อาเซียนเร่งเครื่องสร้างเอกภาพทางเศรษฐกิจ รุกใช้ “ระบบชำระเงินข้ามพรมแดนระดับภูมิภาค”

เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 สำนักข่าว CNBC รายงานว่า การใช้ระบบชำระเงินข้ามพรมแดนระดับภูมิภาคเมื่อไม่นานมานี้ของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถกระชับการรวมกลุ่มทางการเงินระหว่างประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

เสริมสร้างความเป็นเอกภาพทางการเงิน ทำให้เข้าใกล้เป้าหมายการสร้างความเป็นปึกแผ่นทางเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น
การใช้ระบบชำระเงินข้ามพรมแดนระดับภูมิภาค ทำให้ประชาชนในกลุ่มสามารถชำระค่าเงินสินค้าและบริการด้วยสกุลเงินท้องถิ่นผ่านการใช้คิวอาร์โค้ดได้ โดยเปิดใช้งานแล้วในอินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย และสิงคโปร์ ขณะที่ฟิลิปปินส์คาดว่าจะเข้าร่วมในไม่ช้า ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของธนาคารกลางแต่ละประเทศ
โดยความเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจาก 5 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ลงนามในข้อตกลงอย่างเป็นทางการเมื่อปลายปี 2565 ในการประชุมสุดยอดอาเซียนเมื่อเดือนพฤษภาคม บรรดาผู้นำเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นในโครงการนี้ โดยให้คำมั่นว่าจะดำเนินการตามแผนงานเพื่อขยายการเชื่อมโยงการชำระเงินในระดับภูมิภาคไปยังสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ
เป้าหมายโครงการนี้เพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกด้านการชำระเงินเพื่อการค้าข้ามพรมแดน การลงทุน การส่งเงินกลับประเทศ และกิจกรรมเศรษฐกิจอื่น ๆ โดยมีเป้าหมายที่จะดำเนินระบบนิเวศทางการเงินแบบครอบคลุมทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
นักวิเคราะห์กล่าวว่าอุตสาหกรรมค้าปลีกจะได้รับประโยชน์เป็นพิเศษท่ามกลางการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจทำให้การท่องเที่ยวแข็งแกร่งขึ้น
ทั้งนี้ การเชื่อมต่อในภูมิภาคถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการลดการพึ่งพาสกุลเงินภายนอก เช่น ดอลลาร์สหรัฐ สำหรับการทำธุรกรรมข้ามพรมแดน โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างธุรกิจต่าง ๆ เนื่องจากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาส่งผลให้สกุลเงินในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อ่อนค่าลง ส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจ เนื่องจากสมาชิกส่วนใหญ่ของกลุ่มเป็นผู้นำเข้าพลังงานและอาหารสุทธิ
ด้านนิโค ฮัน นักวิเคราะห์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ Diplomat Risk Intelligence ฝ่ายที่ปรึกษาและวิเคราะห์ของนิตยสาร The Diplomat กล่าวว่า “ระบบชำระเงินข้ามพรมแดนในอาเซียนจะทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้ดอลลาร์สหรัฐและหยวนจีน”
ทั้งนี้ ระบบการชำระเงินดิจิทัลข้ามพรมแดนที่เป็นหนึ่งเดียวจะส่งเสริมส่งเสริมเรื่องภูมิภาคนิยม (regionalism) และความเป็นศูนย์กลางของอาเซียนในการรับมือกับเหตุการณ์ในต่างประเทศ โดยความเคลื่อนไหวครั้งนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งท่ามกลางความตึงเครียดที่เพิ่มสูงขึ้นในกลุ่มมหาอำนาจโลก
สำหรับการทำงานของระบบดังกล่าวนี้ เมื่อเชื่อมต่อระบบการชำระเงินด้วยรหัส QR จะสามารถส่งเงินจากกระเป๋าเงินดิจิทัลหนึ่งไปยังอีกกระเป๋าหนึ่งได้ ซึ่งกระเป๋าเงินดิจิทัลเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นบัญชีธนาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังสามารถเชื่อมโยงกับบัญชีกับสถาบันการเงินที่เป็นทางการได้
ตัวอย่างเช่น นักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียในสิงคโปร์สามารถชำระเงินด้วยเงินริงกิตของมาเลเซียในกระเป๋าเงินดิจิทัลของมาเลเซียเมื่อทำธุรกรรม หรือแรงงานชาวมาเลเซียในสิงคโปร์สามารถส่งเงินดอลลาร์สิงคโปร์ในกระเป๋าเงินดิจิทัลของสิงคโปร์ไปยังกระเป๋าเงินของผู้รับในมาเลเซียได้
โดยค่าธรรมเนียมและอัตราแลกเปลี่ยนจะถูกกำหนดโดยข้อตกลงร่วมกันระหว่างธนาคารกลางด้วยกันเอง
สำหรับขณะนี้ ระบบทั่วภูมิภาคเช่นนี้ไม่มีอยู่ในส่วนอื่น ๆ ของโลก แต่ในอนาคตธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (BIS) ซึ่งตั้งอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์ หวังที่จะเชื่อมต่อระบบการชำระเงินรายย่อยทั่วโลกโดยใช้รหัส QR
Satoru Yamadera ที่ปรึกษาฝ่ายวิจัยและพัฒนาเศรษฐกิจของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชียกล่าวว่า “ความพยายามของธนาคารกลางอาเซียนเป็นนวัตกรรมและแปลกใหม่ โดยในภูมิภาคอื่นๆ เช่น ยุโรป การเชื่อมต่อการชำระเงินของผู้ค้าปลีกผ่านบัตรเครดิตและบัตรเดบิตเป็นที่นิยมมากกว่า ในขณะที่จีนขึ้นชื่อเรื่องการชำระเงินด้วยรหัส QR ขั้นสูง แต่ไม่ได้เชื่อมต่อเช่นเดียวกับภูมิภาคอาเซียน”
ในส่วนของการชำระเงินด้วย QR นั้น ไม่มีค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ถือบัตรและร้านค้า ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าองค์กรขนาดเล็กและธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือ SMB จะกลายเป็นกลุ่มที่ได้รับประโยชน์จากการเชื่อมต่อการชำระเงินระดับภูมิภาค จากข้อมูลของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย กลุ่มบริษัทดังกล่าวมีสัดส่วนมากกว่า 90% ของธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Han จาก Diplomat Risk Intelligence กล่าวว่า “SMB สามารถหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการบำรุงรักษาระบบ ณ จุดขาย หรือจ่ายค่าธรรมเนียมการแลกเปลี่ยนให้กับบริษัทบัตร เนื่องจากระบบการชำระเงินทำงานผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัลและไม่จำเป็นต้องมีบัญชีธนาคารแบบดั้งเดิม ดังนั้นประชาชนที่ไม่มีบัญชีธนาคารจึงสามารถใช้งานได้”
อย่างไรก็ตามแม้ว่าการเสริมสร้างการเชื่อมต่อการชำระเงินภายในภูมิภาคจะมีศักยภาพในการลดแรงกดดันในการชำระเงินและเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล แต่อาจสร้างแรงกดดันต่อสกุลเงินบางสกุลโดยไม่ได้ตั้งใจ โดยเฉพาะดอลลาร์สิงคโปร์
Nicholas Lee หัวหน้านักวิเคราะห์เทคโนโลยีของเอเชียที่ Global Counsel บริษัทที่ปรึกษานโยบายสาธารณะ กล่าวว่า “สถานการณ์ที่เป็นไปได้ คือ ดอลลาร์สิงคโปร์จะกลายเป็นสกุลเงินสำรองโดยพฤตินัยภายในภูมิภาค ก่อให้เกิดความท้าทายประเทศในอาเซียนที่จะต้องเผชิญหน้า …

เนื่องด้วยความแข็งแกร่งและเสถียรภาพของดอลลาร์สิงคโปร์ ธุรกิจทั้งในระดับนานาชาติและระดับภูมิภาคอาจเลือกที่จะถือครองเงินทุนหมุนเวียนมากขึ้นในดอลลาร์สิงคโปร์ โดยอาศัยเครือข่ายการชำระเงินใหม่สำหรับการแปลงสกุลเงินที่มีประสิทธิภาพ”
หากเป็นเช่นนั้นอาจทำให้กำลังซื้อของสกุลเงินอื่น ๆ ในภูมิภาคอ่อนแอลง และส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อนำเข้าสูงขึ้น หากธนาคารกลางไม่เข้าแทรกแซง ในสถานการณ์ดังกล่าว ประเทศต่าง ๆ อาจรู้สึกว่าจำเป็นต้องกำหนดข้อจำกัดด้านเงินทุนเพื่อปกป้องสกุลเงิน ซึ่งอาจทำลายวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งเครือข่ายการชำระเงินระดับภูมิภาค
ขณะที่ความท้าทายอีกประการหนึ่ง คือ ธนาคารกลางจะต้องจัดการกับปัญหาด้านความปลอดภัยและการฉ้อโกง รวมถึงรับหน้าที่ในการให้ความรู้แก่ประชาชนให้ยอมรับระบบการชำระเงินใหม่ โดยการดำเนินการที่ประสานกันในลักษณะนี้จะต้องอาศัยเจตจำนงทางการเมืองที่แข็งแกร่งจากผู้นำระดับภูมิภาค และยังคงต้องรอดูว่าสมาชิกมรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นจะสามารถร่วมมือกันเพื่อดำเนินการตามโครงการที่ทะเยอทะยานดังกล่าวได้สำเร็จหรือไม่
Source: การเงินธนาคารออนไลน์

 

คลิก

Cr.Bank’s Scholarship Students

-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"