“แบงก์ชาติ” เปิดร่างหลักเกณฑ์การคิด “ดอกเบี้ยปรับ” กรณีผิดนัดชำระหนี้ ขีดเส้นเรียกเก็บเพิ่มได้ไม่เกิน 3% หวังช่วยลดภาระลูกหนี้ ลดแรงจูงใจให้กลายเป็นหนี้เสีย คาดมีผลบังคับใช้ 1 เม.ย.64
ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ได้ออกร่างหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้และการตัดชำระหนี้ ซึ่งในส่วนของการคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ในส่วนของสินเชื่อที่ต้องผ่อนชำระเป็นงวดๆ และสินเชื่อบุคคลสำหรับรายย่อยและธุรกิจ
ประกาศดังกล่าว กำหนดให้ ผู้ให้บริการทางการเงิน คิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ รวมค่าบริการ และค่าธรรมเนียมต่างๆ แล้ว ต้องคิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 3% และไม่เกิดเพดานสูงสุดที่ระบุไว้ในสัญญา
นางธัญญนิตย์ นิยมการ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน 2 ธปท. กล่าวยกตัวอย่างว่า การคิดดอกเบี้ยกรณีผิดนัดชำระหนี้ตามประกาศใหม่นั้น จะคิดได้สูงสุดไม่เกิน 25% ตามเพดานที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่ในกรณีที่ผู้กู้ได้ดอกเบี้ยในสัญญากู้ยืมที่ 20% หากผิดนัดชำระหนี้ อัตราดอกเบี้ยปรับจะเพิ่มได้ไม่เกิน 3% เท่ากับว่า ผู้กู้จะถูกคิดอัตราดอกเบี้ยรวมกันไม่เกิน 23%
การคิดดอกเบี้ยวิธีนี้จะแตกต่างจากปัจจุบันที่ ผู้กู้ซึ่งได้สัญญาณดอกเบี้ยกู้ยืม 20% หากเกิดการผิดนัดชำระหนี้ อัตราดอกเบี้ยปรับจะเพิ่มขึ้นเป็น 25% ทันที โดยเบี้ยปรับที่สูงมาก อาจทำให้คนที่ไม่ตั้งใจเป็นหนี้เสีย ตัดสินใจเป็นหนี้เสียได้ ดังนั้นการปรับการคิดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระ ธปท.มองว่า จะทำให้ลูกหนี้กลับมาเป็นหนี้ดีได้มากขึ้น
“เกณฑ์การคิดดอกเบี้ยกรณีผิดนัดชำระ ที่กำหนดไม่เกิน 3% ใช้ได้กับกลุ่มที่มีการกู้แล้วดอกเบี้ยรวมต่างๆยังไม่เกินเพดานดอกเบี้ยสูงสุดที่กำหนด เช่น สูงสุดอยู่ที่ 25% แต่ปัจจุบันเวลาผู้ให้บริการคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระก็คิดดอกเบี้ยไปที่ 25% ทันที ดังนั้นเกณฑ์ใหม่กำหนดให้แบงก์บวกได้ แค่ 1-2% หรือสูงสุดไม่เกิน 3% แล้วแต่ว่าแบงก์จะวิเคราะห์การผิดนัดชำระหนี้ลูกหนี้คนนี้อย่างไร"
สำหรับลูกหนี้ที่ดอกเบี้ยยังไม่ถึงเพดานสูงสุด กรณีลูกหนี้ที่แบงก์หรือผู้ให้บริการคิดดอกเบี้ยที่เพดานสูงสุดอยู่แล้ว แบงก์ก็คิดดอกเบี้ยไม่ได้อีก ดังนั้นเกณฑ์นี้จะมีผลสำหรับลูกหนี้ที่ดอกเบี้ยไม่เกินเพดานสูงสุดเท่านั้น ซึ่งเรามุ่งหวังว่า การคิดอัตราดอกเบี้ยตรงนี้ จะกระตุกให้ลูกหนี้มีวินัย แต่ไม่ควรไปคิดเขาสูงจนเกินไป”
ทั้งนี้ คาดว่าร่างดังกล่าว น่าจะออกมาอย่างเป็นทางการได้ภายในไตรมาส 4 ปีนี้ ก่อนหลักเกณฑ์การคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระ จะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.2564 เป็นต้นไป
ส่วนรายละเอียดของร่างการคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้และการตัดชำระหนี้ เพื่อต้องการยกระดับการกำกับดูแลการให้บริการทางการเงินอย่างเป็นธรรม (market conduct) เพื่อดูแลอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมที่เหมาะสมและเป็นธรรม ซึ่งจะช่วยส่งเสริมความเชื่อมั่นของผู้ใช้บริการต่อระบบการเงินไทยและสนับสนุนให้ผู้ให้บริการทางการเงินดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืนในระยะยาวได้นั้น จำเป็นจะต้องยึดหลักการบนพื้นฐานของข้อเท็จจริง
นอกจากนี้ ยังต้องรักษาความสมดุลระหว่างวินัยทางการเงิน ความเป็นธรรม และไม่เพิ่มภาระจนเกินสมควรแก่ผู้ใช้บริการทางการเงิน ภายใต้สถานการณ์การระบาดของโควิด-19
ดังนั้นหลักเกณฑ์ การคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ มีการคำนึงถึง บริบทหนี้ครัวเรือนของไทย ประกอบกับแนวทางการกำกับดูแลของต่างประเทศ เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากลูกหนี้ที่ค้างชำระมีความแตกต่างกับลูกหนี้ปกติ เพื่อส่งเสริมวินัยทางการเงินและดอกเบี้ยผิดนัดพึงอยู่ในวิสัยที่ลูกหนี้จะสามารถกลับมาจ่ายชำระหนี้ได้ ทำให้ไม่เร่งการเกิดหนี้ด้อยคุณภาพ (Non Performing Loans : NPL) อีกทั้งช่วยให้การเจรจาปรับโครงสร้างหนี้บรรลุผลสำเร็จมากขึ้น
สำหรับฐานการคำนวณดอกเบี้ยผิดนัดชาระหนี้ ให้ผู้ให้บริการคำนวณดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้บนฐานเงินต้นของค่างวดที่ลูกหนี้ค้างชำระในแต่ละงวด ไปจนถึงวันฟ้อง(วันที่ศาลประทับรับฟ้อง) เป็นอย่างน้อย ซึ่งการฟ้องคดีต่อศาลต้องมีระยะเวลาที่ลูกหนี้ค้างชำระหนี้ ไม่ต่ำกว่า 90 วัน
Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
--------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you