ตอนที่ตลาดหุ้นนิวยร์คเปิดเมื่อ วันที่ 2 มกราคม 1970 ...Dow Jones อยู่ที่ 809 จุด มันเป็นการเริ่มต้นของทศวรรษใหม่ ที่ผู้คนเต็มไปด้วยความหวัง ความเชื่อมั่นผู้บริโภคสูงลิ่ว เศรษฐกิจแข็งแรง ..NASA ก็เพิ่งส่งมนุษย์อวกาศไปเหยียบดวงจันทร์ไม่กี่เดือนก่อนหน้านี้เอง
อเมริกาพร้อมที่จะทะยานจากยุค 1960s ที่แสนวุ่นวายไปสู่อนาคตที่พร้อมจะบูมของยุคใหม่ 1970s
แต่มันก็ไม่ทะยานขึ้นอย่างที่คาด
ในช่วงทศวรรษนั้น ...เศรษฐกิจของสหรัฐต้องเผชิญกับความเจ็บปวดนับตั้งแต่ยุค Great Depression
1970s เป็นยุคที่ถูกกระหน่ำ ด้วยพิษของเศรษฐกิจชะงักงัน (Stagflation ..สภาวะเศรษฐกิจถดถอย + เงินเฟ้อ) ...เข้าสู่ยุคของอัตราการว่างงานที่สูงลิ่ว เงินเฟ้อสูง ภาษีและระดับของหนี้ที่สูง และมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่น่าสมเพท
นับเป็นชะตากรรมทางเศรษฐกิจที่เลวร้ายสุด ๆ อีกครั้ง และมันก็คงอยู่กับสหรัฐมาได้เป็นปี ๆ
เงินเฟ้อขึ้นสูงสุดถึง 10% ในช่วง 1970s ..อัตราว่างงานประมาณ 8% ..Underemployment 20% (ผู้ที่ได้งานต่ำกว่าที่ควร เช่นเป็นงานพาร์ทไทม์)
การลงทุนทั่วไปประสบการขาดทุน
การลงทุนในพันธบัตรมีความเสียหายจากเงินเฟ้อ เช่นผู้ซื้อพันธบัตร 10-year เมื่อช่วงต้น 1970s จะขาดทุนจากอัตราเงินเฟ้อถึง 5.5%
และการลงทุนในหุ้นก็ให้ผลตอบแทนที่น่าเวทนา
Dow Jones เมื่อต้น 1970 เท่ากับ 809 ..และเมื่อเดือนธันวาคม 1979 เท่ากับ 839 ...แทบไม่ได้ผลตอบแทนเลย
แล้วเมื่อปรับปรุงกับตัวเลขเงินเฟ้อ ตลาดหุ้นให้ผลขาดทุนถึง 49% ตลอดช่วง 1970s
เป็นช่วงที่โหดร้าย..ถ้าจะลงทุนในทรัพย์สินในกระแส
แต่ผู้ที่ลงทุนใน #ทรัพย์สินแท้จริง จะได้ผลตอบแทนที่ดียิ่ง
ลองไปดูที่ดินการเกษตร ...จากตัวเลขกระทรวงเกษตรสหรัฐ ราคาที่ดิน farmland เมื่อปี 1970 เฉลี่ยอยู่ที่ $137 ต่อเอเคอร์
ในชั่วสิบปี ที่ดินขึ้นไปเป็น $737 ต่อเอเคอร์
นักลงทุนที่ซื้อ farmland โดยใช้เงินกู้ปกติ (ดาวน์ 30% สินเชื่อแบ้งค์ 70%) ได้ผลตอบแทน 24.7% เฉลี่ยต่อปี ตลอดช่วง 1970s
นั่นยังไม่รวมรายได้จากผลผลิตใน farmland ด้วยเลย
ราคาเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้นเท่าตัวในช่วงสิบปีนั้น ข้าวโพดเพิ่มสามเท่า ข้าวสาลีสี่เท่า
แม้จะปรับตัวเลขเงินเฟ้อแล้ว ผลิตผลการเกษตรและเรียลเอสเตทก็ยังให้ผลตอบแทนสูง ...อยู่ในกลุ่ม best performing assets ในทศวรรษนั้นเลย
ทองคำและซิลเวอร์ ก็สร้างปรากฏการณ์ให้ผลตอบแทนน่ามหัศจรรย์ในช่วง 1970s เช่นกัน
ทองคำเปิดราคาเมื่อต้นทศวรรษที่ $36.56 ราคาที่เป็นทางการ ที่ยัง redeem ได้
นั่นเป็นช่วงเวลาที่ยูเอสดอลล่าร์ยัง peg ค่าอยู่กับทองคำด้วยราคานั้น แต่พอก่อนถึงตอนสิ้นทศวรรษนั้นเอง ยูเอสดอลล่าร์กลายเป็นเงิน "เฟียต" อย่างเป็นทางการ ไม่มีการอิงค่ากับทองคำอีกต่อไป
ก่อนปลายปี 1979 ราคาทองคำขึ้นไปมากกว่า $400 นักลงทุนทำกำไรได้ถึง 10x ในช่วงสิบปีนั้น
แต่ซิลเวอร์ก็กลับ outperform แซงทองคำไปอีก เพิ่มขึ้นจาก $2 ในปี 1970 ไปมากกว่า $30 ในปี 1979 ...ทำกำไรได้ถึง 15x
ยังมีตัวอย่างมากกว่านั้นอีก แต่ส่วนใหญ่แล้ว ทรัพย์สินแท้จริง ..ให้ผลตอบแทนมากกว่า ในช่วงของเศรษฐกิจที่เลวร้ายสุด ๆ ครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของสหรัฐ
มาตอนนี้ มันน่าขันถ้าจะบอกว่า 2020s ก็จะเหมือนกับยุค 1970s ไม่มีผิด
ผมเคยเขียนไว้หลายครั้งแล้วว่า การจะเข้าใจถึงสถานการณ์ทั้งหมดของการระบาดครั้งนี้ ต้องไม่ใช่ด้วยความไม่รู้และความไม่แน่ใจ
เรื่องที่เรารู้เกี่ยวกับมันมีน้อยมาก แต่ที่รู้แน่คือมีการพิมพ์เงินกันอย่างมหาศาล และพอกหนี้มากขึ้นทุกที
กระทรวงการคลังสหรัฐประกาศเมื่อวานนี้ว่ามีแผนที่จะกู้เงินถึง $3 ล้านล้าน แค่ในไตรมาสนี้เท่านั้น
แล้วกว่าจะถึงสิ้นปี ใครจะรู้ว่าพวกเขาจะต้องกู้กันอีกเท่าไหร่
แถมด้วย Fed ก็ได้มีการพิมพ์เงินไปแล้ว $2.5 ล้านล้านในชั่วแค่ 60 วันที่ผ่านมานี่เอง
ทั้งหมดนี้มันรวมกันเป็นเงินเท่าไหร่ ก็เกินกว่าที่เรา ๆ จะเข้าใจได้ แต่ดูเหมือนว่าเครื่องจะเพิ่งร้อน ...ยังจะต้องมีการพิมพ์เงินสร้างหนี้กันอีกมาก
และในเมื่อเราไม่สามารถที่จะบอกได้ว่า อะไรกำลังจะเกิดขึ้นต่อไป stagflation ..เงินฝืด ..เงินเฟ้อ ฯลฯ ....ถ้าดูจากในประวัติศาสตร์ น่าจะดีกว่าถ้าจะถือครอง real assets ...ในขณะที่แท่นพิมพ์ก็ยังพิมพ์เงินไปเรื่อย ๆ
Simon Black May 5, 2020
Cr.Sayan Rujiramora
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you