ธปท. แนะ 6 วิธีบริหารความเสี่ยงค่าเงินผันผวน

ธปท.เปิดคำแนะนำ 6 วิธีบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนรับมือช่วงค่าเงินผันผวน ชี้ เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการส่งออก-นำเข้าต้องเผชิญความไม่แน่นอนจากค่าเงิน วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แนะนำ 6 วิธีรับมือความผันผวนของค่าเงิน

โดยผู้ประกอบการที่สนใจบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน แต่ไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไรบ้าง ดังนี้
ทั้งนี้ ทำความรู้จักกับอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยน คือ ราคาของเงินสกุลหนึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับเงินอีกสกุลหนึ่ง เช่น 1 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา (ดอลลาร์ สรอ.) เท่ากับ 32.00 บาท
ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบธุรกิจส่งออก/นำเข้าต้องเผชิญ โดยการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนจะมีผลให้กระแสรายได้หรือรายจ่ายในรูปเงินบาทของธุรกิจมีความไม่แน่นอน ซึ่งอาจทำให้เกิดกำไรเพิ่มขึ้น หรือขาดทุนก็ได้
โดย 6 วิธีรับมือความผันผวนของค่าเงินที่ผู้ประกอบการควรรู้ไว้ ดังนี้
1.Forward การล็อกเรทอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้ากับธนาคาร
2.Options การประกันค่าเงิน
3.Futures การทำสัญญาล็อกเรทล่วงหน้าผ่านตลาดอนุพันธ์แห่งประเทศไทย (TFEX)
4.Foreign Currency Deposit (FCD) การเปิดบัญชีฝากเงินตราต่างประเทศ
5.Natural Hegde การจับคู่รายรับและรายจ่ายที่เป็นเงินตราต่างประเทศ
6.Local Currency การใช้เงินสกุลท้องถิ่นค้าขายระหว่างกัน
Source: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

 

คลิก

Cr.Bank’s Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"