ต่อเนื่องจากบทความตอนที่แล้ว ดิฉันมักใช้มูลค่าการตลาดในการพิจารณาเลือกเหรียญคริปโต และอีกองค์ประกอบที่ใช้ในการพิจารณาคือ จุดประสงค์, จุดเด่นและจุดด้อย ของเหรียญคริปโตนั้น เพื่อที่จะดูโอกาสและทิศทางการพัฒนา
ของสกุลเงินดิจิตอลนั้นๆ มีหลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมดิฉันถึงต้องดูจุดประสงค์การระดมทุน ICO ของแต่ละเหรียญที่ออกมา? และอาจจะเข้าใจว่าเหรียญคริปโตทุกสกุลก็ออกมาเพื่อจะใช้เป็นสกุลเงิน เพื่อใช้-จ่าย และแลกเปลี่ยน แต่นี้อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆที่อาจจะทำให้คุณหลังทางในการลงทุนในตลาดคริปโตนี้ มิใช่ว่าเหรียญดิจิทัลทุกเหรียญในตลาดออกมาเพื่อให้ผู้คนใช้-จ่าย แลกเปลี่ยน มีบางเหรียญที่สร้างเพื่อเป็นสกุลเงิน และให้คนทั่วไปใช้-จ่าย และมีบางสกุลเงินสร้างขึ้นเพื่อใช้ในกิจการเฉพาะทาง และมีการระดมทุนโดยเหรียญดิจิตอล เพื่อพัฒนาด้านอื่นๆ ดังนั้นนักลงทุนควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสกุลเงินดิจิตอลนั้นๆให้ดีก่อนจะตัดสินใจลงทุน เพราะคุณควรจำไว้เสมอว่า “ปัจจุบันนักลงทุนในตลาดเหรียญคริปโตแบกรับความเสี่ยงทั้งหมดด้วยตนเอง”
ดิฉันขอเริ่มต้ด้วยการยกตัวอย่างที่ใกล้ตัวของคนไทยมากที่สุด นั้นคือ JFin coin ซึ่งเป็นข่าวดังในประเทศไทยมากว่า JVentures บริษัทลูกของ Jaymart ประกาศระดมทุน ICO และมีการวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆมากมาย มีหลายข่าวเขียนว่า สกุลเงินดิจิตอลแรกของไทย และได้รับการตอบรับอย่างดี หากฟังผิวเผินแล้วคุณคงเข้าใจว่า เหรียญเจฟิน คงออกมาเพื่อใช้แบบบิทคอยน์ แต่หากศึกษาเพิ่มเติมจะพบว่า การระดมโดย JFin coin เพื่อนำไปพัฒนาระบบ Decentralized Digital Lending Platform (DDLP) หรือกู้เงินดิจิทัลผ่านมือถือ ไม่ได้เพื่อให้คนทั่วไปใช้ แลกเปลี่ยนกัน ดังนั้นการเติบโตของเหรียญเจฟินนี้ก็จะขึ้นอยู่กับแพลตฟอร์มระบบ DDLP ที่จะทำขึ้นมา
หากคุณยังมองภาพไม่ออก ก็เปรียบเทียบง่ายๆกับการระดมทุน IPO ในตลาดหลักทรัพย์ในต่างประเทศ ที่บริษัททำการระดมทุนเพื่อจะทำตามแผนธุรกิจก่อนออกขายหุ้นจริง ในมุมมองส่วนตัวของดิฉันปัจจุบันการระดมทุนแบบ ICO เริ่มใช้กันมากขึ้นเพื่อการพัฒนาทางเทคโนโลยีด้านการเงินต่างๆ ซึ่งมักจะใช้เทคโนโลยี Blockchain เป็นพื้นฐานในการช่วยพัฒนา บิทคอยน์, อีเธอเรียม, ไลท์คอยน์, บิทคอยน์เครช จุดประสงค์หลักที่ออกมาเพื่อให้คนทั่วไปใช้-จ่าย และเกิดการแลกเปลี่ยนที่มีสภาพคล่องมากกว่าการใช้เงินในปัจจุบัน โดยความโดดเด่นของแต่ละเหรียญก็อยู่ที่ปริมาณการใช้ นโยบายที่ส่งเสริมให้คน หรือร้านค้าต่างๆใช้-จ่ายโดยสกุลเงินของตน ในปัจจุบันที่เริ่มมีการใช้-จ่ายจริงอย่างแพร่หลายคือ บิทคอยน์ และอีเธอเรียม ช่วงต้นปี 2018 มีข่าวว่าไลท์คอยน์มีการนิยมใช้อย่างแพร่หลายในตลาดมืด ส่งผลให้ราคาปรับขึ้นมาก แต่ไลท์คอยน์มีความโดเด่นในตัวเอง ตั้งแต่เริ่มออกเหรียญดิจิตอล เพราะไลท์คอยน์มีความเร็วมากกว่าบิทคอยน์ถึง 4 เท่า ส่วนบิทคอยน์เครช ผู้ร่วมพัฒนาบิทคอยน์ที่มีความเห็นแตกต่างเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมในการรับ-ส่งบิทคอยน์ ว่าควรจะมีค่าธรรมเนียมที่ต่ำ จึงออกมาพัฒนาเหรียญบิทคอยน์เครช ซึ่งมีค่าธรรมเนียมในการใช้-จ่ายที่ถูกกว่าบิทคอยน์ ดังนั้นดิฉันจะพิจารณาว่าเหรียญเหล่านี้มีการส่งเสริมและทำการตลาดเพื่อให้เหรียญของตนมีคนใช้เพิ่มขึ้น และใช้ได้สะดวก รวดเร็วมากขึ้นอย่างไร
สกุลเงินดิจิตอลบางสกุลก็สร้างขึ้นมาให้ใช้-จ่าย แต่จุดประสงค์ไม่ใช้สำหรับผู้คนทั่วไป หากแต่เป็นเพื่อภาคธุรกิจต่างๆ เช่น ริพเพิล Ripple (XRP) จุดประสงค์หลักของเหรียญคริปโตนี้ สร้างขึ้นเพื่อให้ธนาคาร และบริษัทการเงินต่างๆใช้ โดยส่วนตัวมองว่าสกุลเงินดิจิตอลที่สร้างขึ้นเพื่อใช้กับสถาบันการเงิน ในช่วงแรกน่าจะเติบโตช้า เพราะความยากที่จะเป็นที่ยอมรับ ในขณะที่สังคมยังไม่ตอบรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น แต่หากสังคมโลกพัฒนาก้าวสู้ยุคที่ไม่ใช้เงินสด เหรียญคริปโตกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่น่าจับตามองที่สุด เพราะสถาบันการเงินเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ในตลาดการเงิน ปัจจุบันริพเพิลมีการทำความร่วมมือกับหลายธนาคารและสถาบันการเงิน เช่น Santander Bank, UAE Exchange, LianLian, Santander UK, IDT Corporation, Mercury FX, MoneyGram และร่วมมือกับ 61 ธนาคารของญี่ปุ่นเพื่อพัฒนาแอพการชำระเงินภายในประเทศ อีกทั้งหลายองค์กรใหญ่ๆของโลก และในประเทศไทยเริ่มจะมีความคิดที่จะพัฒนาคริปโตเคอเรนซี่ เพื่อใช้ภายในองค์กรตนเอง เช่น บริษัทน้ำมัน BP และโปรเจคอินทนนท์ของธนาคารแห่งประเทศไทย
โดย นิรมล นิตย์นิธิพฤทธิ์ (นักวิเคราะห์การเงิน, Olymp Trade)
บทความสนับสนุนโดย FXPro
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman