เศรษฐกิจไทย ‘ไม่ดี’ มากเพียงใด? เปิดบทวิเคราะห์ "เศรษฐกิจไทย"

ที่หลายคนมองว่าในสถานการณ์วิกฤติโควิด-19 เศรษฐกิจไม่ดี จริงๆ คำว่าไม่ดีนั้น หมายถึงไม่ดีขนาดไหน? ทุกคนพูดกันติดปากว่า “เศรษฐกิจไม่ดี” แต่เศรษฐกิจไทยไม่ดีมากเพียงใด วิธีหนึ่งที่จะประเมินความเสียหายทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากโควิด-19 คือการวัด “output gap”

หรือส่วนต่างระหว่างผลผลิตมวลรวมจริง (จีดีพี) ของประเทศแล้วนำไปเปรียบเทียบกับจีดีพีที่ควรจะเกิดขึ้นหากเศรษฐกิจขยายตัวเป็นปกติหรือ potential GDP ว่าแตกต่างกันมากน้อยเพียงใดเพราะผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19

ผมจะขอเริ่มโดยการสมมติตัวเลขของสหรัฐว่า เมื่อเศรษฐกิจปกติจีดีพีเท่ากับ 100 ในปี 2562 ก่อนโควิด-19 ระบาด ซึ่งเศรษฐกิจสหรัฐนั้นประเมินว่าปกติแล้วจะขยายตัวได้ 1.7% ต่อปี (แรงงานขยายตัว 0.5% ต่อปี ผลิตภาพขยายตัว 1.2% ต่อปี)
ดังนั้น บรรทัดแรกของตารางคือการประเมินจีดีพีว่าควรจะอยู่ที่ระดับใดในปี 2563 2564 และ 2565 กล่าวคือหากเหตุการณ์ปกติ จีดีพีของสหรัฐควรจะเท่ากับ 101.7 ในปี 2563, 103.4 ในปี 2564 และ 105.2 ในปี 2565 แต่โควิด-19 ทำให้จีดีพีสหรัฐหดตัวลงไป 3.5% ในปี 2563 ดังนั้น จีดีพีจริงในปีดังกล่าวจึงเหลือเพียง 96.5 ทำให้ในปี 2563 นั้นผลผลิตมวลรวมจริงจึงต่ำกว่าที่ควรจะเป็นถึง 5.2 หรือ 5.4% ของจีดีพีในปีดังกล่าว
ในปี 2564 นั้น Congressional Budget Office (CBO) หรือสำนักงานงบประมาณของรัฐสภาสหรัฐ ประเมินว่าจีดีพีน่าจะขยายตัวได้ประมาณ 4.5% ในปี 2564 ดังนั้น output gap จึงปรับลดลงเหลือ 2.6% และในทำนองเดียวกันในปี 2565 output gap ก็จะลดลงอีกเหลือเพียง 1.7% จึงอาจประเมินโดยสรุปได้ว่าสหรัฐได้รับความเสียหายจากโควิด-19 โดยรวมประมาณ 10% ของจีดีพีในช่วง 3 ปี คือปี 2563-2565
หากเราทำการประเมินในลักษณะเดียวกันกับเศรษฐกิจไทย ก็จะเห็นได้ว่าประเทศไทยได้รับความเสียหายจากโควิด-19 สูงกว่าสหรัฐถึง 3 เท่าตัว ดังปรากฏในตาราง
ความสูญเสียของเศรษฐกิจไทยจากโควิด-19 สูงกว่า 10% ของจีดีพีติดต่อกันทั้ง 3 ปีและหากทำการคำนวณ output gap ต่อไปอีกในปี 2566 และปีต่อไปข้างหน้า output gap ก็น่าจะยังสูงต่อไปได้อีกนาน เพราะการหดตัวของเศรษฐกิจที่รุนแรงมากกว่าในปี 2563 (จีดีพีลดลง 6.1%) และการฟื้นตัวที่น่าจะเชื่องช้ากว่าสหรัฐในปี 2564 จะทำให้ output gap ของไทยมีขนาดใหญ่ต่อไปอีกหลายปี ซึ่งจะสะท้อนในความรู้สึกของคนไทยว่า “เศรษฐกิจไม่ดี”
ผมได้นำเอาตัวเลขเปรียบเทียบขึ้นมาใช้อธิบายผลกระทบของโควิด-19 เพื่อตอกย้ำให้เห็นว่าการที่รัฐบาลสหรัฐดำเนินนโยบายการคลังและการเงินอย่างแข็งขัน รวดเร็ว และเพียงพอนั้น กำลังจะช่วยให้สหรัฐและประชาชนอเมริกันได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากโควิด-19 ที่จำกัดเพียง 10% ของจีดีพี แม้ว่าประชาชนจะเป็นโควิด-19 หลายสิบล้านคนและเสียชีวิตหลายแสนคน
แต่ในกรณีของไทยนั้นแม้จะมีผู้ติดเชื้อเพียงไม่กี่หมื่นคนและเสียชีวิตไม่ถึง 100 คน แต่ความเสียหายทางเศรษฐกิจของประเทศและของคนไทยนั้นสูงกว่าที่สหรัฐมาก ทั้งนี้ยังไม่สามารถประเมินได้ว่า ความเหลื่อมล้ำที่เพิ่มขึ้นและผู้ที่มีรายได้น้อยและเอสเอ็มอีจะได้รับผลกระทบที่รุนแรงและแสนสาหัสมากเพียงใดครับ
คอลัมน์ เศรษฐศาสตร์ + สุขภาพ: โดย ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
-----------------------------------------------------------------------------

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 

Line ID:@fxhanuman

Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"