ตลาดกำลังเฝ้ารอตัวเลขอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่จะประกาศในคืนวันพุธตามเวลาของประเทศไทย โดยตัวเลขเงินเฟ้อพื้นฐานซึ่งไม่รวมความผันผวนของราคาพลังงานและอาหารยังคงอยู่ในระดับสูง ในขณะที่เงินเฟ้อทั่วไปค่อย ๆ ปรับตัวลดลงสู่ระดับเป้าหมายของธนาคารกลางที่ตั้งไว้ที่ 2%
Kokou Agbo-Bloua นักเศรษฐศาสตร์จาก โซซิเอเต้ เจเนเรล ธนาคารชั้นนำสัญชาติฝรั่งเศส ระบุว่า ธนาคารกลางทั่วโลกเดินทางมาถึง จุดสิ้นสุดของจุดเริ่มต้น’ ของการต่อสู้กับอัตราเงินเฟ้อ เนื่องจากยังมีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้เงินเฟ้อพื้นฐานทรงตัวอยู่ในระดับสูง
ข้อมูลจาก CME FedWatch Tool ชี้ให้เห็นว่า ตลาดแรงงานที่ยังคงเห็นการเพิ่มขึ้นของการจ้างงานอย่างต่อเนื่อง และสภาพเศรษฐกิจที่ยังทรงตัวอยู่ได้ แสดงให้เห็นว่าตลาดสะท้อนถึงความเป็นไปได้กว่า 90% ที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% ไปอยู่ที่ 5.25-5.50% ในการประชุมเดือนกรกฎาคมนี้
ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ อ่อนตัวลงสู่ระดับ 4% YoY ในเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นจุดที่ต่ำสุดในรอบกว่าสองปี อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปรับตัวขึ้น 0.4% MoM และ 5.3% YoY
Kokou Agbo-Bloua จาก โซซิเอเต้ เจเนเรล กล่าวกับสำนักข่าวซีเอ็นบีซีว่า ประเด็นแรกของปัญหาเงินเฟ้อก็คือการที่รัฐบาลใช้เงินจำนวนมากในการอุ้มเศรษฐกิจช่วงโควิด-19 ซึ่งคิดเป็นราว ๆ 10-15% ของจีดีพี
ประเด็นที่สองก็คือ สงครามในยูเครนที่ส่งผลให้เกิดการติดขัดของห่วงโซ่อุปทาน นอกจากนั้นแล้วยังมีปริมาณเงินเก็บส่วนเกินที่สูงขึ้นอย่างมาก บวกกับภาวะ เงินเฟ้อจากความโลภของบริษัท’ หรือ Greedflation ซึ่งก็คือการที่บริษัทพากันขึ้นราคาสินค้าสูงกว่าที่จะสามารถทำได้ ส่งผลให้มีตัวเลขอัตรากำไรที่สูงแตะระดับสูงสุดในรอบ 10 ปี
อย่างไรก็ตาม Agbo-Bloua ระบุว่า บริษัทต่าง ๆ มีวิธีการรับมือกับภาวการณ์ขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลาง โดยสามารถทำได้ด้วยการรีไฟแนนซ์งบดุลของบริษัท และไปเก็บเงินจากลูกค้าแทนด้วยการขึ้นราคาสินค้า ที่ต้องเผชิญกับทั้งราคาผลิตภัณฑ์ และค่าบริการที่สูงขึ้น
ทั้งนี้ยังมีประเด็นเรื่องความตึงตัวในตลาดแรงงานอย่างมาก โดยมีการเติบโตของผลิตภาพจากแรงงานต่ำลง ซึ่งเป็นจุดที่ไปดันต้นทุนแรงงานต่อหน่วย ในขณะที่ค่าแรงกลับปรับสูงขึ้น โดย Agbo-Bloua ระบุว่าธนาคารกลางสหรัฐจำเป็นต้องทำให้เกิดภาวะถดถอย เพื่อเป็นการบังคับให้อัตราการว่างงานสูงขึ้น และก่อให้เกิดการทำลายอุปสงค์ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันภาวะเศรษฐกิจยังไม่ได้ดำเนินไปจนถึงจุดนั้น
Agbo-Bloua ระบุว่า ผลกระทบจากการคุมเข้มนโยบายการเงินนั้นมักจะช้ากว่าสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันราว 3-5 ไตรมาส อย่างไรก็ตาม เขาชี้ให้เห็นว่าปริมาณเงินเก็บส่วนเกินที่สูงในช่วงโควิด-19 จะเป็นตัวช่วยสำหรับผู้บริโภคและครัวเรือน ในขณะที่บริษัทจะสามารถกู้งบดุลให้กลับมาได้
Agbo-Bloua คาดว่าธนาคารกลางต่าง ๆ โดยเฉพาะเฟดจะเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยเพื่อเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือจนกว่าจะถึงจุดที่ก่อให้เกิดภาวะถดถอย โดยเขามองว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะถดถอย หรือชะลอตัวในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2567 หลังจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยมาหลายครั้ง โดยจะเริ่มเห็นจากอัตรากำไรของบริษัทที่ก่อนหน้านี้ทำสถิติแตะจุดสูงสุด หรือยังคงอยู่ในระดับสูง นอกจากนั้นแล้วการเติบโตของค่าจ้างก็จะทำให้บริษัทมีกำไรที่ลดลง
ในทางกลับกัน เขาไม่คิดว่าจะเกิดภาวะถดถอยในยุโรป เนื่องจากมองว่ายังมีอุปสงค์ที่สูงกว่าอุปทานอยู่ราว 2-3% จึงคิดว่าจะเป็นเพียงแค่ภาวะชะลอตัวเท่านั้น
ทั้งนี้ Agbo-Bloua กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อดูเทรนด์ของการขึ้นอัตราดอกเบี้ยแล้ว จะเห็นว่าโลกอาจจะยังต้องเผชิญกับการขึ้นดอกเบี้ยต่อไปอีก ก่อนที่ภาวะถดถอย หรือการชะลอตัวจะเกิดขึ้น
Source: ข่าวหุ้น
เพิ่มเติม
- This is ‘the end of the beginning’ of the battle against inflation, economist says :
Cr.Bank’s Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you