ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดการเงินปั่นป่วนหลังจากผลตอบแทน พันธบัตร 10 ปีของสหรัฐ (ที่อยู่ที่ 2.39% ณ 29 มี.ค.) ปรับลดลงมา ต่ำกว่า 3 เดือน (ที่ 2.43%) จนเกิดInverted Yield Curve หรือ ภาวะผลตอบแทน พันธบัตรกลับหัว
(คือพันธบัตรอายุยาว ที่สะท้อนศักยภาพเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ ต่ำกว่าอายุสั้นที่สะท้อนต้นทุนทางการเงิน) และเป็นดัชนีชี้นำภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession)
นอกจากสัญญาณดังกล่าวแล้วเครื่องชี้ เศรษฐกิจอีก 2 ตัวก็บ่งชี้ถึงความเสี่ยงภาวะ เศรษฐกิจโลกถดถอย นั่นคือ (1) การถดถอย ของภาคอุตสาหกรรมทั่วโลก เห็นได้จาก ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (Manufacturing PMI) ทั่วโลกที่อยู่ใน แดนลบระดับเดียวกับปี 2016 ซึ่งเป็น ปีที่เศรษฐกิจจีนชะลอตัวลงแรง และ (2) การชะลอตัวลงของการค้าทั่วโลกโดยหากพิจารณาการส่งออกของประเทศ ในเอเชียจะเห็นว่าหดตัวลงอย่างรุนแรง ใน 2 เดือนแรกของปี
อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนมองว่าตลาดกังวลความเสี่ยงเกินไป โดยมองว่า หากไม่มี "อุบัติเหตุ" ขนาดใหญ่แล้ว เศรษฐกิจที่ ชะลอลงจะเริ่มมีสัญญาณดีขึ้นในครึ่งปีหลัง เป็นอย่างช้า จาก 3 เหตุผลหลักเหตุผลแรก การเกิด Inverted Yield Curve ครั้งนี้ ไม่น่าจะเป็นสัญญาณของ Recession เพราะสัญญาณครั้งนี้ ไม่ได้เป็นผลจากนักลงทุนที่กลัวว่าเศรษฐกิจ และเงินเฟ้อจะตกต่ำมากในอนาคต แต่เป็นผลจากการกระทำของธนาคารกลาง สหรัฐ (Fed) ที่ส่งสัญญาณไม่ขึ้นดอกเบี้ย และประกาศยุติการลดทอนงบดุล (Quantitative Tightening: QT) ในเดือน ต.ค. ปีนี้ แต่ในเชิงปฏิบัติเป็นการ "แอบทำ" มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) อีกครั้ง
โดย Fed จะยังคงลดทอนปริมาณเงิน ฝั่งตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัย หนุนหลัง (MBS) จำนวน 2 หมื่นล้าน ดอลลารต่อเดือน และนำเงินที่ได้นี้ กลับไปซื้อพันธบัตรรัฐบาล ดังนั้น ในภาพรวม งบดุลของ Fed จะไม่เพิ่มขึ้น แต่จะเป็นการกลับไปซื้อพันธบัตร ระยะยาวเพิ่มขึ้น กดดันให้ผลตอบแทน พันธบัตรระยะยาวลดลงจาก 2.6% มาอยู่ที่ ประมาณ 2.4%
ทั้งนี้ แม้ว่าการทำนโยบายนี้จะทำให้ สภาพคล่องกลับมาเพิ่มขึ้น (โดยเฉพาะในฝั่ง ตลาดพันธบัตร) รวมถึงลดทอนความเสี่ยง ที่ผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวจะกระชาก ขึ้นจากการที่รัฐบาลทรัมป์ทำนโยบายการคลัง ขาดดุลมากขึ้น (ปีละกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์) แต่ผู้เขียนเห็นว่า นโยบาย "แอบทำ" QE จะกลับมาสร้างฟองสบู่ให้กับตลาดอีกครั้ง รวมถึงทำให้เกิด Inverted Yield Curve ส่งผลให้นักลงทุนกังวลว่าจะเกิด Recession ขึ้น และอาจนำไปสู่ภาวะ Self-fulfilling Prophecy หรือภาวะที่คำทำนายว่าจะเกิด Recession เป็นจริงเพราะความเชื่อของผู้คน
เหตุผลที่สอง นับจากต้นปีที่ผ่านมา ทางการของเศรษฐกิจขนาดใหญ่ได้ร่วมมือ กระตุ้นเศรษฐกิจเป็นครั้งแรกหลังจาก วิกฤติการเงินโลก ซึ่งน่าจะมีผลทำให้ เศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นได้ จาก
(1) Fed ที่กลับท่าทีจากคุมเข้ม (Hawkish) มาเป็นผ่อนคลาย (Dovish) ทำให้ภาวะทางการเงิน (Financial Condition) ของสหรัฐผ่อนคลายลง เห็นได้ จากอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัย 30 ปี ที่ลดลงจาก 5.2% ในช่วงไตรมาส 3 ปีที่แล้ว มาเป็น 4.5% ในปัจจุบัน ซึ่งจากการคำนวณของ ผู้เขียนแล้ว จะทำให้ครัวเรือนสหรัฐมีเงินจับจ่าย มากขึ้นประมาณ 5.6 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 0.3% ของ GDP สหรัฐ
นอกจากนั้น ดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล ที่ลดลง ทำให้ภาระทางการเงินของรัฐบาล สหรัฐลดลง โดยหากพิจารณาผลตอบแทน พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 7 ปี (ซึ่งเป็น อายุเฉลี่ย) จะพบว่าลดลงจากช่วงไตรมาส 3 ที่ 3.1% เป็น 2.3% ซึ่งจะทำให้ภาระหนี้ ของรัฐบาลสหรัฐลดลงถึงกว่า 1.7 แสนล้าน ดอลลาร์ทำให้รัฐบาลสามารถนำเงิน จำนวนนี้ไปกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากขึ้น และ/หรือ ทำให้ความเสี่ยงของการเกิด วิกฤติการคลัง เช่นเดียวกับปัญหา "หน้าผาทางการคลัง" รวมถึงปัญหาหนี้ สาธารณะสหรัฐชนเพดานลดลง
(2) รัฐบาลจีนกระตุ้นเศรษฐกิจผ่าน ทั้งการลดอัตราการกันสำรองถึง 5 ครั้ง ตั้งแต่ปีก่อน และการกระตุ้นผ่านการ ใช้จ่ายของรัฐบาลกลาง รัฐบาลท้องถิ่น และการลดภาษีรายได้และภาษีการบริโภค โดยมีเม็ดเงินรวม 6.2 ล้านล้านหยวน (ประมาณ 7% ของ GDP)
มาตรการเหล่านี้ ผสมผสานกับ แนวโน้มสงครามการค้าที่ดูจะผ่อนคลาย มากขึ้นน่าจะมีส่วนสร้างความมั่นใจ ในเศรษฐกิจให้กับประชาชนและภาค ธุรกิจจีนนำไปสู่การบริโภคและลงทุนมากขึ้น ใน 3-6 เดือนข้างหน้า ซึ่งตัวเลขล่าสุดจากดัชนี ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ทั้งของทางการ และภาคเอกชนของจีนต่างเริ่มส่งสัญญาณ บวกแล้ว
(3) ทางการยุโรปที่ธนาคารกลาง ยุโรป (ECB) นอกจากจะส่งสัญญาณ ไม่ขึ้นดอกเบี้ย และออกมาตรการสินเชื่อ ดอกเบี้ยต่ำ (TLTRO) ให้กับธนาคารพาณิชย์แล้วรัฐบาลของประเทศต่างๆ ในยุโรปโดยเฉพาะ อิตาลี เยอรมนี และฝรั่งเศส มีแนวโน้ม ที่จะทำมาตรการการคลังโดยเม็ดเงินรวม ประมาณ 0.8% of GDP ด้วย ซึ่งอาจ ทำให้เศรษฐกิจยูโรโซนขยายตัวเพิ่มขึ้น 0.2-0.3% จากกรณีฐาน เหตุผลสุดท้าย แม้ว่าการชะลอตัว ลงของภาคการผลิต (โดยเฉพาะสินค้า อุตสาหกรรม) จะเป็นผลจากวัฏจักรสินค้า อิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นขาลง เห็นได้จาก สัดส่วนสินค้าคงคลังต่อสินค้าจัดส่ง (Inventory to shipment Ratio) ที่ปรับสูงขึ้นโดยเฉพาะในสหรัฐ
แต่เป็นไปได้ว่าในปี 2020 จะเริ่มเห็น การฟื้นตัวของภาคการผลิตโดยเฉพาะ ในสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จากการเปิดตัวของ เทคโนโลยี 5G ที่มีประสิทธิภาพมากกว่า 4G อย่างมาก เช่น มีความเร็วมากกว่า ถึง 100 เท่า และสามารถเชื่อมโยงกับ ผลิตภัณฑ์อื่นๆ หรือ Internet of Things (IoTs) ซี่งประสิทธิภาพที่สูงเช่นนี้ จะทำให้ความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ที่ตอบสนอง 5G ทั่วโลกเริ่มกลับมา โดยมีการ ประมาณการว่าในปี 2024 กว่า 90% ของ ชาวสหรัฐจะเปลี่ยนมาใช้ 5G และในปี 2030 สินค้าอิเล็กทรอนิกส์กว่า 1.3 แสนล้านเครื่อง ทั่วโลกจะรองรับ 5G เพิ่มจาก 1.1 หมื่น ล้านเครื่องในปัจจุบัน ซึ่งเทคโนโลยีใหม่นี้ จะทำให้ความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ต่างๆ เพิ่มขึ้นในระยะต่อไป
กล่าวโดยสรุปคือ จาก 3 เหตุผลข้างต้น ทำให้ผู้เขียนเชื่อว่าจะไม่เกิดภาวะ เศรษฐกิจโลกถดถอยในปี 2020 อย่างไร ก็ตาม ผู้เขียนเชื่อว่าในระยะต่อไป เศรษฐกิจโลกจะโตต่ำและซึมยาว (หรือที่ เรียกว่า Secular Stagnation) ที่สินค้า มีต้นทุนการผลิตต่ำลง จึงมีปริมาณ (Supply) มาก แต่ความต้องการซื้อ (Demand) จะอ่อนแอระยะยาว ซึ่งจะนำ ไปสู่ภาวะ New Normal ที่เศรษฐกิจโตต่ำ การค้าน้อยลง เงินเฟ้อต่ำ และผลตอบแทน การลงทุนต่ำและผันผวน
New normal กลับมาแล้ว นักธุรกิจ และนักลงทุน เตรียมพร้อมแล้วหรือยัง
บทความนี้เป็นความเห็นส่วนตัวของ ผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องใดๆ กับหน่วยงาน ที่ผู้เขียนสังกัดอยู่
คอลัมน์ Global Vision: ดร.ปิยศักดิ์ มานะสันต์
This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
Source: กรุงเทพธุรกิจ
Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
----------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/