28 ตุลาคม 1929 .....ครบ 90 ปีพอดีวันนี้ คือวัน "Black Monday" ในตลาดหุ้นวอลล์สตรีท ตลาดหุ้นสหรัฐถึงจุดพีคเมื่อเดือนก่อนหน้า คือเมื่อ 3 กันยายน 1929 เมื่อดัชนี Dow Jones ขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 381
แต่ตลอดช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคมปีนั้น นักลงทุนที่ประสาทกินเริ่มมีการถอนเงินออกจากตลาด
และเฉพาะชั่วสามวันของปลายเดือนตุลาคม (รวมถึง Black Monday) มูลค่าตลาดสูญไปมากกว่า 30%
เก้าสิบปีหลังจากนั้น เรามาดูถึงข้อมูลเชิงลึกเด่นๆ 3 เรื่องจากการแครชครั้งประวัติศาสตร์ครั้งนั้นกัน....เริ่มด้วย
1) ตลาดหุ้นปัจจุบันมีมูลค่าสูงกว่าเมื่อปี 1929 มาก
ย้อนไปเมื่อปี 1929 อัตราส่วน ราคา/กำไร ..P/E ratio โดยเฉลี่ยของหุ้นในตลาดนิวยอร์คคือ 15
นั่นหมายความว่า นักลงทุนยอมจ่ายค่าหุ้น $15 สำหรับหุ้นของบริษัทที่ทำกำไรได้ $1
เป็นกำไรที่ไม่สูงเลย ...ที่จริง P/E 15 นั้นถือได้ว่าน้อยสุดๆแล้วสำหรับค่าเฉลี่ยที่ผ่านมาในอดีต
อย่างหุ้น Coca Cola มี P/E ratio ที่ประมาณ 15 - 18 เมื่อปี 1929 ...แต่มาวันนี้ มันอยู่ที่ 30... นั่นหมายความว่า นักลงทุนปัจจุบันยินดีจ่ายมากเป็นสองเท่าสำหรับกำไรทุกดอลล่าร์ของที่ Coke ทำได้
เรื่องของ Coca Cola ใช้เป็นกรณีศึกษาได้อย่างน่าสนใจมาก
ถ้าเรามองย้อนไปไม่กี่ปีแค่ 2010 รายรับของ Coke เท่ากับ $35,000 ล้านต่อปี ...ครั้นพอถึงปี 2018 รายรับของบริษัทก็ร่วงลงไปเหลือน้อยกว่า $32,000 ล้านต่อปี
ปี 2010 Coca Cola สร้างผลกำไรต่อหุ้นได้$5.06 ..แต่ในปี 2018 กลับมีกำไรเท่ากับ $1.50
มูลค่าสุทธิ (net worth) ของธุรกิจ Coca Cola เท่ากับ $31,000 ล้านในปี 2010 ..แต่ในปี 2018 มูลค่าสุทธิกลับร่วงมาเหลือ $19,000
เรียกได้ว่า 8 ปีหลังมานี่ ...Coca Cola สูญเสียมูลค่าของตนไปเกือบ 40% ...ยอดขายตก กำไรต่อหุ้นหายไปประมาณ 70%
เห็นได้ชัด Coke ทุกวันนี้อยู่ในสภาพเลวร้ายกว่าเมื่อ 8 ปีที่แล้วมากๆ
แต่แปลก ราคาหุ้นกลับเพิ่มขึ้นเป็น DOUBLED เมื่อเทียบกับช่วงนั้น
บ้ามั้ย? ...บ้าดิ
นี่แค่ยกเอา Coca Cola มาเป็นตัวอย่าง...ทุกวันนี้อัตรา P/E ของเกือบๆทุกบริษัทสูงกว่าอัตราเฉลี่ยในอดีตถึง 50%
(นั่นหมายความว่า ตอนนี้ราคาหุ้นทั้งตลาดน่าจะต้องตกมา 50% ....ถึงจะได้เท่ากับคุณภาพของหุ้นที่เป็นจริงในอดีต)
เห็นได้ชัดว่านักลงทุนทุกวันนี้ยินดีจ่ายมากกว่า เพื่อซื้อกิจการที่มีทรัพย์สินและการทำกำไรน้อยกว่าในอดีตมาก ...และก็ยังน้อยกว่าในช่วงก่อนการแครชเมื่อปี 1929 เสียอีกด้วย
2) ตลาดหุ้นตกไปเกือบ 90% ในปี 1929 ...แต่ใช้เวลาหลายสิบปีในการฟื้นตัว
การ crash ที่ว่า ไม่ใช่แค่หมายถึงวัน Black Monday
ถ้านับตั้งแต่ตอนตลาดหุ้นถึงจุดพีคเมื่อเดือนกันยายน 1929 มันร่วงต่อเนื่องมาเกือบๆ 90% ตลอดสามปีถัดมา ..ดัชนี Dow หล่นติดพื้นในปี 1932 ...ที่ 42 จุด
42 จุดน่ะ มันน้อยกว่าเมื่อสมัยที่ Dow เทรดในปี 1885 ซะอีก ...เรียกได้ว่า crash ครั้งนั้น มัน #กวาดเอาการเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงหลายสิบปี หายวับไปเลย ...จนมาถึงเดือนพฤศจิกายน 1954 ..Dow ถึงได้โงหัวขึ้นมาพ้นจุดปี 1929 ไปได้
ถ้าเรื่องนี้มาเกิดขึ้นในปัจจุบัน ก็เท่ากับ Dow จะตกมาที่ 2,700 ...เป็นระดับของช่วงต้นของ 1990s ...และจะไม่คืนสภาพปัจจุบันอีกจนกว่ากลางๆช่วง 2040s โน่นเลย
เกือบทุกคนคิดว่านี่คงเป็นเรื่องโจ๊ก
แต่คิดว่าทั้งรัฐบาลและธนาคารกลางคงใช้อำนาจที่มีอยู่อย่างสุดฤทธิ์เพื่อป้องกันการแครชรุนแรงไม่ให้เกิดขึ้น
Federal Reserve ก็ได้ประกาศแล้วว่าจะพิมพ์เงินอีกเดือนละ $60,000 ...ซึ่งก็คงเป็นการช่วยตลาดหุ้น อย่างน้อยก็ในระยะสั้น
สิ่งที่เราไม่อาจคาดการณ์ว่าจะเกิด ไม่ได้แปลว่ามันจะไม่เกิด ....ที่จริงมันกำลังเกิดขึ้นอยู่ในญี่ปุ่นตอนนี้
ตลาดหุ้นญี่ปุ่นพีคสูงสุดเมื่อปลายปี 1989 ...ดัชนี Nikkei ขึ้นไปเกือบๆ 39,000
ภายในไม่กี่ปีมูลค่า Nikkei ร่วงไปครึ่งหนึ่ง แล้วในที่สุดก็ร่วงถึง 80% จนได้
จนถึงทุกวันนี้..สามสิบปีถัดมา ดัชนี Nikkei ก็ยังคงต่ำกว่า all-time-high ถึง 40%
มันก็ไม่มีกฏตายตัวหรอกที่ว่าตลาดหุ้นจะต้องขึ้น ...มันอาจต่ำอยู่เป็นปีๆ หรือเป็นสิบๆปีก็ได้
3) ราคาหุ้นปรับฟื้นตัวปีละ 1.7% นับจากปี 1929 หลังปรับอัตราเงินเฟ้อแล้ว
การลงทุนที่ดีควรจะคำนึงถึงผลระยะยาว เพราะธุรกิจใช้เวลานานในการเติบโตและขยายตัว นักลงทุนที่มีความอดทนเท่านั้นที่จะเข้าใจ
แต่พอพูดถึงอะไรที่มัน long-term ...มันก็เลี่ยงไม่ได้ที่ต้องคำนึงถึงเรื่องเงินเฟ้อที่มันไม่ปกตินี้ด้วย
ทุกๆปี ค่าเงินของคุณๆหายไปปีละประมาณ 2% ...ซึ่งในระยะยาว พอรวมๆกัน กำไรจากการลงทุนของคุณก็หายไปมากพอดู
เมื่อมาพิจารณาดู ถึงแม้จะใช้เกมหลอกเด็กอย่างตาชั่งลิง (monkey math) ของรัฐบาลกลางก็ได้ ....มูลค่าของยูเอสดอลล่าร์ หายไปถึง 94% ตั้งแต่ปี 1929 เป็นต้นมา
ดังนั้นถึงแม้ดัชนี Dow จะสูงกว่า Dow ของเมื่อช่วงกลางปี 1929 มากกว่า 70 เท่า ....แต่เมื่อพิจารณาจากผลของเงินเฟ้อ หุ้นสูงขึ้นมาแค่ 5 เท่า ในช่วง 90 ปี
นั่นจึงออกมาเป็นค่าเฉลี่ยการฟื้นตัวต่อปีแค่ 1.7% เท่านั้น
ถึงแม้ในช่วงที่ผ่านมา 20 ปีหลังนี้ ตอนปลายๆปี 1999 ตลาดหุ้นก็ฟื้นตัวแค่ 2.2% ต่อปี ..ปรับค่าเงินเฟ้อแล้ว
ลองมาคิดดู.....นักลงทุนยอมเผชิญกับความเสี่ยงจากการสวิงของตลาดในรอบยี่สิบปีมานี้ เพียงเพื่อไอ้ผลตอบแทนกระจอกๆแค่ 2.2% เนี่ยนา
ในระยะยาว...เมื่อปรับค่าเงินเฟ้อแล้ว ทองคำต่างหากที่ outperform หุ้น....
เมื่อปรับค่าเงินเฟ้อ ทองคำมีผลตอบแทนเฉลี่ย 1.8% ตั้งแต่ปี 1929 (มากกว่าหุ้นอยู่นิดหน่อย) และเป็น 6.7% ตั้งแต่ปี 1999 ...อันนี้มากกว่าหุ้นอยู่ถึง 3 เท่า
แต่ที่ไม่เหมือนกับหุ้นคือ ผู้ที่ถือทองคำไม่ต้องมาเสี่ยงกับเรื่อง bullshit ทั้งหลายเหมือนนักเล่นหุ้น ไม่มีลูกเล่นของโบรกเกอร์ ไม่มีเรื่องขี้โกงของ Enron...etc.
พวกเขาทำกำไรมากกว่าหุ้นถึง 3 เท่า ...แถมยังได้ถือไว้ในมืออย่างปลอดภัยมากกว่าหุ้นอีกด้วย
Cr.Sayan Rujiramora
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you