ใช้อย่างไรให้ถูกต้อง ? ทำความรู้จัก "ธนบัตรพอลิเมอร์" หลังแบงก์ชาติประกาศเริ่มใช้ "แบงก์ 20" แบบใหม่ทำจาก "พอลิเมอร์" ในวันที่ 24 ม.ค. นี้ พร้อมวิธีจับสังเกต "แบงก์ปลอม" และวิธีใช้ที่ถูกต้อง
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เตรียมออกใช้ธนบัตรชนิดราคา 20 บาท ที่เปลี่ยนมาใช้วัสดุ "พอลิเมอร์" ทำจากพลาสติกแบบพิเศษ ไม่ดูดซับความชื้นและสิ่งสกปรก มีความทนทานในการใช้งานมากกว่า "ธนบัตรกระดาษ"
ช่วยลดปริมาณการผลิตธนบัตรใหม่เพื่อทดแทนธนบัตรที่ชำรุด ลดการใช้ทรัพยากร และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะธนบัตรชนิดราคา 20 บาท ที่ถูกใช้จ่ายมากที่สุด มีการหมุนเวียนเปลี่ยนมือบ่อย ทำให้สภาพเก่ากว่าธนบัตรชนิดราคาอื่น
ประเทศไหนใช้ "ธนบัตรพอลิเมอร์" บ้าง ?
ธนบัตรพอลิเมอร์ ใช้วัสดุพลาสติกสังเคราะห์ประเภท biaxially oriented polypropylene (BOPP) โดยในกระบวนการผลิตวัสดุพอลิเมอร์จะใช้แรงดึงฟิล์มพลาสติกในสองทิศทาง ทำให้ได้วัสดุที่ทนทานและโปร่งแสง
"ประเทศออสเตรเลีย" เป็นประเทศแรกที่ผลิตและออกใช้ธนบัตรพอลิเมอร์อย่างต่อเนื่อง โดยออกใช้ธนบัตรพอลิเมอร์ 10 ดอลลาร์ เป็นชนิดราคาแรก เมื่อปี ค.ศ.1988 โดยมีเป้าหมายเพื่อต่อต้านการปลอมแปลงธนบัตร
จากนั้น ธนบัตรพอลิเมอร์ได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วงทศวรรษ ค.ศ.1990-1999 หลายประเทศได้ออกใช้ธนบัตรพอลิเมอร์ ส่วนใหญ่ออกใช้เป็นธนบัตรที่ระลึก หรือออกใช้เฉพาะในบางชนิดราคา อาทิ มาเลเซีย โรมาเนีย บรูไน ต่อมาในช่วงทศวรรษ ค.ศ.2000-2009 หลายประเทศได้ออกใช้ธนบัตรพอลิเมอร์เป็นธนบัตรหมุนเวียน เช่น มาเลเซีย ฮ่องกง สิงคโปร์ อิสราเอล และเม็กซิโก
ล่าสุดในช่วงปี ค.ศ. 2010 - ปัจจุบัน ธนบัตรพอลิเมอร์เป็นที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น เช่น ในประเทศ แคนาดา ชิลี ซาอุดิอาระเบีย สกอตแลนด์ และอังกฤษ
จากที่กล่าวไปในข้างต้น นอกจากความทนทานแล้ว ยังมีคุณสมบัติการต่อต้านการปลอมแปลงทันสมัยด้วย
ก่อนที่ธนบัตรพอลิเมอร์ราคา 20 บาทจะเริ่มใช้ในไทยอย่างเป็นทางการ "กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" ชวนไปดูวิธีการสังเกตลักษณะ "แบงก์ 20 แบบพอลิเมอร์" ของแท้ ด้วยตัวเองง่ายๆ ผ่าน 3 ขั้นตอน ป้องกันตัวเองจากผู้ไม่ประสงค์ดี ดังนี้
ธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่า ใช้เทคโนโลยีต่อต้านการปลอมแปลงธนบัตรที่ทันสมัย และมีมาตรฐานขั้นสูง เพื่อให้ยากต่อการปลอมแปลง ซึ่งประชาชนสามารถตรวจสอบได้ด้วยวิธีการ “สัมผัส ยกส่อง และพลิกเอียง”
สัมผัส
- วัสดุพอลิเมอร์ เป็นพลาสติกชนิดพิเศษ มีการเคลือบผิว และมีความเหนียวแกร่ง
- ภาพพระตราประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คำว่า รัฐบาลไทย ตัวอักษรแจ้งชนิดราคา พิมพ์ด้วยเส้นนูนสีเขียวเข้ม จะรู้สึกสะดุดเมื่อสัมผัสด้วยปลายนิ้วมือ
- ตัวเลขแจ้งชนิดราคา พิมพ์ด้วยเส้นนูนสีเขียวเข้ม จะรู้สึกสะดุดเมื่อสัมผัสด้วยปลายนิ้วมือ
- สัญลักษณ์แจ้งชนิดราคารูปดอกไม้ ๒ ดอก พิมพ์ด้วยเส้นนูนสีเขียวเข้มสำหรับผู้บกพร่องทางสายตาใช้สัมผัส แทนตัวเลข “๒” ในอักษรเบรลล์ ซึ่งกำหนดให้เป็นสัญลักษณ์สำหรับธนบัตรชนิดราคา ๒๐ บาท
ยกส่อง
ดูรายละเอียดของธนบัตรพอลิเมอร์เมื่อยกส่อง จากธนาคารแห่งประเทศไทย คลิกที่นี่
พลิกเอียง
ตัวเลขแฝง “20” ซ่อนในลายประดิษฐ์สีเขียวเข้มซึ่งอยู่บริเวณตอนกลางด้านล่างของธนบัตร มองเห็นได้เมื่อเอียงธนบัตรเข้าหาแสงสว่าง โดยมองผ่านจากมุมล่างซ้ายของลายประดิษฐ์เข้าหามุมบนขวาของธนบัตร
ธนาคารกลางมาเลเซีย หนึ่งในประเทศที่ใช้ธนบัตรพอลิเมอร์เป็นธนบัตรหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ ได้เสนอแนะการใช้งานธนบัตรพอลิเมอร์อย่างถูกวิธีคือ ไม่ควรพับกรีด ขยำ หรือใช้ลวดเย็บธนบัตรพอลิเมอร์ เพื่อให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานเต็มประสิทธิภาพ
Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
----------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you