญ่แลัวสุดท้ายในปี 1858 ราชวงศ์โมกุลของชาวมสุลิมก็ตกเป็นดินแดนใต้อาณัติของจักรวรรดิอังกฤษโดยสมบูรณ์ ( ในระหว่างนั้น มีหลายข้อสังเกตว่า อังกฤษใช้วิธีการยุแยงให้รัฐที่ต่างศาสนากันทำลายกันเอง เช่น แอบสนุนสนุนชาวฮินดูให้ต่อต้านชาวมุสลิม และรวมทั้งในสงครามเชื้อโรค เช่นการเอาเชื้อฝีดาษมาปล่อยในอินเดียด้วย ) ราชวงศ์โมกุลเป็นแค่กษัตริย์ในกรุงเดลีเท่านั้น ขณะที่อังกฤษปกครองทั้งหมด
อังกฤษต้องเปลี่ยนแปลงนโยบายจากแค่ค้าขายร่วมกับอินเดียมาเป็นยึดเอามาเป็นอาณานิคมก็เพราะว่าไม่ต้องการให้ประเทศยุโรปอื่นๆ เช่น ฮอลันดา ปรัสเซีย ฝรั่งเศส มาแย่งผลประโยชน์จากแหล่งทรัพยากรและตลาดอันอุดมสมบูรณ์แห่งนี้ไปจากตน และสุดท้ายก็ทำได้สำเร็จ
และ อีกกลยุทธ์ที่ "อังกฤษ" ทำลายราชวงศ์โมกุลผู้ปกครองโดยรัฐอิสลามนั้นก็คือ อังกฤษจะใช้วิธีการเป็นพันธมิตรกับรัฐอิสลามอื่นๆไปด้วย ในขณะที่เป็นศัตรูกับราชวงศ์โมกุลที่เป็นรัฐมุสลิมที่ใหญ่กว่า เพื่อเอาความเป็นพันธมิตรของรัฐมุสลิมย่อยนั้นมาช่วยทำสงครามกำจัดราชวงศ์โมกุลก่อน เพื่อป้องกันการถูกสร้างกระแสต่อต้านชาวนอกศาสนาจากชาวมุสลิม ( "ต่อต้านชาวผิวขาวศาสนาคริสต์" ) ที่ยังมีความทรงจำจากสงครามศาสนาครูเสดในอดีต และเมื่อกำจัดรัฐอิสลามขนาดใหญ่อย่างราชวงศ์โมกุลได้แล้ว พวกเขาก็ค่อยๆมาเขมือบรัฐอิสลามเล็กๆที่ว่านอนสอนง่ายมาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรและเป็นอาณานิคมโดยสมบูรณ์ต่อไปในที่สุด
นอกจากนั้นแล้ว "อังกฤษ" ยังใช้วิธีการ "สร้างความไม่มั่นคงให้เกิดขึ้นในรัฐที่ตัวเองปกครอง" เหมือนการวางยา เช่นเมื่ออังกฤษปราบรัฐอิสลามไมเซอร์ได้ ก็ปลดสุลต่านติปูลงจากบังลังค์แล้วตั้งราชาจากศาสนาฮินดูขึ้นปกครองรัฐแทน เพื่อสร้างความไม่พอใจให้กับชาวมุสลิมส่วนใหญ่ในรัฐไมซอร์ เพราะถ้ารัฐใต้อาณานิคมมีความสามัคคีกันภายใน อังกฤษจะอยู่ลำบาก ต้อง "สร้างรอยร้าว" ในรัฐอาณานิคมเอาไว้ ยังไม่นับการเอาคนอีกเชื้อสายหนึ่งไปอพยพอยู่อีกที่หนึ่ง
เช่นเอาคนเชื้อสายเบงกาลี แขกจากเบงกอล จากอินเดีย ไปเป็นตำรวจ ทหาร ข้าราชการเพื่อปกครอง ชาว "พม่า" ที่หลังจากอังกฤษปกครองพม่าได้แล้ว เพื่อทำให้เกิดความ "ไม่มีเสถียรภาพในอาณานิคม" เกิดรอยร้าวในอาณานิคม จนเป็นบาดแผลเรื้อรังจนถึงปัจจุบัน เช่นกรณีณีชาวมุสลิมโรฮิงจา ในรัฐยะไข่และประเทศพม่าทั้งหมด ... ที่เมื่อไม่สามัคคีกันโอกาศจะแข็งเมืองต่อต้านพวกเขาก็ยาก อังกฤษก็จะครอบครองและปกครองต่อไปได้โดยง่ายและนานๆ ( คล้ายๆตอนที่ "ฝรั่งเศส" ให้เอกราชแก่ "ซีเรีย" ก็พยายามยกอำนาจให้กับผู้นำรัฐแก่ชาวมุสลิมนิกายชีอะห์อลาวีย์ อย่างตระกูลอัลอัสสาด ที่เป็นชนกลุ่มน้อยใน ซีเรีย เพื่อมาปกครองชาวสุนหนี่ ทำให้เกิดรอยร้าวทางศาสนาในซีเรีย มาจนถึงปัจจุบัน )
... และวิธีการ เป็นพันธมิตรกับชาวศาสนาเดียวกันกับศัตรู เพื่อลดการต่อต้านเรื่อง "สงครามศาสนา" และ "การสร้างร้อยราวในรัฐอาณานิคม" ในรัฐที่เป็นเป้าหมายในการครอบครองปกครองนั้น ประเทศตะวันตกหลายๆประเทศก็กำลังใช้อยู่ตลอดมา ในโลกปัจจุบัน และก็ใช้ได้ดี เพราะประชาชนทั่วไป ยังไม่รู้เท่าทันกลยุทธ์ของเขา เพราะถ้าชาวโลกรู้เท่าทัน พวกเขาก็จะปกครอง และ เอาเปรียบพวกเราได้ยากขึ้น
https://th.wikipedia.org/wiki/บริษัทอินเดียตะวันออก
http://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2010/6234/6/Chapter6.pdf
https://en.wikipedia.org/wiki/India–United_Kingdom_relations
Jeerachart Jongsomchai
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
Trader Warrior Camp แคมป์นักฝันชิงเงินรางวัล 1 ล้าน แคมป์ที่จะสร้างคุณให้เป็นสุดยอดเทรดเดอร์
รายละเอียดเพิ่มเติม https://goo.gl/forms/6PVGHzrey3WkQWr72