รู้จัก “คู่แข่งตัวเต็ง” ของแจ๊คหม่า บนเส้นทางชิงไหวชิงพริบในสงครามอีคอมเมิร์ซจีน

เชื่อว่าหลายคนที่รู้จัก "แจ๊คหม่า" อาจจะไม่รู้จัก "หลิวเฉียงตง" หรือ "ริชาร์ด หลิว"เจ้าของ JD.com แต่ใครที่ติดตามวงการอีคอมเมิร์ชจีนย่อมมีน้อยคนมากที่จะไม่รู้จักจิงตง (京东) หรือ JD.com อีคอมเมิร์ซB2C ยักษ์ใหญ่ของแดนมังกร

คู่แข่งที่ใหญ่และน่ากลัวมากที่สุดของAlibaba เจ้าของเว็บไซต์ซื้อของออนไลน์อย่าง Taobao และ T-mall เรียกได้ว่าสองเจ้านี้แบ่งวงการอีคอมเมิร์ซจีนออกเป็นสองขั้วหลักๆ เลยก็ว่าได้ เพราะJD นั้นไม่ใช่คู่แข่งที่พยายามทำตาม Alibaba แต่มีกลยุทธ์ของตัวเองที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัด

"แพลตฟอร์มเหล่านี้ไม่ใช่คู่แข่งของเรา ผมรู้สึกขอบคุณแจ๊คหม่าเป็นอย่างยิ่ง เพราะผู้ใช้งานของเราแทบทั้งหมดก็มาจากTaobao Taobaoได้สอนสิ่งต่างๆให้กับพวกเขา แต่ผู้ใช้เหล่านี้ไม่ชอบการต่อรองราคา บริการที่แย่ และของปลอม ดังนั้นพวกเขาจึงมาใช้งานJD" นี่คือคำพูดเมื่อ 3 ปีที่แล้วของหลิวเฉียงตง ซีอีโอ JD.com

#กว่าจะมาเป็นJD

ก่อนที่จะพัฒนามาเป็นJDในปัจจุบัน หลิวก่อตั้งบริษัทจิงตงครั้งแรกเมื่อปี 1998 ที่ย่านจงกวนชุนในปักกิ่ง ซึ่งมีดีกรีเป็นซิลิคอนแวลลีย์ของเมืองจีน แม้จุดเริ่มต้นจะเป็นธุรกิจเกี่ยวกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์(ขายVCD) แต่หลายปีให้หลังเขาเริ่มหันมาจับธุรกิจอีคอมเมิร์ซและเริ่มทำร้านค้าออนไลน์ในช่วงต้นปี 2004 จนถึงปลายปี 2005 ยอดคำสั่งซื้อต่อวันของจิงตงอยู่ที่มากกว่า 500 ชิ้น จนเริ่มบุกไปตั้งบริษัทในเซี่ยงไฮ้ในปี 2016 จากนั้นก็บุกตลาดกว่างโจวในปีต่อมา

JD พยายามเพิ่มพันธมิตรเจ้าใหญ่ๆ และพัฒนาระบบการขนส่งของตัวเองมาโดยตลอด ในปี 2007 JD เริ่มให้บริการถือเครื่อง POS ไปให้ลูกค้ารูดบัตรถึงหน้าประตูบ้านเป็นเจ้าแรกในจีน ปี 2008 หลายคนรู้จักJDในฐานะผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซสินค้า 3C (Computer, Communication และ ConsumerElectronic) เบอร์หนึ่งของจีน แม้ในปีนี้จะมีวิกฤตทางเศรษฐกิจ แต่มูลค่าสินค้าที่ถูกสั่งซื้อใน JD ในเดือนมีนาคมก็ยังทะลุ 200 ล้านหยวน และทะลุ 300 ล้านหยวนในเดือนมิถุนายนปีเดียวกัน ตอนนั้นวันหนึ่ง JD สามารถจัดการกับสินค้าได้มากกว่า 20,000 ชิ้น

ปี 2009 JD สร้างสิ่งใหม่ให้วงการด้วยบริการพิเศษส่งตรงถึงบ้านไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งสินค้าประเภทเฟอร์นิเจอร์ฟรี หรือบริการตรวจเช็คสภาพคอมฯ บริการล้างเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ จากเดิมที่ลูกค้ามั่นใจในสินค้าของ JD อยู่แล้ว ก็ได้ความสบายใจกับบริการหลังการซื้อเพิ่มมากอีก สร้างความภักดีต่อแบรนด์ของ JD ได้อย่างมาก

ในปี 2013 จิงตงประกาศว่ามีผู้ใช้งานเว็บไซต์ JD.Com เกิน 100 ล้านคน JD ขยายอาณาจักรของตนออกไปเรื่อยๆ จนถึงปี 2014 Tencent ยักษ์ใหญ่เจ้าของวีแชทได้เข้ามาถือหุ้นในบริษัทJD 17% นับเป็นพันธมิตรที่เข้มแข็งมากของ JD และมีการเซ็นสัญญาความร่วมมือทางยุทธศาสตร์ระหว่างกัน

ในปีเดียวกัน JD ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ ของสหรัฐฯ ทำให้บริษัทมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 2.9 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้หลิวเฉียงตงขึ้นแท่นมหาเศรษฐีคนใหม่ของโลกด้วยวัยเพียง 41 ปี

ปี 2016 JD จับมือ Walmart บริษัทค้าปลีกขนาดใหญ่ซึ่งเป็นพันธมิตรตลาดออฟไลน์ที่เข้มแข็งอีกราย โดยJD เข้าซื้อ Yihaodian ของ Walmart ในขณะที่ Walmart ก็เข้ามาถือหุ้นของที่JD 5% ล่าสุดเมื่อเดือนมีนาคมปี 2018 JD ก็ได้เซ็นสัญญาความร่วมมือกับ Sina พันธมิตรยักษ์ใหญ่เจ้าของ Sina Weibo โซเชียลมีเดียเบอร์หนึ่งของจีน ซึ่งหมายความว่าJD จะมีข้อมูล Big data ที่เหนียวแน่นมาก

เสริมให้อีกนิดว่ารายได้สุทธิของ JD ในปี 2017 ทั้งปีอยู่ที่ราว 3.6 แสนล้านหยวน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 40.3% ส่วนกำไรสุทธิอยู่ที่ 5,000 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 140% และตัวเลขActive user ช่วงสิ้นปีอยู่ที่ 292 ล้านราย

#ความแตกต่างของJDกับแพลตฟอร์มของอาลีบาบา

ความแตกต่างของยักษ์ใหญ่สองเจ้านี้สามารถแบ่งได้หลายแง่มุมดังนี้

1.Alibabคือแพลตฟอร์มแต่JDคือธุรกิจค้าปลีก

หลิวเฉียงตงเชื่อว่า ผลิตภัณฑ์หนึ่งอย่างตั้งแต่ขั้นตอนการคิดค้น ออกแบบ วิจัย ผลิต และกำหนดตลาดควรดำเนินการโดยเจ้าของแบรนด์นั้นๆ แต่ขั้นตอนการทำตลาด ซื้อขาย สต๊อกสินค้า และการจัดส่งควรให้ธุรกิจขายปลีกเข้ามาจัดการซึ่งก็คือJDนั่นเอง ดังนั้นสิ่งที่ผู้ผลิตที่จะเข้ามาดีลกับJD ตัองทำก็คือดูแลขั้นตอนการผลิตให้ดี หลังจากนั้นค่อยมอบให้เป็นหน้าที่ของ JD จะเห็นว่า JD เป็นธุรกิจร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ที่มีระบบการจัดการเป็นของตัวเองทั้งหมด

ในขณะที่Alibabaเป็นธุรกิจแพลตฟอร์มตัวกลางที่จะไม่เข้าไปยุ่งกับขั้นตอนต่างๆ ในข้างต้น สิ่งที่Alibabaมีให้คือเวทีและโอกาสในการเจอกับลูกค้า โดยพ่อค้าแม่ขายในแพลตฟอร์มเหล่านี้จะต้องดูแลหน้าร้านของตนเองและจ่ายเงินค่ามัดจำตลอดจนค่าบริการต่างๆให้กับแพลตฟอร์ม เราจึงเห็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายจากเจ้าเล็กเจ้าน้อยบน Taobao.com

2.Alibabaแนวกว้างแต่JDแนวดิ่ง

สำหรับผู้ประกอบการที่เปิดร้านบนแพลตฟอร์ม taobao หรือT-mallของAlibaba สิ่งที่พวกเขาจะได้รับก็คือปริมาณของผู้ใช้งานเว็บไซต์ และเพื่อที่จะดึงคนเข้ามาที่ร้านของตนก็จำเป็นจะต้องมีค่าใช้จ่ายอื่นๆเช่น การซื้อโฆษณาเพื่อให้คนเห็นมากขึ้น การลดต้นทุนของตัวเองเพื่อทำราคา พ่อค้าแม่ค้าจึงมีต้นทุนสูงขึ้นและอยู่ได้ยากมากขึ้นแม้ผู้บริโภคจะได้ประโยชน์มากขึ้น จนมีคนจำนวนไม่น้อยเลิกทำร้านบน taobao หรือเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้มีคนเอาของปลอมเข้ามาขาย และการตรวจสอบก็ทำได้ยาก เพราะยิ่งเคร่งครัดร้านค้าก็จะน้อยลง ส่งผลเสียต่อความหลากหลายซึ่งเป็นหนึ่งในจุดแข็งของแพลตฟอร์มของAlibaba

หันมามองที่JD 60%ของสินค้าล้วนผ่านมือของJD ที่เป็นผู้รับมาขายปลีกและกินเปอร์เซ็นต์จากราคาขายอีกที ขั้นตอนการซื้อขาย การจัดส่งล้วนบริหารเองโดย JD แน่นอนว่า JD ย่อมมีทีมจัดซื้อ ทีมส่งของ ทีมดูแลสต็อกสินค้าของตัวเองในจำนวนมาก จึงสามารถส่งของได้อย่างรวดเร็ว แม้สามารถลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ได้เพราะคุมทุกอย่างเอง แต่การบริหารคนจำนวนมากย่อมเป็นเรื่องที่ท้าทายและการพัฒนาคุณภาพบริการอันเป็นจุดเด่นและจุดแข็งของJD ย่อมต้องใช้ทุนจำนวนมาก ปัจจุบันJD มีพนักงานแสนกว่าคน ส่วนมากเป็นพนักงานในระบบคลังสินค้าและระบบการจัดส่ง ซึ่งพนักงานเหล่านี้ในอนาคตสามารถเป็นพนักงานขายได้ในตัว เป็นช่องทางธุรกิจแบบ O2O หรือออนไลน์ไปออฟไลน์ได้อีก

3.Alibabaเปิดกว้าง JD ค่อนข้างปิด

รูปแบบธุรกิจของอาลีบาบาค่อนข้างที่จะเปิดกว้างเมื่อเปรียบเทียบกับJD เช่นAlibabaจับมือกับบริษัทโลจิสติกส์ ใช้คลังสินค้าร่วมกัน บริษัทฯโลจิสติกส์ละบรรดาเจ้าของธุรกิจสามารถใช้คลังสินค้านี้ร่วมกันจึงเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการขนส่งระหว่างกัน เช่นเวลาไหน ที่ไหน ต้องการสินค้าอะไร ทำให้ผู้ขายสามารถส่งสินค้าไปเก็บไว้ในโกดังที่อยู่ใกล้เคียงล่วงหน้า การใช้คลังและข้อมูลร่วมกันในลักษณะนี้นับเป็นการยกระดับอีคอมเมิร์ซในทั่วประเทศ

ส่วนระบบการขนส่งขนาดใหญ่ของJDนั้นมีคลังสินค้าเป็นหัวใจสำคัญ โดยกระจายอยู่ในเมืองขนาดใหญ่ไปจนถึงหัวเมืองชั้น2 จึงส่งได้อย่างรวดเร็วแต่ค่อนข้างเป็นระบบปิดเพราะJDบริหารเองคนเดียว

4.Alibaba มีAlipay แต่JDมีระบบการขนส่ง

แอพชำระเงิน Alipay มีผู้ใช้จริงมากกว่า 300 ล้านคน มี active user เกือบ 200 ล้าน ในขณะที่ตัวเลขของบริการกระเป๋าสตางค์ออนไลน์ของJD ยังไม่มีการเปิดเผย แม้หลังจากจะมีการจับมือกับTencent ซึ่งทำให้ลูกค้าสามารถจ่ายผ่านWechat payได้แต่ก็ยังถือว่าไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ของตนเองอยู่ดี อาจส่งผลต่อการพัฒนาธุรกิจและบริการด้านการเงินของJDในอนาคต

#ความท้าทายของJD

หากจะวิเคราะห์ความสำเร็จของJD ในตลาดจีนคงจะต้องเรียบเรียงกันอีกยาว สิ่งที่น่าจับตาไปไม่น้อยกว่าความสำเร็จของJD คือจะเดินเกมต่อไปในตลาดที่ขับเคี่ยวกันอย่างดุเดือดนี้อย่างไร เพราะขู่แข่งอย่าง Alibaba ก็เก่งกาจและไม่เคยหยุดเดินหมากเช่นกัน

แจ๊คหม่าเคยกล่าวไว้ช่วงปลายปี 2016 ว่าตอนนี้ตลาดจีนกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่ "ยุคใหม่แห่งการค้าปลีก" ซึ่งแม้แต่ตนเองยังไม่สามารถนิยามหรือจินตนาการได้ทั้งหมดว่าจะมีหน้าตาเป็นอย่างไรในอนาคต

ในขณะที่ทั้งJD และAlibaba กำลังพยายามวาดผังและคาดการณ์แนวโน้มต่างๆ ของยุคใหม่ที่กำลังจะมาถึงนี้ พร้อมๆ กับการจับมือกับพันธมิตรออฟไลน์ ที่ช่วยเข้ามาเสริมช่องโหว่และขยายฐานของตลาดอีคอมเมิร์ซ ทั้งคู่ล้วนให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี และกลยุทธ์ใหม่ๆที่หลากหลาย

หลิวเฉียงตงเคยเสนอ "แผนพัฒนาJD ระยะ12ปี" ขึ้นมา ตั้งเป้าใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะในการดำเนินธุรกิจ โดยกล่าวในการประชุมแห่งหนึ่งในกรุงปักกิ่งเมื่อปี 2017 ว่า 3 สิ่งที่สำคัญที่สุดของJDในอีก 10 ปีข้างหน้าคือ "เทคโนโลยี เทคโนโลยี และ เทคโนโลยี"

ยกตัวอย่างจากร้าน 7Fresh ของJD ที่ออกมาสู้กับร้าน Hemaxiansheng ของ Alibaba ซึ่งมีโมเดลคล้ายๆ กันคือ"ร้านอาหาร+ซุปเปอร์มาร์เก็ต" โดยผสานกลยุทธ์ต่างๆทั้งออฟไลน์และออนไลน์เข้าไว้ด้วยกัน

ของที่ขายใน 7Fresh เน้นของสด เช่นเนื้อสัตว์ ผักสด ผลไม้ อาหารนำเข้า พร้อมคำบรรยายถึงการคัดสรรและความสดของอาหาร เช่น ไข่ไก่ที่ส่งมาถึงชั้นวางหลังจากแม่ไก่ออกไข่ในเวลา 12 ชม. เมื่อเลือกซื้อเสร็จแล้วมีบริการประกอบอาหารให้สดๆ แถมมีบริการส่งฟรีในเวลา 30 นาทีสำหรับลูกค้าที่อยู่ภายในระยะทางไม่เกิน 3 กิโลเมตรจากร้าน

JD เผยว่า แม้ในปี 2018 นี้จะมีเพียงแค่ 30 ร้านในปักกิ่ง แต่ตั้งเป้าไว้ที่ 1,000 ร้านทั่วประเทศภายใน 3-5 ปีข้างหน้า พร้อมกล่าวว่าความสดของอาหารใน 7Fresh จะมีข้อได้เปรียบจากระบบคลังสินค้าและระบบโลจิสติกส์ที่แข็งแกร่งของJD

ที่ล้ำไปกว่านั้นคือในร้านนี้มีเทคโนโลยีใหม่หลายอย่าง เช่น "รถเข็นอัจฉริยะ" แค่โหลดแอพ 7FRESH สแกนคิวอาร์โค้ด บัญชีผู้ใช้ก็จะผูกกับรถเข็นทันที ที่นี้รถเข็นก็จะเดินตามต้อยๆเหมือนเราเป็นเจ้านาย แถมยังสั่งให้มันไปต่อแถวรอล่วงหน้าเพื่อชำระเงินได้ด้วย

นอกจากนี้ก็มีเทคโนโลยีแปะบาร์โค้ดที่ผลไม้ จากนั้นนำไปวางตรงจุดสแกนจะปรากฏข้อมูลชื่อผลไม้ แหล่งปลูก ระดับความหวาน วิธีทาน เป็นต้น เวลาจ่ายหากขี้เกียจรอคิวก็มีตู้ให้สแกนบาร์โค้ดด้วยตัวเองและจ่ายเงินผ่านการสแกนใบหน้า

ตอนนี้ JD กำลังเริ่มเข้ามาทำตลาดในประเทศไทย ล่าสุดจับมือกับเซ็นทรัลกรุ๊ป และกำลังจะมีงานสัมมนาที่นำทีมโดย Mr. Winston Cheng ประธานฝ่ายต่างประเทศ และนาย Yang QiKun ผู้บริหารสูงสุดบริษัท JD.com ประจำประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้บริหารระดับสูงและผู้เชี่ยวชาญของJD พร้อมด้วยผู้ที่มีประสบการณ์ทำตลาดจีนอีกหลายท่าน ที่จะมาบรรยายและให้ความรู้แบบเจาะลึกแก่ผู้ประกอบการไทยที่ต้องการจะบุกตลาดจีน ว่าทำอย่างไรจึงจะได้เป็น Brand Official ใน JD.com

สำหรับท่านใดที่อยากทำความรู้จักและมีช่องทางเข้าถึง JD โอกาสดีดีมาแล้ว สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ TCC Business Center ใครสนใจอย่าลืมรีบไปหาข้อมูลกันดู หรือสามารถลงทะเบียนกับเราได้ที่

คลิก

และหากใส่ code "SINO18" จากเพจของเราสามารถนำไปเป็นส่วนลดได้ด้วย 500 บาท

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
02-210-0274-5 หรือ 095-826-0782

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"