กาลครั้งหนึ่งกองทัพไบแซนไทน์ต้องการจะตีเมืองเมืองนึง ซึ่งเมืองนี้มีกำแพงรอบเมืองที่แข็งแกร่งมาก แถมเมืองก็ใหญ่มากด้วย จึงต้องแบ่งทัพเป็นสี่ด้าน เพื่อตีกำแพงเมืองสี่ทิศ ปัญหาคือตอนนี้กองทัพไบแซนไทน์กำลังไม่ค่อยลงรอยกัน
นายพลสี่คนก็กลัวว่าถ้าถึงตอนบุกเมืองแล้วนายพลอีกสามคนที่เหลือหักหลังไม่ยอมโจมตีพร้อมกัน นั่นหมายถึงความตายของตนและผู้ติดตาม นอกจากนี้ พอถึงตอนนัดแนะจะโจมตีเมือง อย่างเช่นพรุ่งนี้พระอาทิตย์ขึ้น ให้ทุกคนโจมตีพร้อมกัน เราก็ต้องส่งม้าเร็วไปสื่อสารกับนายพลอีกสามคน ปัญหาก็คือ เราส่งม้าเร็วไปแล้วถ้าโดนสกัดจับระหว่างทาง หรือ ถ้านายพลคนไหนเกิดต้องการหักหลังส่งม้าเร็วกลับมาบอกว่าคอนเฟิรมแต่ตัวเองไม่เข้าโจมตี หรือ ถ้าม้าโดนสกัดจับระหว่างทางโดยศัตรู แล้วศัตรูส่งข่าวลวงกลับมาให้แทน นั่นก็หมายถึงความตายของเราอีกเช่นกัน
ปัญหานี้ถูกหยิบยกมาพูดในปี 1982 โดย Leslie Lamport, Robert Shostak และ Marshall Pease เป้าหมายพูดถึงความน่าเชื่อถือในการวางระบบ เราจะเชื่ึอใจคนอื่นที่อยู่ในระบบได้อย่างไรเปรียบเทียบกับระบบการเงินในปัจจุบัน เราอยากยกระบบการเงินขึ้นไปไว้ใน Digital ทั้งหมด หลายฝ่ายต่างก็คิดว่ามีประโยชน์ แต่ก็นำข้อเสียมาเช่นกัน
เช่นกรณีการแอบอ้างตัวตนของเรา อยู่มาวันนึงเพื่อนเรานาย A ส่งไลน์มาหาเราขอให้เราโอนเงินให้หนึ่งพันบาทไปที่บัญชี เราก็ไม่เอะใจว่าสุดท้ายมีคนแอบอ้างเป็นนาย A แสร้งมาให้เราโอนเงินให้ พอไปถามกับนาย A นายAก็ไม่รู้เรื่อง เพราะโดนขโมยไลน์ไอดีไปหรือโดนขโมยบัญชีไป หรือ อยากจะหลอกให้ซับซ้อนกว่านั้น เงินจะถูกเปลี่ยนไปเป็น token ที่ใช้ซื้อของในเกมส์ส่งไปยังไลน์ปลอมอีกบัญชีหนึ่งเพื่อให้หาทางจับยากขึ้น หรืออย่างพวก E-payment ที่ใช้ QR scan เพื่อจ่ายเงินค่าเช่าจักรยาน หรือ บริการอื่นๆ ก็จะมีมือดีเอา sticker QR Code ปลอมมาแปะทับลงไป เราก็เลยโอนเงินไปเข้าบัญชีโจร หรือ พร้อมเพย์ในไทย ที่คิดว่าจะเพิ่มความปลอดภัยขึ้น ก็จะมีกรณีโดนขโมยตัวตน สุดท้ายก็ต้องวิ่งไปมาระหว่างสถานีตำรวจกับธนาคารเพื่อเดินเรื่องขอเลขบัญชีปลายทาง เปรียบได้กับม้าเร็วของนายพล ถ้าเขาส่งไปหานายพลถูกคน ได้ข้อความที่ถูกต้อง ทุกอย่างก็จะโอเค วิธีป้องกันกรณีแบบนี้ เทคโนโลยีปัจจุบันผมว่าป้องกันไม่ได้100% paypal บอกว่า คุณต้องระวังการถูกขโมยตัวตนเช่น ตั้งรหัสผ่านให้เดายาก อย่าไปกรอกรหัสผ่านในเวบแปลกๆ จะทิ่งบัตรเครดิตหรือสมุดบัญชีในถังขยะก็ต้องฉีกทำลายให้ละเอียด ระวังโดนแอบฟังแอบอ่านข้อมูลส่วนตัว โจรบางคนลงทุนขโมยจดหมายที่ส่งถึงเราในกล่องจดหมายเพื่อสืบค้นข้อมูลเรา ส่วนทางฝั่งจีน การจะเปิดบัญชี alipay ก็จะมีขึ้นตอนยืนยันตัวตนอย่างละเอียด และ #alipay จะรับผิดชอบเฉพาะ “unautorize transaction” การโอนเงินที่เราไม่ได้อนุมัติ ไม่ได้มีการอนุมัติผ่านลายนิ้วมือหรือแสกนใบหน้าเรา เท่านั้น เราอยากออกแบบระบบการเงินที่ใครๆก็ใช้ได้ไม่ใช่หรือ ระบบการเงินควรง่ายจนคนแก่ เด็ก ก็ใช้ได้ปลอดภัย
พอมองปัญหาเรื่องขโมยตัวตนทั้งหมด สรุปออกมาง่ายๆว่าแค่อย่าเชื่อมตัวตนของเรากับ E-wallet ก็จบ ไม่มีใครมาขโมยตัวตนเราได้ ซึ่ง #Blockchain ก็เป็นเทคโนโลยีแบบนั้น จุดแข็งของ blockchainคือเป็นระบบที่ไม่ต้องการความเชื่อใจกัน(#trustless)และไม่มีใครต้องรู้ตัวตนใครโดยเรียกระบบนี้ว่าเป็น #Pseudonymity บัญชีของเราเป็นแค่ตัวตนทางบัญชี เป็นแค่เลขมั่วๆ อ่านไม่ออก ทำให้ไม่รู้ว่าเจ้าของบัญชีคือใคร แต่ blockchain ก็ไม่ปลอดภัยเสมอไป ในปี 2013 มีเด็กหนุ่มคนหนึ่งตั้งเวบไซท์ขึ้นมาชื่อ Silkroad เพื่อเป็น marketplace ให้คนซื้อขายอะไรก็ได้ด้วย Bitcoinโดยไม่มีใครรู้ตัวตนของเรา และตรงจุดนี้ทำให้การซื้อขายยาเสพติดมีช่องทางใหม่ให้ซื้อขายอย่างปลอดภัย แต่สุดท้ายแล้ว FBI ก็สามารถแกะประวัติการซื้อขาย 12 เดือนย้อนหลังไปถึงโน้ตบุ้คของหนุ่มวัย 30 ปี Ross #Ulbricht ผู้ก่อตั้ง #Silkroad โดยตำรวจสามารถระบุมูลค่าในการซื้อขายทั้งหมดได้ที่ 400ล้านบาท แม้กรณีนี้ส่วนหนึ่งจะเป็นความสับเพร่าของ ulbricht เอง แต่ก็เป็นเครื่องยืนยันว่า ไม่เสมอไป Blockchain จะปลอดภัย
อีกปัญหานึงคือม้าเร็วที่ส่งกลับมาจากนายพลอีกคนนั้นเป็นข้อความปลอม เปรียบกับการซื้อขายของทางอินเตอร์เนท เราโอนเงินเพื่อต้องการซื้อไอโฟนหนึ่งเครื่อง แต่ที่ส่งกลับมาคือโปสเตอร์รูปไอโฟน! กรณีแบบนี้ อย่าง Alipay ของจีนจะใช้ระบบที่เรียกว่า Escrow คือเราในฐานะคนซื้อโอนเงินผ่าน Alipay ตัว Alipay จะยึดเงินเราไว้ก่อน ไม่ได้โอนไปให้ผู้ขาย รอจนเราได้รับสินค้าถูกต้องตามที่ตกลงกันไว้ คนขายถึงจะได้รับเงิน แต่กรณีที่ซื้อของข้ามประเทศ เราในฐานะผู้ซื้อจะได้เงินคืนถ้าสินค้าไม่ถูกต้องก็จริง แต่คนขายจะระบุเงื่อนไขเล่นแง่ว่า เราจะต้องส่งสินค้าชิ้นที่เราไม่ต้องการคืนไปให้ผู้ขายก่อนโดยค่าใช้จ่ายการขนส่ง เราต้องเป็นคนออก และแน่นอนค่าส่งไม่ใช่ถูกๆ
ปัญหาสุดท้ายเรื่องการโอนเงินคือการแปลงค่าเงินและโอนเงินระหว่างประเทศ อย่างการส่งเงินแบบ wired transfer ผ่าน #swiftcode เราอาจจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเช่น 7% จากค่า service fee และ spreadส่วนต่างของค่าเงิน แล้วแต่สกุลเงินในการโอน และไม่รองรับสกุลเงินบางสกุลเงิน และยังช้าหลายวันอีกด้วย หรือ Western Union และ Moneygram อาจะถูกกว่าแพงกว่าแล้วแต่กรณี แต่ก็ติดปัญหาเรือ่งสกุลเงิน มีแค่บางสกุลเงินเท่านั้นที่เปิดให้บริการ และออก letter of credit เหมือนทางธนาคารไม่ได้ ถ้าเอาความสะดวกขึ้นต้น Paypal อาจมีชาร์ทเพิ่มประมาณ 3% จากค่าบริการปรกติซึ่งเร็วกว่าวิธีอื่น ชาร์ทค่าบริการจาก credit card หรือคิดจาก spread ส่วนต่างของการแปลงเงิน ซึ่งก็แพงมากอยู่ดี ตลาดนี้ผมคิดว่ามีแต่ระบบ Blockchain ที่จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ เพราะเราพูดถึงการติดต่อกันของธนาคารที่ไม่ต้องเชื่อใจกัน และ ติดตามได้ว่าเงินไปอยู่ตรงจุดไหน ในราคาที่ถูกลงเยอะมาก
กรณีที่ประกาศตัวหนักแน่นเลยว่าจะเข้ามาแทนที่ระบบ swift คือ #ripple ปัญหาความล่าช้าและต้นทุนของ Swift code เกิดจากการใช้แรงงานคนในระบบ ด้วยเวลาที่ต่างกัน ธนาคารที่ทำรายการจึงเปิดงานไม่พร้อมกัน และในบางกรณีต้องไปผ่านธนาคารตัวกลางก่อน Ripple จึงคิดระบบ Xcurrent ที่ไม่ต้องใช้คนยืนยัน โดยระบบนี้ได้รับการตอบรับจาก standard charter และ ธนาคารญี่ปุ่นหลายเจ้า (SBI Holding)(และ SCB) แต่ระบบนี้ยังมีข้อเสียที่ ธนาคารคู่สัญญาจะต้องอยู่ในระบบ Ripplenet และธนาคารที่ส่งเงิน จะต้องมีสกุลเงินปลายทางสำรองไว้ด้วย เช่นถ้าส่งไปจีนก็ต้องมีหยวนสำรองเอาไว้ ตรงนี้ ripple จึงใช้ blockchain และ cyptocurrency เข้ามาช่วย แนวคิดของ ripple มีรากฐานมากจาก Federate Byzantine Agreement ที่จัดกลุ่มnodeข้างในเป็นเหมือนสมาพันธ์ แล้วมี node แยกย่อยออกเป็นกลุ่มๆเรียกว่า quorum Ripple เรียกระบบนี้ว่า Xrapid หลักการทำงานก็ง่ายมาก เพียงแค่เปลี่ยนเงินต้นทางเป็น ripple #XRP ซึ่งเป็นเหรียญ cryptocurrency แล้วไปเปลี่ยนกลับปลายทางเป็นสกุลเงินที่รองรับ ทุกอย่างจบใน 3 วินาที รองรับ transaction ได้มากกว่า paypal เสียอีก บางแหล่งข่าวบอกว่ารองรับ transaction ได้มากกว่า 50,000 ครั้งต่อวินาที ซึ่งเร็วกว่า Visa
ที่ต้องจับตามองคือเสถียรภาพของเงิน ถ้า XRP วิ่งขึ้นลงตลอดเวลาก็จะมีความเสี่ยงต่อเงินที่แปลง แต่เพราะระบบ XRP เร็วมาก ธนาคารจึงถือเงินไว้ไม่ถึงสามวินาทีอย่างไรก็ดี ระบบ swift ก็ไม่นิ่งเฉย ออกระบบที่เรียกว่า Global Payment Innovation ขึ้นมา มีความสามารถในการสืบค้นได้ว่าเงินโอนเราอยู่ในขั้นตอนไหนแล้ว ด้วยฐานลูกค้าที่รวมธนาคารกว่า 11,000 การจะเปลี่ยนระบบคงไม่ใช่ง่ายๆ
บอม
https://www.wired.com/2015/01/prosecutors-trace-13-4-million-bitcoins-silk-road-ulbrichts-laptop/
https://www.paypal.com/bm/webapps/mpp/security/identity-theft-protection
https://en.wikipedia.org/wiki/Byzantine_fault_tolerance
http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/644348
https://www.checkraka.com/knowledge/saving-2-68/1645012/
https://blockchain-review.co.th/blockchain-review/ripple-digital-currency-bank/
https://qz.com/1217017/a-40-year-old-banking-co-op-is-overhauling-payments-without-using-blockchain/
Cr.DinoTech5.0
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/