เอเชียหวั่นข้าวแพงดันเงินเฟ้อสูง อินเดียงดส่งออกข้าวพร้อมบวกภาษีส่งออกหัวหอม 40%

หน่วยงานโครงการอาหารโลกขององค์การสหประชาชาติ ระบุว่า ราคาข้าวสารปรับตัวพุ่งสูงแตะระดับสูงสุดในรอบเกือบ 12 ปี หลังจากที่อินเดียประกาศงดการส่งออกข้าว รวมถึงสภาพอากาศที่แปรปรวนส่งผลให้การผลิต และอุปทานของอาหารหลักในเอเชียลดลง

นาย ฉิงเฟิง จาง ผู้อำนวยการอาวุโสจากธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank) กล่าวกับสำนักข่าวซีเอ็นบีซีว่า ราคาข้าวในตลาดโลกเป็นเรื่องที่น่ากังวลเป็นอย่างมาก และเห็นได้ชัดว่าความผันผวนของราคาอาหารจะยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องไปอีกหลายเดือนข้างหน้านี้
อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากอินเดียแล้ว ภาวะราคาอาหารเฟ้อ (Food Inflation) ประเทศอื่น ๆ ในเอเชียสามารถควบคุมราคาข้าวได้ในระดับหนึ่งในปีนี้ แต่ปัจจัยเชิงลบที่ไหลตามกันในตลาดสร้างความกังวลว่าจะเกิดภาวะข้าวขาดแคลน และจะทำให้ราคาอาหาร และสินค้าโภคภัณฑ์ต่าง ๆ ในเอเชียกลับมามีราคาแพงขึ้นเหมือนก่อน
สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงจากภาวะโลกร้อน เอลนีโญที่เกิดขึ้นครั้งแรกในรอบ 7 ปี รวมถึงการถอนตัวออกจากข้อตกลงทะเลดำเรื่องการส่งธัญพืชของรัสเซีย และนโยบายปกป้องอาหารที่ออกมาในรูปแบบของข้อจำกัดด้านการค้า เป็นปัจจัยหลัก ๆ ที่ทำให้ราคาข้าวสูงขึ้น
ทั้งนี้ เอลนีโญ เป็นปรากฏการณ์สภาพอากาศทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นจากอุณหภูมิของน้ำที่มีความร้อนขึ้นในคาบมหาสมุทรแปซิฟิก และนำมาซึ่งสภาพภูมิอากาศที่ผันผวนสร้างผลกระทบไปทั่วโลก
ในช่วงจุดสูงสุดของวิกฤตราคาอาหารเมื่อปี 2553-2555 ธนาคารพัฒนาเอเชียคาดการณ์ไว้ว่าทั่วโลกจะเห็นราคาอาหารปรับตัวสูงขึ้น 30% ซึ่งคิดเป็นราคาอาหารในประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียเฉลี่ยที่ราว ๆ 10% และจะส่งผลให้ผู้คนในภูมิภาคจำนวน 64.4 ล้านคนเข้าสู่ภาวะยากจน โดยคิดเป็นอัตราที่เพิ่มขึ้นจาก 27% เป็น 29% นอกจากนั้นแล้วจะมีผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจราว 0.6% สำหรับประเทศที่เน้นการนำเข้าอาหาร
Erica Tay นักเศรษฐศาสตร์จากเมย์แบงก์ ระบุว่า ราคาข้าวนั้นพุ่งสูงขึ้น ซึ่งความตกใจของตลาด และประวัติที่ชี้ให้เห็นว่าผู้คนจะกักตุนก็เป็นสาเหตุของการเพิ่มขึ้นเช่นกัน แต่ถ้าหากดูไปถึงตัวเลขอุปสงค์ และอุปทานโดยรวมแล้ว ประเทศในเอเชียอยู่ในจุดที่จะสามารถผ่านวิกฤตการณ์ครั้งนี้ไปได้อย่างไม่ยากเย็นนัก
Tay ชี้ให้เห็นว่าบางประเทศในเอเชีย เช่น ประเทศไทย เวียดนาม เมียนมา และกัมพูชา เป็นผู้ส่งออกมากกว่านำเข้า ในขณะที่ประเทศจีนซึ่งมีตลาดข้าวที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีตัวเลขนำเข้าข้าวเพียง 1% ของความต้องการเท่านั้น โดยหลัก ๆ แล้วมาจากเวียดนาม และเมียนมา ซึ่ง Tay ระบุว่าเป็นเพียงผลกระทบเพียงน้อยนิดเท่านั้นจากภาวะขาดแคลนในอินเดีย และแม้ว่าจะมีการเตือนภัยเรื่องน้ำท่วมในหลายเขตของจีน แต่ Tay ระบุว่าข้าวในคลังของจีนนั้นยังเหลืออยู่อีกสำหรับแปดเดือน
ทั้งนี้ นอกจากการงดส่งออกข้าวของอินเดียที่ส่งผลให้ราคาปรับตัวสูงขึ้นแล้ว ทั่วโลกยังอาจจะต้องเผชิญกับราคาหัวหอมที่สูงขึ้นด้วยเช่นกัน หลังจากที่อินเดียประกาศคิดภาษีส่งออกหัวหอมอีก 40% ท่ามกลางราคาพืชผักในประเทศที่พุ่งสูงขึ้น โดยราคาหัวหอมนั้นเพิ่มขึ้นราว 20% ในเดือนสิงหาคมเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
ราคาหัวหอมที่เพิ่มสูงขึ้นนั้นมาจากภาวะฝนตกหนักในเดือนกรกฎาคม ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเพาะปลูกในรัฐมหาราษฏระ และรัฐกรณาฏกะ ซึ่งเป็นภูมิภาคหลักสำหรับการปลูกหัวหอม
นอกจากนั้นแล้ว อัตราเงินเฟ้อในอินเดียของเดือนกรกฎาคมยังปรับตัวสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 15 เดือนที่ 7.44% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยส่วนใหญ่แล้วเป็นผลมาจากราคาต้นทุนอาหารในประเทศที่พุ่งสูงขึ้น
Source: ข่าวหุ้น
เพิ่มเติม
- Rice prices soar, fanning fears of food inflation spike in Asia :

Cr.Bank’s Scholarship Students

-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"