พูดถึงเรื่องการเอาแสงแดดมาแปลงเป็นพลังงาน ถ้าถามว่าพื้นที่ไหนในโลก ไม่ต้องเสียเงินค่าที่สักบาทและมีแสงแดดส่องลงมาแทบจะตลอดปี คนอาจจะคิดว่าคงต้องเป็นตามหลังคาตึก หรืออาจจะเป็นทะเลทรายนอกเมือง
แต่จริงๆแล้ว ถนน คือที่ๆเหมาะที่สุดสำหรับทำ Solar Energy เพราะมันใกล้แหล่งชุมชนที่สุดแถมความยาวของถนนยังมีพอให้พลังงานทั้งประเทศ
อย่างที่ Netherlands บอกว่าความยาวถนนทั้งประเทศนั้นมีถึง 140,000 กิโลเมตร ถ้าปล่อยไว้เปล่าๆก็เสียดายเอามาทำ Solaroad หรือถนนพลังงานแสงอาทิตย์ดีกว่า
จึงมีโปรเจคผุดขึ้นมาทั่วโลก ทั้งแบบที่ฝัง solar panel ไว้ตามขอบถนนและ Sound Barrier แต่ตัวพื้นถนนเองจะเอามาสังเคราะห์แสงยังมีปัญหาอยู่สองข้อ 1. ลื่นมากโดยเฉพาะเวลาฝนตก 2. มันรับนํ้าหนักรถไม่ไหว อยู่ไม่นานก็พัง
อย่างโปรเจคในรัฐ Idaho ในอเมริกาที่จะทำถนนอัจฉริยะชื่อ #SolarRoadways เป็นคู่สามีภรรยาที่ต้องการทำถนนเป็นรูปหกเหลี่ยมมี Temper glass ทำจากพลาสติก recycle โดยความอัจฉริยะคือเขาฝัง Pressure sensor ไว้ถ้ามีกวางมูสเดินอยู่บนถนน หรือ หินถล่มก็จะสามารถรู้ก่อนได้ มี Heater ในหน้าหนาวหิมะจะไม่ปกคลุมถนนจนำให้เกิดอุบัติเหตุและมีฝัง LED ทำให้สามารถสื่อสารกับผู้ขับรถได้ แต่ดูจากราคาและสิ่งที่จะฝังลงไป ไม่แน่ใจว่าบริษัทนี้ลองทำถนนออกมาจริงหรือยัง
คนริเริ่มทำเรือง #Solaroad คนแรกเป็น Netherlands เขาบอกว่าถ้ารับนํ้าหนักไม่ไหว งั้นเริ่มจากทางจักรยานก่อนแล้วกัน โดยถนนที่เขาสร้างจะมีบล้อคใสที่ฝังSolar Panel ไว้สังเคราะแสงด้านล่าง เข้าใจว่าด้านบนจะเป็น Temper Glass แบบขุ่น
ต่อมาทางฝรั่งเศสก็เอาบ้าง คราวนี้ทำกับถนนที่รถวิ่งผ่านได้จริงๆ โดยเริ่มที่ Normandy village of Tourouvre-au-Perche ซึ่งลองทำถนน 1กิโลเมตรให้รถวิ่งได้จริงๆ ที่สามารถทำได้เพราะของฝรั่งเศสบริษัท #Colas Group แกใช้เทคโนโลยีที่แต่งออกไป เขาเอาเนื้อถนนยางมะตอยมาผสมกับเนื้อsolar cell ที่ทำให้ถนนไม่ลื่นและไม่ต้องใช้หลายชั้นเหมืนอที่ Netherlands และ Idaho ฝรั่งเศสที่มีถนนอยู่กว่าหนึ่งล้านกิโลเมตรจึงตั้งเป้าจะทำให้ได้สักหนึ่งพันกิโลเมตรก่อน โดยลองใช้งานโครงการที่Tourouvre-au-Perche สองปี
สุดท้ายมาจบที่จีน ของจีนนั้นทำถนนแล้วที่ #Jinan #济南 ในชานตง โดยเทคโนโลยีของจีนก็ต่างออกไปจากสามเจ้าแรก ถนนในจีนมีสามชั้น ชั้นแรกเป็นคอนกรีดใสที่แสงส่องผ่านได้ ชั้นกลางเป็นตัวSolar panel ส่วนชั้นล่างเอาไว้ป้องกันตัว solar panel กับ พื้นดินเปียกใต้ถนน รับนํ้าหนักได้ถึงรถขนาดกลาง (คือห้ามสิบล้อ รถพ่วงผ่าน) ของจีนนั้นทำเอาไว้รองรับ wireless charging ในอนาคตด้วย ตอนนี้ในจีนมีถนนแบบนี้สองที่แล้ว ก็ต้องรอดูประสิทธิภาพกันต่อไป
ไม่ว่าถนนแบบไหนจะมีประสิทธิภาพสูงสุด Sweden ขอแหวกแนวด้วยการทำที่ชาร์ตรถบนถนนแบบเสียบปลั้ก คือบนถนนจะมีรางไฟฟ้า ที่แม้นํ้าจะท่วมก็ปล่อยไฟออกมาน้อยมา ไม่เป็นอันตรายแม้ว่าจะเดินเท้าเปล่า ตัวรถที่จะใช้บริการจะมีปลั้กที่ยื่นออกมาอัตโนมัติเพื่อต่อกับรางบนถนนทำให้รถชาร์ทขณะวิ่งได้ ด้วยเทคโนโลยีนี้ ก็สามารถทำให้ไม่ต้องขนแบตเตอรี่หนักๆบนรถอีกต่อไป
บอม
REFs:
โปรเจคของ Idaho Solarroadways
https://www.indiegogo.com/projects/solar-roadways#/
ถนนจักรยานใน netherlands
http://en.solaroad.nl/press-releases/
ถนนในฝรั่งเศส แคว้นนอร์มังดี
โครงการของจีน
https://electrek.co/2017/12/21/china-solar-roadways-transparent-concrete-solar-cells-charge-cars/
ถนนชาร์ทได้ที่สวีเดน
Cr.DinoTech5.0
บทความสนับสนุนโดย FXPro
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman