ระบบเศรษฐกิจดิจิทัลได้เปิดโอกาสทางธุรกิจใหม่โดยเฉพาะกับผู้ประกอบการรายเล็กให้สามารถแข่งขันได้สูงขึ้น อย่างไรก็ตามศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจของผู้ประกอบการเหล่านี้ ขึ้นอยู่กับทักษะความรู้ด้านดิจิทัล (Digital literacy)
ว่าจะสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจได้มากน้อยเพียงใด
บทความนี้เสนอวิธีการวัด Digital literacy เพื่อเป็นดัชนีกลางในการประเมินศักยภาพของครัวเรือนไทยในยุคดิจิทัล
จากการวิจัยพบว่าสมมติฐานที่ทักษะด้านดิจิทัลจะสามารถพัฒนาขึ้นเองโดยธรรมชาติจากการสนับสนุนให้ประชากรเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลนั้น เป็นสมมติฐานที่ไม่สามารถสร้างความมั่นใจได้ว่า จะมีความเหมาะสมและสามารถนำมาสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจได้ ดังนั้น การส่งเสริม digital literacy จะต้องให้ความสำคัญอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การเพิ่มทักษะในระดับอนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา
แม้ว่าประชากรส่วนใหญ่จะสามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลพื้นฐานได้ แต่กิจกรรมที่เกิดขึ้นผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลมักจะถูกใช้ไปเพื่อความบันเทิง และเพื่อการบริโภคเป็นหลัก ไม่ใช่ทักษะดิจิทัลหรือการตระหนักถึงความเสี่ยงด้านข้อมูลดิจิทัล ที่จะนำไปสู่การสร้างผลผลิตทางเศรษฐกิจได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
ดังนั้น นโยบายที่ส่งเสริมให้ผู้ที่ตกงานหรือผู้ที่ทำงานในกลุ่มใช้แรงงาน ได้มีความสามารถในการประกอบวิชาชีพด้านใดด้านหนึ่งเช่นการทำเกษตรกรรม การหัตถกรรม หรือการประติมากรรมจึงไม่ใช่ทักษะความรู้เดียวที่ควรส่งเสริม แต่ภาคส่วนต่าง ๆ ควรจัดสรรงบประมาณและร่วมกันพัฒนาหลักสูตรเพื่อส่งเสริมทักษะความรู้ด้านดิจิทัลอย่างเข้มข้นพร้อมกันไปด้วย
บทความวิจัยโดย ผศ.ดร.รุ่งเกียรติ รัตนบานชื่น
สามารถอ่านบทความวิจัยฉบับนี้เพิ่มเติมได้ที่
Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
----------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you