... 1 – “ทำเลที่ตั้ง”... อยู่ที่ Île de la Cité ที่เป็นเกาะขนาดเล็ก เป็นหนึ่งในสองเกาะธรรมชาติที่เหลืออยู่ในแม่น้ำแซนภายในเมืองปารีส ( อีกที่หนึ่งคือ Île Saint-Louis) เป็นศูนย์กลางของปารีสและทำเลที่ตั้งของเมืองในยุคกลาง ที่ถูกรือฟื้นอีกครั้งในภายหลัง
ในปี 2013 มีประชากรแค่ 981 คน ทำเลที่ตั้งโดดเด่นเหมาะที่จะสร้างศาสนาสถาน ( คล้ายวัดพุทธบนยอดเขาสูง )
... 2 - “เวลาที่สร้าง” เมื่อ 1163 – 1345 เป็นโบสถ์ที่สร้างใน “สมัยยุโรปยุคกลาง” ( ระหว่าง 476 – 1453 หรือ 1500 ) ศาสนาจักรครองเมือง แต่นักประวัติบางสายระบุว่า “ยุคมืด” น่าจะหมายถึง “ยุคกลางตอนต้น” คือ คศ. 476 - 1000 มากกว่า ยุคกลางนี้เกิดกลุ่มปัญญาชนเกิดขึ้นจากลัทธิอัสสมาจารย์นิยมและการก่อตั้งมหาวิทยาลัยทั่วยุโรป
... 3 – “เริ่มสร้างก่อนสมัยสงครามครูเสดครั้งที่3ไม่นาน” สงครามครูเสดครั้งที่ 3 เกิดขึ้นระหว่างปี 1189–1192 ก่อนหน้านี้มี “สงครามครูเสด” มาแล้ว 2 ครั้ง คือ “สงครามครูเสดครั้งแรก” คศ.1096–1099 และครั้งที่สองในระหว่างปี 1147–1149
...“สงครามครูเสด” ( หรือ ภาษาอาหรับว่า “ อัลฮัมลาต อัศศอลีบียะหฺ” แปลว่า "สงครามไม้กางเขน" ) คำว่า "ครูเสด" มาจากภาษาฝรั่งเศส หมายถึง การยกกางเขนขึ้น ทหารจำนวนมากมาจากฝรั่งเศส, เป็นสงครามศาสนาต่อเนื่องที่รบนอกยุโรป ที่ถูกทำให้ศักดิ์สิทธิ์โดยสมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 2 และศาสนจักรคาทอลิก มีเป้าหมายที่แถลงไว้เพื่อฟื้นฟูการเข้าถึงที่ศักดิ์สิทธิ์ในและใกล้ เยรูซาเล็มของคริสเตียน “เยรูซาเล็ม” เป็นนครศักดิ์สิทธิ์และสัญลักษณ์ของ “ศาสนาอิบราฮัมหลักทั้งสาม” ( ศาสนายูดาย ศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลาม )
... ภูมิหลังสงครามครูเสดเกิดเมื่อเซลจุคเติร์ก ( ตุรกีในปัจจุบัน ) มีชัยชนะอย่างเด็ดขาดเหนือกองทัพไบแซนไทน์เมื่อ ค.ศ. 1071 และตัดการเข้าถึงเยรูซาเล็มของคริสเตียน จักรพรรดิไบแซนไทน์ อเล็กซิสที่ 1 ทรงเกรงว่าเอเชียไมเนอร์ทั้งหมดจะถูกบุกรุก พระองค์จึงทรงเรียกร้องผู้นำคริสเตียนตะวันตกและสันตะปาปาให้มาช่วยเหลือโดยไปจาริกแสวงบุญหรือ “สงครามศาสนาเพื่อปลดปล่อยเยรูซาเล็มจากการปกครองของมุสลิม” อีกสาเหตุหนึ่งเป็นเพราะการทำลายล้างสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของคริสเตียนเป็นจำนวนมากและการเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนภายใต้อัล-ฮาคิม กาหลิปหรือเคาะลิฟะราชวงศ์ฟาติมียะห์
... “สงครามครูเสด” ส่งผลกระทบใหญ่หลวงทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมต่อยุโรปตะวันตก มันส่งผลให้จักรวรรดิไบแซนไทน์ที่นับถือคริสต์อ่อนแอลงมาก และเสียให้แก่เติร์กมุสลิมในอีกหลายศตวรรษต่อมา “เรกองกิสตา” (Reconquista ) สงครามอันยาวนานในคาบสมุทรไอบีเรีย ซึ่งกำลังคริสเตียนพิชิตคาบสมุทรคืนจากมุสลิม มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสงครามครูเสด
... 4 – ชื่อ Notre-Dame de Paris มีความหมายว่า “พระแม่แห่งปารีส" มหาวิหารแห่งนี้ได้อุทิศให้กับ “พระแม่มารีย์” หรือ พระนางมารีย์พรหมจารี สตรีชาวยิวกาลิเลี่ยน แห่งนาซาเล็ท ที่ให้กำเนิดพระเยซู ในสภาสังคายนาวาติกันครั้งที่สอง ของสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 ได้แสดงถึงความสำคัญของพระแม่มารีย์ว่าเป็น “มารดาแห่งคริสตจักร” ด้วย, คริสตจักรโรมันคาทอลิกเชื่อว่าพระนางจะช่วยเหลือผู้ศรัทธาโดยเป็นตัวแทนอ้อนวอนพระผู้เป็นเจ้าให้
... 5 – “สถาปัตยกรรมศิลปะแบบโกธิค” ที่โดดเด่น
Gothic architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่รุ่งเรืองในช่วงกลางสมัยกลางถึงปลายสมัยกลาง โดยวิวัฒนาการมาจากสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ สถาปัตยกรรมกอทิกเกิดขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง 16 โดยเริ่มขึ้นในประเทศฝรั่งเศสก่อนที่จะเผยแพร่ไปยังประเทศอังกฤษ และต่อไปยังทวีปยุโรปโดยทั่วไป
... สมัยโกธิค หรือ กอธิคนี้ เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่ก่อให้เกิดความสะเทือนอารมณ์ จะมีการนำเอาประติมากรรมมาประดับตามภายนอกของอาคารมากมาย ที่ต่างจากสมัยโรมาเนสก์ก่อนหน้านั้นที่ เสาใหญ่ ผนังหนาบึกบึน ตกแต่งน้อย อารมณ์แบบหนักบึกบึน ทื่อไม่ตกแต่งมาก )
... ลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมแบบกอทิกที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการใช้ “เพดานสันโค้งแหลม” หรือ rib vault ที่พัฒนาหลังคาเป็นระบบ จุดโค้งแหลม (point vault) และ “ค้ำยันแบบปีก” หรือ flying buttress ไม่ใช้ระบบกำแพงรับน้ำหนักแบบเดิมที่หนากว่า, ทำให้สามารถทำให้ผนังด้านข้างบางลง เปิดช่องแสงเข้ามาในอาคารได้มากกว่าสมัยก่อน จึงเกิดการทำ “ช่องหน้าต่างดอกกุหลาบ” ที่เป็นกระจกหลากสีสวยงามและแสงสีแสงเงาที่เกิดขึ้นยามปะทะแสงแดด จะทำให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจต่อผู้เข้ามาทำกิจกรรมทางศาสนาได้ดีกว่าสมัยก่อนนั้น
... 6 – “ช่วงปี 1790-1799 ถูกทำลายสมัยปฏิวัติฝรั่งเศส”
... ในปีคศ. 1793 ระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศสมหาวิหารได้ถูกเปลี่ยนการใช้งานสนองกับพวก “ลัทธินิยมเหตุผล” ไม่ได้ใช้เป็น “ศาสนาสถาน” เช่น เป็นที่เก็บอาหาร หรือ กิจกรรมที่ไม่ใช่ศาสนา , ในช่วงเวลานี้เองสมบัติของโบสถ์หลายแห่งถูกทำลายหรือถูกปล้น รูปปั้นพระมหากษัตริย์สมัยโบราณในคำภีร์ไบเบิ้ล จำนวน 28พระองค์ของ ที่ตั้งอยู่ประตูด้านทิศตะวันตกถูกตัดหัวหมด เพราะถูกเข้าใจผิดว่าเป็นรูปปั้นของกษัตริย์ของฝรั่งเศส ( ความเข้าใจผิด ทำให้กระทำบางอย่างผิดจุดประสงค์ ) หลายศรีษะดังกล่าวถูกขุดพบภายหลังในช่วงปี 1977 ในบริเวณใกล้เคียงและปัจจุบันมีการแสดงที่ Musée de Cluny
... นอกจากนั้นในบางชั่วระยะเวลา ก็ยังเอา “เทพธิดาแห่งเสรีภาพ” เข้าไปตั้งแทนที่ “พระแม่มารีพรมจารีย์” ในแท่นบูชาหลายแห่งด้วย นอกจากนั้นรูปปั้นของประตูทางเข้าก็ถูกทำลายเกือบหมด ยกเว้นแต่รูปปั้นพระแม่มารีย์ที่ประตูไปสู่ระเบียงคต แต่ระฆังใหญ่รอดพ้นจากการนำลงมาหลอมได้
... 7 – “นโปเลียนเปลี่ยนกลับมาเป็นโบสถ์อีกครั้ง” เดือนกรกฎาคมปี 1801 ผู้ปกครองคนใหม่ “นโปเลียนโบนาปาร์ต” ได้ลงนามในข้อตกลงเพื่อฟื้นฟูมหาวิหารนอเทรอดาม ให้กลับเป็น “โบสถ์” ศาสนสถานอีกครั้ง และทำสำเร็จเปิดเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 เมษายน 1802
... 8 – โบสถ์แห่งนี้เป็น “สถานที่ราชาภิเษกของนโปเลียนโบนาปาร์ต เมื่อ 2 ธันวาคม 1804” โดย “นโปเลียนที่1” เคยเป็นขุนนางทหารของฝรั่งเศสที่สถาปนาตัวเองเป็นกษัตริย์หลังจากที่ก่อนนั้นในฝรั่งเศสมีการโค่นระบบกษัตริย์ลงในปี 1789 , นโปเลียนเกิดที่เกาะคอร์ซิก้าในปี 1769 แค่หนึ่งปีให้หลังจากที่ฝรั่งเศสซื้อเกาะใหญ่นี้จาก สาธารณรัฐเจนัว ในปี 1768 (อยู่ที่ดินแดนลิกูเรียทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของฝั่งทะเลอิตาลี ในประเทศอิตาลีปัจจุบัน ) ในช่วงแรกนโปเลียนถูกมองว่าเป็นคนต่างชาติคนหนึ่ง ไม่ใช่คนฝรั่งเศส
... เมื่อการปฏิวัติฝรั่งเศสประทุขึ้นในปี ค.ศ. 1789 ร้อยโทโบนาปาร์ต ( ยศในขณะนั้น ) ได้อยู่ในเหตุการณ์ที่กรุงปารีส โดยเป็นฝ่ายสังเกตการณ์ เขาได้เฝ้าดูประชาชนบุกพระราชวังตุยเลอรีด้วยความขยะแขยง,มิตรภาพอันดีระหว่างเขากับพวก “พวกฌากอแบ็ง” แกนนำในการล้มเจ้าฝรั่งเศส ทำให้เขาถูกจับในช่วงสั้นๆภายหลังการสิ้นอำนาจของ “รอแบ็สปีแยร์” ในวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1794
... เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม ค.ศ. 1800 (วันคริสต์มาสอีฟ) ได้มีการลอบวางระเบิดนโปเลียนที่ถนนซังต์-นิเคส ในกรุงปารีส ขณะที่ขบวนรถม้าของเขากำลังมุ่งหน้าไปโรงโอเปร่า โฌแซ็ฟ ฟูเช ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีมหาดไทยในสมัยนั้น ได้พิสูจน์ว่าอาชญากรรมดังกล่าวเป็นฝีมือกลุ่มฝักใฝ่กษัตริย์ แต่นโปเลียนเชื่อว่าเป็นฝีมือของ “พวกฌากอแบ็ง” แนวร่วมที่เขาร่วมรบล้มระบบกษัตริย์คิดทรยศเขาเอง ( เหมือนคณะราษฎรปลอมในไทย ที่ขัดแย้งกันเองหลังจากล้มเจ้า 1932 หรือ 2475 )
... แต่สุดท้าย “นโปเลียนโบนาปาร์ต” ผู้ที่เคยต่อต้านและโค่นล้มระบบกษัตริย์ก็ราชาภิเษกตัวเองเป็นกษัตริย์เสียเอง ที่ในโบสถ์นอเทรอดามแห่งนี้ ในปี 1804
... 9 – “สัญลักษณ์ของศูนย์กลางฝรั่งเศส” ... มหาวิหารแห่งนี้เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดของเมืองปารีสและประเทศฝรั่งเศส ในฐานะมหาวิหารแห่งอัครสังฆมณฑลแห่งกรุงปารีส มีผู้เข้าชมประมาณ12 ล้านคนต่อปี เป็นโบราณสถานที่มีผู้เยี่ยมชมมากที่สุดในปารีส
... 10 – “ผู้เป็นเจ้าของโบสถ์นอเทรอดามตามกฎหมาย” ภายใต้กฎหมายปี 1905 โบสถ์ Notre-Dame de Paris เป็นหนึ่งใน 70 โบสถ์ในปารีสที่สร้างขึ้นก่อนปี 1905 นั้นซึ่ง “เป็นสมบัติของประเทศฝรั่งเศส” ในขณะที่ตัวโบสถ์เองเป็นสิทธิของ “คริสตจักรคาทอลิก” เป็นผู้รับผลประโยชน์ที่มีสิทธิพิเศษที่จะใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางศาสนา แต่อัครสังฆมณฑลต้องมีหน้าที่หาเงินมาจ่ายให้พนักงานเพื่อรักษาความปลอดภัย การจ่ายความร้อน การทำความสะอาดและเพื่อให้แน่ใจว่ามหาวิหารแห่งนี้เปิดให้เข้าชมฟรี แต่อัครสังฆมณฑลผู้เข้ามาใช้สถานที่นี้ไม่ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐฝรั่งเศส
... 11 -”ไฟไหม้ใหญ่ 15 เมษายน 2019”
... ในขณะที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงและซ่อมแซมหลังคาของ มหาวิหารนอเทรอดาม ได้เกิดเพลิงไหม้เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2019 ก่อนเวลา 19.00 น. การเผาไหม้ใช้เวลาประมาณ 15 ชั่วโมงกว่าจะคุมเพลิงได้ มหาวิหารได้รับความเสียหายร้ายแรงรวมถึงการทำลายของยอดแหลม Spire และหลังคาส่วนใหญ่ที่อยู่เหนือเพดานโค้งหิน
... นักผจญเพลิงสามารถช่วยปกป้องอาคารหอคอย กำแพง ค้ำยัน ( Flying Buttress ที่เป็นเอกลักษณ์ของศิลปะแบบโกธิค ) ท่อออร์แกนที่สำหรับปล่อยเสียงเพลงในโบสถ์ และหน้าต่างกระจกหลากสี รูปปั้นบนหลังคายอดแหลมถูกถอดเคลื่อนย้ายออกไปทำความสะอาด และได้รับการช่วยเหลือในระหว่างเกิดไฟไหม้ แต่บางส่วนของเพดานหินถล่ม การสืบสวนเบื้องต้นชี้ว่าโครงสร้างหลักยังคงมั่นคง
... 12 – ไฟไหม้มัสยิด อัลอักซอ” ที่เยรูซาเลมวันเดียวกัน 15 เมษายน 2019 เช่นเดียวกับนอเทรอดาม
... “มัสยิดอัลอักศอ” Al-Aqsa Mosque เป็นมัสยิดซึ่งตั้งอยู่บนเนินพระวิหารในเขตเมืองเก่าของกรุงเยรูซาเลม ถือเป็น “สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดลำดับสามของศาสนาอิสลาม” มัสยิดแห่งนี้เป็นเพียงศาลาหลังเล็ก ๆ ที่สร้างขึ้นโดยอุมัร เคาะลีฟะฮ์คนที่สองของรอชิดีน ก่อนที่จะได้รับการสร้างใหม่และขยับขยายในสมัยราชวงศ์อุมัยยะฮ์จนแล้วเสร็จใน ค.ศ. 705
... ชาวมุสลิมเชื่อว่า “องค์อัลลอฮ์” ได้พานบีมุฮัมมัดเดินทางข้ามจากสุเหร่าศักดิ์สิทธิ์ในนครมักกะฮ์มายัง “อัลอักศอ” ( เรียกเหตุการณ์นี้ว่า อิสรออ์ ) และนบีมุฮัมมัดถูกรับขึ้นสู่สวรรค์ไปพบอัลลอฮ์จาก “มัสยิดอัลอักศอ” แห่งนี้ ( เรียกเหตุการณ์นี้ว่า เมียะอ์รอจญ์ )
... 13 – “บริบททางการเมืองช่วงโดนเผา”
... ตอนที่โดนเผา 15 เมษายน 2019 นั้น “ฝรั่งเศส” กำลังมีการประท้วงที่ยาวนานขับไล่นาย “มาครง” ประธานาธิบดีหนุ่มที่เคยเป็นเด็กปั้นของนายธนาคารในวอลล์สตรีท ที่มีอำนาจมากในประเทศตะวันตก ที่ตอนหลังเขาพยายามจะดิ้นให้หลุดจากอิทธิพลของตะวันตก ที่แสดงออกในหลายๆอย่าง เช่น เดินหน้าโครงการท่อแก๊สสายเหนือ 2 หรือ Nord Steam 2 ที่มีศูนย์กลางการส่งอยู่ที่เยอรมัน ที่รับมาจากรัสเซียไปขายให้ยุโรป โดยมีนายทุนพลังงานของยุโรปมากมายที่เข้าลงทุนร่วม, โครงการค้าขายกับ “อิหร่าน”โดยสามชาติใหญ่ทั้ง อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน ยืนยันจะจับมือกันหาทางค้าขายกับอิหร่านต่อไปและร่วมกันตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมาชื่อว่า “Instex” ในการค้าขายกับอิหร่าน เมื่อต้นปี 2019 ที่ผ่านมา
... ปีที่แล้ว “อเมริกา” มีการขัดแย้งกับผู้นำของประเทศในยุโรป “กลุ่มนาโต้” เพราะว่า อเมริกาเรียกร้องให้ประเทศเหล่านั้นต้องจ่ายเงินค่าธรรมเนียมให้แก่นาโต้มากขึ้นในการทำกิจกรรมของกลุ่ม เช่นส่งทหารมาประจำตามที่ต่างๆทั่วยุโรป ( ที่มีการสร้างผีคอมมิวนิสต์ขึ้นมาสมัยสงครามเย็น ตอนนี้ก็สร้างผีรัสเซียมาทำให้ยุโรปกลัว “รัสโซโฟเบีย” ) โดยต้องจ่ายเพิ่มมากขึ้นเป็นร้อยละ 2 ของรายได้ผลผลิตมวลรวมประชาชาติ หรือ จีดีพี ที่ทำให้ประเทศยุโรปไม่พอใจ รวมทั้งฝรั่งเศสเองด้วย จนอเมริกาขู่อาจจะถอนตัวออกจากนาโต้
... รวมทั้งปัญหาเรื่อง “ซีเรีย” ที่อเมริกาบอกว่าจะถอนทหารออกจากซีเรีย ขณะที่ฝรั่งเศสยังไม่อยากถอนออก เป็นต้น
... อิตาลี เยอรมัน จะเข้าร่วมกับโครงการ “ทางสายไหมใหม่” กับ “จีน” ขณะที่ฝรั่งเศสเองก็สนใจ และจีนก็เพิ่งซื้อเครื่องบินแอร์บัสของฝรั่งเศส 300 ลำ ชุดใหญ่ จนมีผลต่อการผลิตของโบอิ้งของอเมริกา และโบอิ้งหุ้นตก โดยเฉพาะช่วงใกล้เคียงกับช่วงเครื่องบิน 737 แม๊กซ์ 8 ตกที่เอธิโอเปีย
... 14 – “บริบททางศาสนา สงครามครูเสดใหม่” ก่อนหน้านั้นนักวิเคราะห์ยุโรปเคยเตือนคนของเขาแล้วว่า เมื่อมีสงครามในอาหรับ ทั้งซีเรีย อิรัก ลิเบีย ทำให้มีผู้อพยพมุสลิมหลั่งไหลเข้ามาในยุโรปมากมาย ทำให้เกิดกลุ่มต่อต้านมุสลิมขวาจัดในประเทศ และเกิดกระแส “ความเกลียดกลัวมุสลิม” หรือIslamophobia ส่งต่อทั่วยุโรปอย่างช้าๆ รวมทั้งลามไปทั่วโลก ล่าสุดที่ “นิวซีแลนด์” ที่เมือง ไครสต์เชิร์ช
ก็มีการบุกยิงที่มัสยิดมีคนเสียชีวิต 50 คน และบาดเจ็บประมาณ 50 คน
... หลังไฟไหม้มหาวิหารประธานาธิบดีฝรั่งเศส นายเอ็มมานูเอลมาครอง ได้ปฏิญาณว่ามหาวิหารนอเทรอดามจะถูกบูรณะใหม่ แม้ว่าจะไม่รู้ว่าจะใช้เวลานานแค่ไหน
Cr.Jeerachart Jongsomchai
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/