หลังสงครามโลกครั้งที่สองจบลง ยุโรปพยายามเร่งฟื้นฟูประเทศในทุกวิถีทาง หนึ่งในนั้นคือการลดกำแพงการเงิน การค้าระหว่างกัน จึงมีการใช้เงินสกุล "ยูโร" ร่วมกันในปี 1999 เพื่อไม่ต้องผ่านหลายขั้นตอน หลายหน่วยงาน ที่ทั้งเสียเวลาและเสียค่าใช้จ่าย
แต่การแก้ปัญหากหนึ่ง ก็สร้างอีกปัญหาหนึ่งเสมอ ถ้าไม่วางแผนอย่างรอบคอบ
... เงินยูุโรมีการใช้อย่างแพร่หลายในประเทศหมู่สมาชิก และข้ามไปทำธุรกรรมในทวีปอื่นด้วย เช่นทวีปอเมริกาและเอเชีย โดยผ่านสถาบันการเงิน เช่น ธนาคาร ประกันภัย วาณิชธนกิจ ตลาดหุ้น ตลาดสินค้าโภคภัณท์ เป็นสะพานเชื่อม
... เช่นภายในยุโรป ธนาคารของประเทศฝรั่งเศส หรือ เยอรมัน สามารถมีอิสระมากขึ้นในการไปปล่อยกู้ให้แก่บริษัทใน สเปน โปรตุเกศ อิตาลี ( เปรียบเทียบเหมือน ธนาคารจากไทยไปปล่อยกู้ในประเทศเพื่อนบ้าน แบบมีกติกา หรือระเบียบข้อบังคับหลวมๆ ) ช่วงแรกกำลังเห่อของใหม่ จึงมีการกู้สร้างหนี้ข้ามประเทศมากมาย
... แต่เพราะว่าพฤติกรรมการลงทุน ความโลภ ความกล้าเสี่ยง หรือความฉลาดของนักธุรกิจของแต่ละประเทศในยูโรโซนมีไม่เท่ากัน เลยทำให้เกิดหนี้สิน หนี้เน่ามากน้อยไม่เท่ากัน เช่นในประเทศยุโรปใต้ จะโลภมาก กล้าเสี่ยง สร้างโรงแรม รีสอร์ท อาคารที่อยู่อาศัยมาก แต่สุดท้ายไม่มีการเติบโตของตลาดผู้บริโภค ตลอดจนสร้างหนี้เร่งสร้างประเทศเกินรายได้ฐานะ ( เหมือนคนลงทุนเกินเงินเดือน ) เช่นกรีซ เร่งสร้างสนามกีฬาใหม่ สนามบิน ทางรถไฟ โดยการกู้เงินอย่างเดียว ทำให้เกิดหนี้สินขึ้นมาทั่วและท่วมประเทศ
... เมื่อหนี้เสีย บ้านขายไม่ได้ รถไฟฟ้าไม่มีคนใช้เพียงพอ ก็ไม่มีเงินไปจ่ายเจ้าหนี้ที่เป็นนายธนาคารจากประเทศใหญ่ๆ เช่นฝรั่งเศส เยอรมัน จึงทำให้เกิดวิกฤติการเงินขึ้นมาในหลายประเทศทางใต้ทั้งหลาย ประกอบกับเมื่อเศรษฐกิจไม่ดีไปทั่วทวีป นักท่องเที่ยวจากต่างชาติที่เคยนำเงินมาอุ้มเศรษฐกิจของกรีซก็หายไป ทำให้ซ้ำเติมประเทศหนักลงไปอีก
... ขณะที่ก่อนนั้น ปี 2008 ธนาคารในยุโรปเองก็ได้รับผลกระทบทางการเงินจากวิกฤติการเงินของอเมริกาด้วยเช่นกัน ผ่านทางสถาบันการเงินและนักลงทุนต่างๆ ทำให้ยุโรปจึงเกิดวิกฤติการเงินตามมาจากนั้น จนถึงวันนี้ ยังไม่มีการแก้ไข นอกจาก "กู้หนี้เก่ามาโป๊ะหนี้ใหม่" หรือสร้างบัตรเครดิตเก่ามาจ่ายบัตรใหม่ รีไฟแนนซ์ไปเรื่อยๆ แต่ถึงวันหนึ่ง ธนาคารในประเทศใหญ่บอกไม่ไหวแล้ว
... จึงเริ่มมีการแทรงแซงกฏหมายการเงิน หรือแม้แต่นโยบายการเงิน ควบคุมนโยบายการตัดลดงบประมาณ และการเก็บภาษีในประเทศลูกหนี้ทั้งหลาย เช่นตัดงบประมาณจ่ายบำนาญคนแก่ ตัดงบการศึกษารักษาพยาบาล ทำให้เริ่มมีการประท้วง เช่นในกรีซ คนชรา เริ่มออกมาเดินประท้วงที่ได้เงินบำนาญต่อปีน้อยลง ทำให้การกินอยู่ลำบาก ( ยังไม่นับ รัฐต้องมาแบกรับผู้อพยพมุสลิมจากสงครามในอาหรับอีก )
... จึงตามมาด้วยความไม่พอใจในกระแสประชาชนในประเทศลูกหนี้ ที่มองว่าประเทศใหญ่ๆเข้ามาแทรกแซงนโยบายการเมืองการเงินของประเทศตนมากเกินไป จนเกิดเป็นกระแสต่อต้าน จนเกิดความนิยมพรรคฝ่าย "ขวาจัด" ที่กำลังประชานิยมจัด โดยเอาใจคนหมู่มาก บอกว่ายุ่งมากระเบียบมาก เดี๋ยวออกจากการเป็นสมาชิิกยูโรเสียเลย และจะไล่ผู้อพยพออกนอกประเทศไปด้วย
... จากปัญหาการเงินเริ่มจากนักปกครอง นายธนาคาร นักธุรกิจไม่กี่คน ในไม่กี่ชาติ กลายเป็นวิกฤติเศรษฐกิจ และตามมาด้วยวิกฤติการเมือง สังคมของยุโรปในปัจจุบัน
... และที่สำคัญยังไม่มีมาตรการแก้ไขที่เป็นรูปธรรมที่ราบรื่น เพราะนโยบายการรัดเข็มขัดก็ถูกประท้วงจากประเทศลูกหนี้ นโยบายปล่อยกู้ให้ก็ต้องแปรรูปขายสมบัติชาติให้บริษัทจากประเทศเจ้าหนี้ก่อน ยิ่งทำให้ประชาชนโกรธเกลียดประเทศเจ้าหนี้ว่ามาซื้อสมบัติชาติ ในทางกลับกัน ประชาชนในประเทศเจ้าหนี้ก็ต้องการให้นายธนาคารเอาเงินออมของคนในชาติ มาปล้อยกู้ให้กับนักธรุกิจประเทศตัวเองบ้าง เช่นพวกธุรกิจสตาร์ทอัพ ที่ต้องการเงินทุน ในการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆในเยอรมัน
... จีน รู้ว่าเกิดปัญหาการเงินในยุโรป จึงเข้ามาช่วยเหลือทั้งในรูปแบบ Joint venture หรือการซื้อกิจการ ในราคาถูกๆ จนอเมริกาไม่พอใจ
... นอกจากปัญหาวิกฤติการเงิน หนี้สิน จนกลายเป็นปัญหาสังคม การเมืองที่พร้อมจะระบาดไปทั่วโลก ผ่านทางสถาบันการเงินแล้ว ยังยุโรปยังถูกบีบจากอเมริกาพาคว่ำบาตร ไม่ให้ค้าขายและซื้อพลังงานแก๊สราคาถูกจาก "รัสเซีย" อีกด้วย นับตั้งแต่ปี 2014 จนถึงปัจจุบัน และล่าสุดกำลังถูกลากให้เลิกค้าขายกับอิหร่านอีก เหมือนเป็นการฆ่ายุโรปให้ตายเร็วขึ้น
... ยุโรปในตอนนี้ จึงวิกฤติอย่างมาก เหมือนคนเป็นอัมพาตนอนรอวันตาย และยังมีคนเอามือมาอุดจมูกอีก และถ้ายุโรปตาย ทวีปอื่นก็จะบาดเจ็บตามไปด้วย จึงต้องจับตายุโรปตลอดเวลา เพราะมันคือระเบิดเวลาอีกลูกใหญ่ของโลก
Cr.Jeerachart Jongsomchai
บทความสนับสนุนโดย FXPro
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman