7-11 เครือข่ายร้านสะดวกซื้อและมินิมาร์ทใหญ่ของโลกที่มีสาขามาก 60,000 สาขาทั่วโลก แต่ทำไมกลับจอดรถตายสนิทใน “อินโดนีเซีย” ประเทศมุสลิมใหญ่ที่สุดในโลก ในปี 2009 เป็นปีแรกที่ 7-11 ได้เปิดสาขาและบุกตลาดในอินโดนีเซีย
โดยเน้นที่เกาะชวาและเมืองหลวงของประเทศ โดยรายละเอียดนั้นที่นั่นมีพฤติกรรมการบริโภคแบบซื้อแล้วนั่งดื่มกินในร้านที่จะจัดให้มีที่นั่ง โต๊ะเล็ก เคานท์เตอร์เก้าอี้ให้ลูกค้ามานั่งทานได้ ( คล้ายๆกับกัมพูชา และเวียตนาม แต่จะต่างจากไทย ) โดยร่วมมือกับนักธุรกิจท้องถิ่นอินโดนีเซียอย่างบริษัท PT Modern Internasional
... ในปี 2009 ที่ 7-11 เข้ามานั้น “อินโดนีเซีย” มีเจ้าตลาดเดิมอยู่ก่อนแล้ว คือ Alfamart ที่เป็นบริษัทของคนอินโดนีเซียเอง ที่ตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 1989 ,ที่มีสาขาทั้งหมดในปี1995 จำนวน 1,293 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเกาะชวา ที่ในปี 2009 พวกเขาได้เข้าระดมทุนในตลาดหุ้นด้วย นอกจากนั้นบริษัทนี้ยังเป็นเจ้าของร้าน Lawson ในอินโดนีเซีย จากนั้นในปี 2014 พวกเขายังขยายการเติบโตไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่าง “ฟิลิปปินส์” ด้วย และอีกเจ้าของส่วนแบ่งตลาดใหญ่อีกเจ้าคือ Indomaret ที่ก่อตั้งครั้งแรกในปี 1988 และในปี 2014 มีสาขามากถึง 10,600 แห่ง
... ในช่วงปีแรกธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่นสวยงาม โดยกลุ่มลูกค้าหลักคือ นักเรียน นักศึกษา อายุระหว่าง 18 – 25 ปี ที่จะชอบซื้อขนมคบเคี้ยวแล้วเครื่องดื่มมาดื่มแล้วจับกลุ่มนั่งพูดคุยกันส่งเสียงดังในร้าน ประมาณ 1-3 ชั่วโมงต่อการมาร้านหนึ่งครั้ง ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน ที่ร้านก็มีฟรี WiFi เอาไว้บริการดึงดูดลูกค้าด้วย
.. ในปี 2010 เพียงปีเดียว 7-11 ในอินโดนีเซีย ก็สามารถขยายสาขาได้ 21 ที่และในปี 2012 อีกถึง 100 สาขา ตามมาด้วยในปี 2014 มีทั้งหมด 190 สาขา ที่เมืองใหญ่และส่วนใหญ่คือเมืองในเกาะชวา
... แต่ในตอนนั้น 2009-2015 ร้าน 7-11 ในอินโดนีเซียเองก็มีปัญหาใหญ่ของร้านอยู่บ้างคือ คนมาซื้อเครื่องดื่มแล้วนั่งในร้านนานไปหน่อย เช่น ดื่มขวดเดียวแต่นั่งพูดคุยกันนาน 3 ชั่วโมง เป็นต้น
... ในระหว่างสิบปี 2007 – 2016 นั้น แม้ว่า 7-11 ยังสามารถสู้ได้บ้างแต่ก็ได้ส่วนแบ่งการตลาดน้อยมากแค่ร้อยละ 0.70 ที่จำนวน 190 ร้าน ขณะที่ Alfamart ได้ส่วนแบ่งร้อยละ 38 เป็นจำนวน 10,000 ร้าน มาเป็นที่2 ขณะที่ Indomaret มาที่ 1 ร้อยละ 47 คิดเป็นจำนวน 15,000 ร้านทั่วอินโดนีเซีย
... จุดเปลี่ยน ฝันร้ายของ 7-11 คือ ในปี 2015 มีการออกกฎหมาย “ห้ามขายเครื่องมือแอลกอฮอล์ในร้านสะดวกซื้อและมินิมาร์ท” ตามหลักการของศาสนาอิสลาม
... จากจุดนี้เองยิ่งเป็นการส่ง 7-11 ไปลงสุสานนรกเร็วขึ้น เพราะปรากฏว่า ยอดขายยิ่งลดลงอีกร้อยละ 24 ในปีต่อมาคือ 2016 และเริ่มมีการทยอยปิดร้าน 25 สาขา และในปีต่อมา 2017 จึงปิดกิจการหมดทุกสาขา
... “สาเหตุของความล้มเหลว”
... นอกจากสาเหตุหลักเรื่องการออกฎหมายห้ามการซื้อขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างเด็ดขาดในร้านสะดวกซื้อและมินิมาร์ท ทำให้สะเทือนไตวาย 7-11 โดยตรงแล้ว ยังมีอีกหลายสาเหตุเช่น ร้านของพวกเขานั้นกระจุกอยู่ในแค่เมืองใหญ่โดยเฉพาะในเกาะชวา ไม่กระจายไปดูดรายได้ทั่วประเทศเหมือนเจ้าตลาดเดิม ซึ่งก็มาจากข้อจำกัดเรื่องกฏหมายสิทธิการเป็นเจ้าของ ที่พวกเขาต้องลงทุนร่วมกับนักลงทุนท้องถิ่น ที่ทำให้การขยายกิจการไปตามท้องถิ่นต่างๆ ไกลๆ ทำได้ยากกว่าสองเจ้าแรก รวมทั้งการเลือกผู้ร่วมกิจการท้องถิ่นอย่าง PT Modern Internasional นั้นก็ยังไม่มีศักยภาพที่แข็งแกร่งพอที่จะสู้รบกับ Alfamart และ Indomaret ได้อย่างใกล้เคียง
... แต่แม้ปิดกิจการไปแล้ว แต่ทาง 7-11 ก็ได้ออกมาประกาศว่าจะกลับมาใหม่ในอนาคต โดยมองว่าประตูด่านแรกคือการหา Joint Venture ผู้ลงทุนร่วมที่มีอำนาจในการแข่งขันที่สูงขึ้นกว่าเจ้าเดิม
... ในอดีตนั้น 7-11 นั้น เข้าไปลงทุนครั้งแรกใน “ญี่ปุ่น” ในปี 1974 โดยจับมือกับ อิโตะ โยคาโด จนปัจจุบันมีสาขามากที่สุดในโลกที่จำนวน 20,000 สาขา จากจำนวน 60,000 สาขาทั่วโลก ขณะที่ไทยมีมากเป็นอันดับสองรองจากญี่ปุ่นที่ 10,000 สาขา
( ... บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ บมจ.ซีพี ออลล์ (ชื่อเดิม: บมจ.ซีพีเซเว่นอีเลฟเว่น) ในเครือเจริญโภคภัณฑ์ เป็นผู้บริหารแฟรนไชส์เซเว่น-อีเลฟเว่นในประเทศไทย จากการลงนามในสัญญา ซื้อสิทธิประกอบกิจการ จากเจ้าของสิทธิ์ เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 1988 ( หรือพ.ศ. 2531 )
.. ปัจจุบันมีผู้บริหารระดับสูงคือ นายก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ เป็นประธานกรรมการบริหาร ต่อมาในปี 2002 ( พ.ศ. 2545 ) ซีพีออลล์ขยายสาขาเซเว่น-อีเลฟเว่น ไปยังสถานีบริการน้ำมัน ปตท.เกือบทุกแห่ง เพื่อให้ครอบคลุมทั่วประเทศไทย ทั้งในรูปแบบทั่วไป ระดับสูง และในสวน ปตท. (PTT Park) ส่งผลให้มีผู้ใช้บริการมากกว่า 4 ล้านคนต่อวัน
ในปัจจุบัน เซเว่น-อีเลฟเว่นในประเทศไทย มีจำนวนประมาณ 10,000 สาขา (ณ เดือนมกราคม 2561) เฉพาะในกรุงเทพมหานครมีมากกว่า 500 สาขา รองลงมาคือเชียงใหม่ มีมากกว่า 200 สาขา ซึ่งไทยมีสาขามากเป็นอันดับ 2 รองจาก ญี่ปุ่น นอกจากนี้ ยังถือเป็นร้านค้าปลีกที่มีเครือข่ายมาก โดยมียอดขายเฉลี่ย 65,019 บาท ต่อวันต่อสาขา )
Cr.Jeerachart Jongsomchai
สนับสนุนข่าวโดย ICMarkets
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/