ธปท.ศึกษา 'ธนาคารดิจิทัล' จ่อให้ 'ไลเซ่นส์' หนุนแข่งขัน

ธปท.”ศึกษาออกไลเซ่นส์ “ธนาคารดิจิทัล" เหมือนในต่างประเทศ ย้ำต้องตอบโจทย์หนุนการเข้าถึงบริการทางการเงินเพิ่มขึ้น "ไทยพาณิชย์" เชื่อในอนาคตเกิดแน่ แย้มหากเป็นเรื่องดิจิทัล อยู่ภายใต้"เอสซีบีเท็นเอ็กซ์“ ด้าน ”กสิกรไทย" ชี้ไม่ใช่เป้าหมายแบงก์

นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.อยู่ระหว่างศึกษาเรื่องธนาคารดิจิทัล ซึ่งขณะนี้ในต่างประเทศ เริ่มมีการให้ใบอนุญาต (ไลเซ่นส์) การเป็นธนาคารดิจิทัลแล้ว อย่างไรก็ตามการจะพัฒนาไปสู่ธนาคารดิจิทัลนั้น สิ่งที่ธปท. มองว่าต้องจะต้องตอบโจทย์ คือ ต้องเป็นบริการที่สนับสนุนการเข้าถึงบริการทางการเงินที่มากขึ้น (Financial Inclusion) ไม่ใช่ตอบโจทย์เฉพาะด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น ซึ่งจำเป็นต้องดูในหลายมิติ ว่าการให้บริการผ่านรูปแบบนี้ทำให้การเข้าถึงครอบคลุมและสนับสนุนการเข้าถึงบริการทางการเงินหรือไม่

ทั้งนี้ สิ่งที่ธปท. ต้องดู คือ การวางภูมิทัศน์ระบบสถาบันการเงินในอนาคต (Financial Landscape) ดูว่าแบงก์ในระยะยาวจะเป็นอย่างไร ซึ่งการเกิดธนาคารดิจิทัลถือเป็นออปชั่น หรือเป็นทางเลือกหนึ่ง เพราะปัจจุบันการให้บริการทางการเงินถูกพัฒนาไปสู่ดิจิทัลมากขึ้น อีกทั้งมีผู้เล่นมากขึ้นในธุรกิจการเงิน เช่น ฟินเทค ทำให้อาจมีความต้องการไลเซ่นส์ดังกล่าว ดังนั้นการให้ไลเซนส์ธนาคารดิจิทัล ก็มีโอกาสได้เห็นในอนาคต

“ธนาคารดิจิทัลเป็นออปชั่นหนึ่งที่ธปท. ดูอยู่ เพราะวันนี้มีผู้เล่นใหม่ๆเข้ามาแข่งขันมากขึ้น และวันนี้แบงก์พัฒนาไปสู่ดิจิทัลมากขึ้น แต่การเกิดธนาคารดิจิทัลได้ คงไม่ใช่แค่ให้เข้าถึงแค่เฉพาะผลิตภัณฑ์ใดผลิตภัณฑ์หนึ่งเท่านั้น ธนาคารดิจิทัลในต่างประเทศให้เงินฝากสูง ในช่วงทำมาร์เก็ตติ้ง ไม่ใช่ว่าให้ดอกเบี้ยเงินฝาก 6% แต่คิดดอกเบี้ยเงินกู้ 15% ก็คงไม่ใช่ ซึ่งเรามองว่าไม่ตอบโจทย์ เพราะสิ่งที่ควรตอบโจทย์คือ ทำให้คนที่ยังเข้าไม่ถึงบริการทางการเงิน เข้าถึงได้ ต้องดูให้ครอบคลุม และดูในหลายมิติ”

นายอาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)( SCB) กล่าวว่า ธนาคารดิจิทัล หรือการให้บริการผ่านช่องทางดิจิทัล 100% ต้องเกิดขึ้นในอนาคตแน่นอน แต่จะเป็นรูปแบบใดเท่านั้น ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นโจทย์หนึ่งที่แบงก์ต้องไปคิดในอนาคต อย่างไรก็ตามในส่วนเอสซีบี การผลักดันให้เกิดธนาคารดิจิทัล ต้องไม่ได้เกิดจากแบงก์ แต่จะเกิดจากบริษัทเอสซีบีเท็นเอ็กซ์

“ เราจะดึงดิสรัปชั่นออกจากแบงก์ แบงก์ไปธุรกิจที่เป็น normal ตรงนี้ก่อน หากจะทำให้เราเป็น Pure Digital หรือทำอะไรที่เป็นดิจิทัล ต้องอยู่ที่เอสซีบีเท็นเอ็กซ์ ไม่ได้อยู่ที่แบงก์ เพราะวันนี้เป้าหมายหลักของแบงก์มีหน้าที่ดูเรื่องหลักๆ เช่นการบริหารค่าฟี การดูด้านคุณภาพที่เกี่ยวกับแบงก์เท่านั้น” นายอาทิตย์กล่าว

ด้านนางสาวขัตติยา อินทรวิชัย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)(KBANK) กล่าวว่า ปัจจุบันการทำธนาคารดิจิทัลหลักๆอยู่ในต่างประเทศ ซึ่งมีการเปิดให้ไลเซ่่นส์แล้ว เช่น สิงค์โปร์ ฮ่องกง แต่ในประเทศไทยยังไม่ได้เปิดให้ไลเซ่นส์ดังกล่าว หากแบงก์จะทำธนาคารดิจิทัล ต้องไปเปิดไลเซ่นส์ที่สิงค์โปร หรือฮ่องกง

อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ยังไม่ใช่เป้าหมายของแบงก์ เพราะแบงก์มีเป้าหมายเป็นของตัวเอง เพื่อผลักดันแบงก์ให้ไปสู่ดิจิทัลมากขึ้น ทำตัวแบงก์ให้ตอบโจทย์ มีความเร็วมากขึ้น ถูก และดี สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่แบงก์ต้องเร่งทำมากขึ้น และเชื่อว่าหากแบงก์มีสิ่งเหล่านี้ได้ แบงก์ก็ไม่จำเป็นต้องทำธนาคารดิจิทัล เพราะจะสามารถสู้กับคู่แข่งเหล่านี้ได้แน่นอน

“วันนี้เราทำดิจิทัลอยู่แล้ว และจุดเด่นของธนาคารดิจิทัลวันนี้คือความเร็ว เราก็เร็ว และเราเชื่อว่าแบงก์วันนี้จะไม่เป็นภาระสำหรับเรา ที่จะไปแข่งขันกับธนาคารดิจิทัลในอนาคต เพราะเรามีเป้าหมายของเรา หากเราทำตัวเองให้เร็ว ให้ถูก และดีมากขึ้นเรื่อยๆ เราเชื่อว่าเราสู้แบงก์อื่น และสู้ธนาคารดิจิทัลได้ "น.ส.ขัตติยากล่าว

Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 

Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"