เราไม่สามารถ "รีสตาร์ท" เศรษฐกิจ..ต่อจากจุดเดิมได้ง่าย ๆ หรอก

การบังคับการ lockdown เพื่อต้านการแพร่กระจายของโคโรน่าไวรัสเป็น นับการทำลายเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ผลจากการ lockdown นี้ ..เศรษฐกิจเกิดการหยุดนิ่ง to a total halt ไปเลย .....การผลิตและการบริการเกิดการหยุดนิ่ง ..ในขณะเดียวกัน

การต่อยอดและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานก็หยุดไปด้วย แล้วมันมีเหตุผลพอหรือในการต้านความเสียหายที่จะเกิดจากไวรัส..ด้วยการหยุดภาคเศรษฐกิจไว้อย่างนี้น่ะ ..มันเปรียบเหมือนการแก้ปัญหาอาการปวดหัว ด้วยการตัดหัวทิ้งไปเลย

ผู้ที่สนับสนุนการ lockdown ในหมู่สาธารณชนมีความเห็นว่า นี่จะเป็นการลดจำนวนผู้ติดเชื้อ เพื่อจะทำให้ "กร้าฟโค้งลงเป็นแนวราบ" ซึ่งมันจะลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากไวรัสด้วย

คนเหล่านั้นก็เป็นไปตามปฏิกิริยาธรรมชาติ ที่เชื่อฟังรัฐบาลในการลดจำนวนผู้เสียชีวิต คนส่วนใหญ่ก็มักจะเห็นด้วยเต็มร้อยกับมาตรการของรัฐบาลนี้

อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้เชี่ยวชาญที่ยอมรับว่า ข้อมูลที่เรามีอยู่เกี่ยวกับไวรัสนี้ยังไม่พอเพียงที่จะนำมาหักล้างกันได้ แม้แต่องค์การอนามัยโลก (WHO) ก็ยังออกมาตำหนิถึงข้อขัดแย้งในนโยบายของการสาธารณสุขของประเทศต่าง ๆ ในหลาย ๆ ประเทศ ....บางประเทศมีการทดสอบการติดเชื้อและกักกันผู้ติดเชื้อในวงกว้าง ในขณะที่บางประเทศก็บังคับ lockdown ไปเลย ....มันเกิดความเห็นที่ขัดแย้งกันว่าวิธีไหนจะถูกต้องกว่ากัน ถึงแม้ข้อมูลระดับความรุนแรงของการติดเชื้อและการเสียชีวิตจะยังคงไม่น่าวางใจ

การวางนโยบายจึงเป็นไปแบบไม่เคลียร์ ....ไม่อาจยืนยันได้ว่านโยบายไหนที่รัฐบาลไหนได้วางไว้ จะสามารถยุติความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้ ...ถึงแม้จะมีความตั้งใจดีแค่ไหนก็เถอะ

การไปหยุดเศรษฐกิจของประเทศเพื่อต้านการระบาดของไวรัส ก็เหมือนการสร้างความเสียหายให้ชีวิตประวันของผู้คน เหมือนการไปยอมเพิ่มอำนาจให้รัฐบาลในช่วงที่เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน ทำให้รัฐบาลมีอำนาจมากขึ้นในการควบคุมเศรษฐกิจของประเทศและอิสรภาพส่วนบุคคล

ในความเห็นของผู้เชี่ยวชาญหลายคน โคโรน่าไวรัสก็เหมือนไวรัสไข้หวัดใหญ่หลายตัว ในด้านที่เกี่ยวกับโรคระบาดของฤดูกาล ..ถ้าเป็นอย่างนั้นจริง การระบาดจะต้องหมดไปเมื่อถึงตอนซัมเมอร์ และจะระบาดใหม่อีกครั้งในฤดูหนาว และเราจะต้อง lockdown อีกครั้งหรือเปล่าตอนนั้น ก็ได้แต่หวังว่ากว่าจะถึงตอนนั้นก็คงจะมีวัคซีนแล้ว

แต่มันก็เป็นไปได้อย่างมากเลย ว่าจากการที่เราไม่ได้รู้เรื่องของมันมากนัก จึงทำให้อาจจะไม่สามารถสร้างวัคซีนป้องกันไวรัสที่ได้ผลเลยก็ได้ แล้วทีนี้จะเอายังไงต่อล่ะ

เจ้าหน้าที่รัฐ (ข้าราชการ) ที่ทำเรื่องเหล่านี้ ทำไปภายใต้กฏระเบียบที่เคร่งครัดโดยไม่มีการยืดหยุ่นเพื่อต้องการให้บรรลุผล ข้าราชการเหล่านี้ทำไปแบบมีวัตถุประสงค์เดียว .....นี่แหละเป็นเหตุผลที่เราจำเป็นต้องมีตลาดเสรี

แฟคตอร์หลักที่ผลักดันให้ธุรกิจเดินหน้าอยู่ได้คือเศรษฐกิจเสรีที่มีโอกาสในการทำกำไร การทำกำไรคือวัตถุประสงค์ในการเข้าตลาดของนักธุรกิจ ธุรกิจนี่แหละที่จะแข่งกันหาทางที่จะเป็นผู้ซัพพลายทางแก้ในเรื่องการกำจัดไวรัสโคโรน่า

นักธุรกิจเองก็จะเป็นแหล่งจะที่ชี้หนทางว่า เศรษฐกิจจะ function ไปอย่างไรในช่วงของวิกฤตนี้ พวกเขาจะเป็นผู้ออกแบบ framework สำหรับแต่ละบุคคลในการอยู่ร่วมกับไวรัส

บางประเทศในเอเซียเช่นเกาหลีใต้ ประสบความสำเร็จในการสู้กับไวรัสโดยใช้การตรวจผู้ติดเชื้อเป็นวงกว้างในหมู่ประชาชน เพื่อหาผู้ติดเชื้อเป็นรายบุคคลที่อาจเป็นผู้แพร่เชื้อได้

ถ้าคิดว่าทางเดียวที่จะแก้ปัญหา คือการ lockdown และ social-distancing แล้วล่ะก็ ...การสุ่มหาผู้ติดเชื้อที่อาจแพร่เชื้อได้เป็นรายบุคคลเพื่อเก็บตัวกักกัน น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการกักกันประชาชนทั้งประเทศแน่ ๆ

ยิ่งกว่านั้น ถ้าปล่อยให้ธุรกิจเข้ามาเป็นผู้ต่อสู้กับไวรัสโคโรน่า คุณภาพของข้อมูลน่าจะให้ผลที่ดีกว่า มันมีแรงจูงใจจากผลประโยชนการสร้างกำไรที่จะแสวงหาข้อมูลเหล่านั้นเอง เพื่อที่นักวิทยาศาสตร์จะสามารถหาคำตอบการต่อต้านไวรัสที่ดีกว่า

นักธุรกิจย่อมรู้วิธีการเคลื่อนย้ายทรัพยากรที่จำเป็น และในการนั้น พวกเขาจำต้องอิสระ

ถ้ารัฐบาลไหนที่ซีเรียสกับการเพิ่มหนทางเลือกโดยใช้ทรัพยากรที่มี พวกเขาก็ต้องยกเลิกกฏระเบียบที่ขัดขวางการ function ของตลาดเสรี

คนส่วนใหญ่จะรู้สึกว่ายากที่จะยอมรับได้ เพราะเรายังไม่เคยมีตลาดเสรี เช่นคนที่อยู่ภายใต้การปกครองระบบเผด็จการอาจเป็นการยากที่จะเชื่อว่าตลาดเสรีจะให้บริการโทรคมนาคมได้อย่างไร เพราะพวกเขาคุ้นอยู่แต่การให้บริการโดยรัฐเท่านั้น

การถดถอยของการสร้างเสริมความมั่งคั่งที่เกิดจากการ lockdown แบบเห็น ๆ ..ทำให้เกือบทุกรัฐบาลในโลกต่างก็วุ่นวายอยู่กับการอุดหนุนทางการเงินให้กับประชาชนที่ได้รับผลจากนโยบาย "ลดความโค้งชันของกร้าฟ" โดยไม่รู้จักธรรมชาติของไวรัสดีเลย

It’s Not Possible to “Restart” the Economy Where We Left Off

เป็นไปไม่ได้เลยที่จะ "รีสตาร์ท" เศรษฐกิจ..ต่อจากจุดเดิมได้ง่าย ๆ

มีสัญญานจากหลาย ๆ ประเทศแล้วว่า ความโค้งชันของเส้นกร้าฟน่ะมันลาดลงเป็นระนาบแล้ว ...รัฐบาลก็จึงเตรียมแผนที่จะรีสตาร์ทระบบเศรษฐกิจ นักวิจารณ์หลายคนมีความเห็นว่าการรีสตาร์ทสามารถทำไปได้เลย ไม่มีอันตรายอะไร นี่เป็นการมองโลกในแง่ดี แต่มันอาจสร้างความวุ่นวายได้ในช่วงเริ่ม เพราะราคาสินค้าและบริการอาจมีการเปลี่ยนแปลงไป

แต่นักวิจารณ์อีกหลายคนก็บอกว่าการปั้มพ์เงินจำนวนมากโดยธนาคารกลางจะมีส่วนช่วยความเสียหายที่เกิดจากการ lockdown

แต่การปั้มพ์เงินที่ว่าไม่น่าจะเกี่ยว ที่จริงมันยิ่งไปสร้างความเสียหายมากขึ้นอีกในภาคเศรษฐกิจ ...โดยมันไปลดทอนกระบวนการสร้างเสริมความมั่งคั่ง

ผู้ที่สนับสนุนว่าจำเป็นต้องมีการเพิ่มการปั้มพ์เงิน ต้องรู้ว่า เงินมันเป็นเพียงตัวกลางการแลกเปลี่ยน มันไม่ได้สร้างผลผลิตได้เลย มันยิ่งไปเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการช็อคได้ในหลายเรื่อง เช่น coronavirus shock

Author:

Contact:
Frank Shostak‘s consulting firm, Applied Austrian School Economics, provides in-depth assessments of financial markets and global economies.

Cr. Sayan Rujiramora

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 

Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"