7 ธนาคารกลางยักษ์ใหญ่ พร้อมบีไอเอส วางหลักการสกุล เงินดิจิทัล เน้นยืดหยุ่นและไม่สร้างผลเสียต่อเสถียรภาพการเงิน-การคลัง 7 ธนาคารกลางยักษ์ใหญ่ ได้แก่ ธนาคารกลางแคนาดา ธนาคารกลางอังกฤษ ธนาคารกลางญี่ปุ่น ธนาคารกลางสวีเดน
ธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ ธนาคารกลางสหรัฐ ธนาคารกลางยุโรป และธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (บีไอเอส) วางหลักการเบื้องต้นสำหรับเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง (CBDC) โดยระบุว่า
ประการแรก CBDC ควรใช้งานควบคู่กับเงินสดและการชำระเงินรูปแบบอื่นๆ ในระบบชำระเงินที่ยืดหยุ่นและสร้างสรรค์
- Advertisement -
ประการที่สอง CBDC ควรสนับสนุนเป้าหมายด้านนโยบายและไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อเสถียรภาพทางการเงินและการคลัง
ประการที่สาม CBDC ควรส่งเสริมนวัตกรรมและความมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ ธนาคารกลางของหลายประเทศเริ่มวิจัยเกี่ยวกับข้อดีและความเสี่ยงของการออกสกุลเงินดิจิทัล ท่ามกลางกระแสในโลกที่ปรับเปลี่ยนไปสู่ความเป็นดิจิทัลมากขึ้น
รองผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษ ระบุว่าการชำระเงินแบบไร้เงินสดซึ่งเป็นที่นิยมมากขึ้นในช่วงล็อคดาวน์ เปิดโอกาสให้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากขึ้น และบรรดาธนาคารกลางต้องตามกระแสให้ทัน เพื่อจะได้ไม่เกิดกรณีที่ภาคเอกชนเข้ามาอุดช่องว่างด้านการชำระเงินในรูปแบบที่ไม่เหมาะสม
7 ธนาคารกลางระบุว่าจะเดินหน้าวิจัยและประสานกันเรื่องนี้ แต่การศึกษาดังกล่าวไม่ได้หมายความถึงการต้องออกสกุลเงินดิจิทัลจริงๆ
ขณะที่หัวหน้าฝ่ายนวัตกรรมของบีไอเอส พูดถึงสกุลเงินดิจิทัลว่าประเทศต่างๆ ไม่ได้แข่งขันกันเรื่องนี้ แต่การที่ธนาคารกลางต่างๆ มาคุยกันถือเป็นข้อดี ในแง่ที่จะได้ทันกับภาคเอกชนและเคลื่อนไหวได้ทันสถานการณ์
ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมา มีรายงานข่าวการเคลื่อนไหวของธนาคารกลางเกี่ยวกับเงินดิจิทัล โดยจีนดูเหมือนเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วด้วยการทดลองใช้หยวนดิจิทัลใน 4 เมือง คือ เขตเมืองใหม่สงอันในมณฑลเหอเป่ย ทางตอนเหนือ, เมืองเซินเจิ้นในมณฑลกวางตุ้ง ทางตอนใต้, เมืองซูโจวในมณฑลเจียงซู ทางตะวันออก และเมืองเฉิงตูในมณฑลเสฉวน ทางตะวันตกเฉียงใต้ ทั้งยังมีแผนขยายไปยังเมืองอื่นๆ ตามความเหมาะสม ล่าสุดเมื่อเร็วๆ นี้ธนาคารกลางจีนเปิดเผยผลการทดลองว่ามีการใช้เงินหยวนดิจิทัลทำธุรกรรมเชิงพาณิชย์ 3.1 ล้านหยวนดิจิทัล
ด้านธนาคารกลางเกาหลีใต้ มีรายงานว่าเสร็จสิ้นการออกแบบและการทบทวนด้านเทคโนโลยีของสกุล เงินดิจิทัล ขั้นตอนต่อจากนี้คือการทดลองระบบเงินวอนดิจิทัล ว่าจะใช้งานได้ปกติในสภาพแวดล้อมที่จำกัดหรือไม่ โดยธนาคารกลางเกาหลีใต้จะเป็นผู้ดูแลในการออกและการไถ่ถอนเงินดิจิทัล ส่วนสถาบันการเงินเอกชนจะดูแลเรื่องการจำหน่ายจ่ายแจกเงินดิจิทัล
ธนาคารกลางเกาหลีใต้เริ่มโครงการนำร่อง CBDC เมื่อเดือน เม.ย. และจะดำเนินไปถึงเดือนธ.ค.ปีหน้า พร้อมระบุว่าการจัดทำโครงการนำร่องไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าจะมีการออกเงินวอนดิจิทัล
ส่วนธนาคารกลางญี่ปุ่นกล่าวว่าจะศึกษาความเป็นไปได้ทางเทคนิคและคุณสมบัติของ CBDC จากนั้นอาจตามด้วยโครงการนำร่องในกรณีที่จำเป็น
โดย สุดา มั่งมีดี
Source: Business today
Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you