โควิดเร่งธุรกิจปรับเข้าสู่ดิจิทัล

การระบาดโควิด–19 สร้างความเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน ทำให้ทั้งผู้คนต้องเร่งปรับตัวปรับพฤติกรรมสู่ “วิถีชีวิตใหม่” หนึ่งในนั้นคือบทบาทของเทคโนโลยีดิจิทัลที่มาเร็วขึ้นอย่างปฏิเสธไม่ได้ โดยดิจิทัลเข้ามาช่วยแก้ไขและอำนวยความสะดวกในช่วงที่ต้องลดการติดต่อ

โดยตรงระหว่างบุคคล จะเห็นได้ว่าดิจิทัลกลายเป็นส่วนสำคัญของชีวิตประจำวัน รวมถึงเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินธุรกิจที่ขาดไม่ได้เช่นกัน

หากธุรกิจสามารถปรับตัวให้รับกับกระแสดิจิทัลก็จะยังมีโอกาสไปต่อได้ท่ามกลางการระบาดโควิด-19 ที่ยังไม่คลี่คลาย บางขุนพรหมชวนคิดในวันนี้จึงขอใช้โอกาสนี้พูดถึงประเด็นนี้ค่ะ
ไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบในแต่ละปี โดยกิจกรรมและธุรกรรมออนไลน์เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด อีกทั้ง การระบาดของโควิด–19 เร่งผลักดันการใช้เครื่องมือดิจิทัล และอินเตอร์เน็ตในไทย ทั้งการสื่อสาร การเรียนและทำงานผ่านระบบออนไลน์ และการซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชันแทนการเดินเข้าห้างสรรพสินค้า
ข้อมูลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเตอร์เน็ตของไทยในปี 2563 จากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือเอ็ตด้า สะท้อนพฤติกรรม และแนวโน้มในอนาคตที่ชี้ว่า คนไทยใช้อินเตอร์เน็ตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี 2563 เฉลี่ยวันละกว่า 11.5 ชม. เพิ่มขึ้นราว 1 ชม. จากปี 62 และเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวเมื่อเทียบกับปี 60 ที่ใช้งานเฉลี่ยเพียงวันละ 6.5 ชม. โดยกลุ่มคนอายุน้อยกว่า 40 ปี (Gen Y และ Gen Z) เป็นกลุ่มที่ใช้อินเตอร์เน็ตเฉลี่ยต่อวันมากที่สุด
นอกจากนี้ พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้ Media Landscape ต่างไปจากเดิมเช่นกัน โดยผู้บริโภคสนใจสื่อโซเชียลมากกว่าสื่อหลักเพราะสะดวก รวดเร็ว และเข้าถึงผู้คนจำนวนมาก รวมถึงแนวโน้มการใช้แอปพลิเคชันเพื่อซื้อสินค้าออนไลน์ ทำธุรกรรมทางการเงิน ด้านสุขภาพและบันเทิงสูงขึ้นต่อเนื่อง
ในเชิงเศรษฐกิจ ดิจิทัลได้กลายเป็นส่วนสำคัญของความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจที่จะขาดไม่ได้ ภาคธุรกิจไทยจะต้องเร่งปรับตัวให้รับกับกระแสดิจิทัลโดย
1) ปรับช่องทางขายให้มีหลากหลายช่องทาง โดยเฉพาะช่องทางออนไลน์ เพราะการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ได้กลายเป็นพฤติกรรมติดตัวผู้บริโภคและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยข้อมูลมูลค่าตลาดค้าปลีกออนไลน์ในไทยปี 2563 เติบโตขึ้นกว่า 35% และคาดว่าจะเติบโตถึง 50% ในปี 2564 (คาดการณ์โดยบริษัท Priceza) รวมถึงการสั่งฟู้ดดีลิเวอรีที่จำนวนครั้งของการจัดส่งอาหารไปยังที่พักโตสูงถึง 150% ในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และโต 17% ในช่วงครึ่งหลังของปี
2) ขยายการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลต่างๆ ภาคธุรกิจต้องใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มดิจิทัลที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคได้มากที่สุด อย่างไรก็ดี สิ่งสำคัญคือ ธุรกิจต้องเข้าใจว่าแพลตฟอร์มดิจิทัลแต่ละชนิดมีจุดเด่นไม่เหมือนกัน รวมถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคในแต่ละแพลตฟอร์มเองก็แตกต่างกัน
และ 3) พัฒนาด้านโลจิสติกส์ในรูปแบบดิจิทัล (อีโลจิสติกส์) ตั้งแต่การจัดการคลังสินค้าไปจนถึงการขนส่งไม่ให้ล่าช้าจนเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของธุรกิจ ระบบอีโลจิสติกส์จะเป็นโครงสร้างพื้นฐานของระบบซัพพลายเชนที่ช่วยจัดการต้นทุนให้มีประสิทธิภาพ
การระบาดโควิด-19 ที่ลากยาวตั้งแต่ปีก่อน จนส่งผลให้หลายพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป ธุรกิจจึงต้องปรับตัวและหันมาพึ่งเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อช่วยสนับสนุนธุรกิจให้อยู่รอดเมื่อโควิด-19 คลี่คลาย เพราะดิจิทัลได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตและธุรกิจ
โดย ธนันธร มหาพรประจักษ์
ธนาคารแห่งประเทศไทย
* บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคล จึงไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของหน่วยงานที่ผู้เขียนสังกัด **
Source: ไทยรัฐออนไลน์

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
----------------------------------------------------------------------------------------

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 

Line ID:@fxhanuman

Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"